Page 54 - การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับผู้นำทางการศึกษา
P. 54
2-44 การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพสำ�หรับผู้นำ�ทางการศึกษา
ความมุ่งมั่นตั้งใจ ความสามารถ ความเข้าใจสิ่งที่ซับซ้อน
* ความเป็นเลิศในระดับบุคคล ในการเรียนรู้อันเป็นแกนหลัก * การคิดเชิงระบบ
* วิสัยทัศน์ร่วมกัน
สำ�หรับทีม
การสนทนาที่สะท้อนผล
* กรอบความนึกคิด
* การสนทนา
ภาพท่ี 2.4 แสดงความสามารถในการเรียนร้อู ันเปน็ แกนหลกั สําหรบั ทีมของเซงเก้ (Senge)
ที่มา: ปรับจากสำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (2550) คู่มือการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมสร้างความเป็นเลิศใน
การปฏิบัติราชการของหน่วยงานภาครัฐ กรุงเทพมหานคร สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ หน้า 4
เซงเก้เน้นการสร้างองค์การที่สามารถเรียนรู้ได้ซึ่งบุคคลสามารถเพิ่มพูนความสามารถของตนใน
การสรรค์สร้างผลลัพธ์ที่ต้องการอย่างแท้จริง องค์การสามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการเรียนรู้ด้วยหลัก
5 ประการ (the five learning disciplines) ที่บุคคลและทีมงานต่างๆ ในองค์การควรพัฒนาขึ้นเพื่อสร้าง
ศักยภาพในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง อันจะนําไปสู่การพัฒนาในระดับองค์การ ซึ่งการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ได้แก่ การคิดเชิงระบบ (systems thinking) ความเป็นเลิศในระดับบุคคล (personal mastery) กรอบ
ความนกึ คิด (mental models) วิสยั ทศั น์ร่วมกัน (shared vision) และการเรยี นรู้ร่วมกนั (team learning)
โดยที่กรอบแนวคิดนี้เน้นการเรียนรู้ในระดับบุคคล จึงเหมาะแก่องค์การที่มุ่งพัฒนาบุคลากร และต้องการ
ให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในระดับปัจเจกบุคคลก่อนจะขยายไปสู่ระดับองค์การ
กรอบแนวคิดอีกประการหนึ่งที่สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้นำ�เสนอเพื่อ
การบริหารการเปลี่ยนแปลง คือ กรอบแนวคิดของโคออปเปอไรเดอร์ (Cooperider) ที่มุ่งเน้นการค้นหา
สิ่งดีๆ ทั้งปวงที่ปรากฏอยู่ในสภาวะปัจจุบันของระบบต่างๆ ตลอดจนในปัจเจกบุคคลแต่ละคน หรือที่เรียก
ว่า Appreciate Inquiry ซึ่งเป็นกระบวนการประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การนิยามความหมาย (defini-
tion) การค้นพบ (discovery) การฝัน (dream) การออกแบบ (design) และความสามารถในการจัดการ
(destiny) ดังภาพที่ 2.5