Page 59 - การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับผู้นำทางการศึกษา
P. 59

ภาวะผู้นำ�และการบริหารการเปลี่ยนแปลง 2-49

พัฒนาคุณภาพและตอบสนองต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ใน
การตัดสินใจของภาครัฐ และการกำ�หนดนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารแบบเผชิญหน้าหรือการสื่อสารผ่าน
ระบบเทคโนโลยี ซึ่งการมีส่วนร่วมในการแบ่งปันความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ มีผลให้การตัดสินใจของ
ประชาชนดีขึ้น และนำ�ไปสู่ความพึงพอใจเพิ่มขึ้น

            2.6 การใช้เครือข่ายและหุ้นส่วน (using networks and partnerships) ปัจจุบัน ประชาชน
มีความคาดหวังกับการให้บริการของภาครัฐที่สูงขึ้น เช่น การมีนํ้าดื่มที่สะอาด ปราศจากมลภาวะ เรื่อง
สุขอนามัย และความปลอดภัย และมีความคาดหวังว่ารัฐบาลจะสามารถแก้ไขปัญหาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน
มากกว่าในอดีตได้เป็นอย่างดี ดังนั้น การตอบสนองต่อความท้าทายใหม่ๆ จึงควรมีลักษณะการได้รับความ
ร่วมมือ หรือความเชื่อมโยงร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ การบริการที่ไม่ใช่เพียงการให้บริการเฉพาะส่วน
ในแต่แบบเดิมๆ ระบบการให้บริการปัจจุบัน จะต้องสามารถเชื่อมโยงกันได้เกือบทุกหน่วยงานภาครัฐและ
ไม่ควรกำ�หนดบทบาทหน้าที่ ตามกฎระเบียบเดิมๆ ของการให้บริการในรูปแบบเก่า

       กลยุทธ์ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการบริหารการเปลี่ยนแปลง
กต็ อ่ เมือ่ ผูบ้ รหิ ารสามารถพจิ ารณาเลอื กใชก้ ลยทุ ธท์ ีเ่ หมาะสมกบั สภาวะการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กดิ ขึน้ ในบางกรณี
ผูบ้ ริหารอาจต้องใช้การบูรณาการกลยุทธเ์ ขา้ ด้วยกัน ทัง้ นี้ตอ้ งค�ำ นึงถึงการมสี ่วนร่วมและการยอมรบั กลยทุ ธ์
จากผู้ที่อยู่ในองค์การด้วย มิฉะนั้น อาจเกิดการต่อต้านการใช้กลยุทธ์ดังกล่าวได้

เรื่องที่ 2.2.4	ปจั จัยทีส่ ่งผลให้การบรหิ ารการเปลย่ี นแปลง
          มีประสทิ ธภิ าพ

       จากการศึกษาถึงมโนทัศน์พื้นฐานของการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตัวแบบและกลยุทธ์การบริหาร
การเปลี่ยนแปลง จะเห็นได้ว่าการบริหารการเปลี่ยนแปลงมีลักษณะและความเกี่ยวข้องกับสภาวการณ์และ
บริบทต่างๆ มากมาย ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาจำ�เป็นต้องเรียนรู้และทำ�ความเข้าใจถึงองค์ประกอบหรือปัจจัย
อื่นๆ ที่จะส่งผลให้การบริหารการเปลี่ยนแปลงมีประสิทธิภาพ ซึ่ง เบอร์ก (Burke, 1992) ได้นำ�เสนอปัจจัย
ที่ทำ�ให้การบริหารการเปลี่ยนแปลงมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย

       1. 	การพัฒนาและการสื่อสารวิสัยทัศน์ (developing and communication a change vision) ทั้งนี้
เพื่อการทำ�ให้ทิศทางขององค์การมีความชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งเป็นการประสานความรู้สึกการมีส่วนร่วมของ
บุคคลในองค์การ
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64