Page 53 - การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับผู้นำทางการศึกษา
P. 53
ภาวะผู้นำ�และการบริหารการเปลี่ยนแปลง 2-43
จากตารางที่ 2.4 เป็นแนวคิดและหลักการของตัวแบบการเปลี่ยนแปลงซึ่งมี 3 ตัวแบบดังที่ได้กล่าว
สรปุ ไว้ในตาราง ตัวอยา่ งของการบรหิ ารการเปลี่ยนแปลงในเรือ่ งที่ 2.1.1 ตัวอยา่ งการบรหิ ารการเปลีย่ นแปลง
ในสถานศึกษาถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ใช้ตัวแบบหลายลักษณะ อาทิ ทั้งตัวแบบ
การบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบกระบวนการบางส่วนของ ฟรอห์แมน ซาสกินและคาวาเนฟ ในขั้นตอนของ
การเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงโดยการจัดเตรียมทีมเจ้าภาพ การพัฒนาโครงสร้างที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง
ขั้นวางแผนปฏิบัติการ นำ�แผนไปปฏิบัติและประเมินผล และใช้และตัวแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบ
วิเคราะห์องค์การของเบอร์กและลิตวินทั้ง 7 ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบขององค์การ ได้แก่ สภาพแวดล้อม
ภายนอก พันธกิจและยุทธศาสตร์ ภาวะผู้นำ� วัฒนธรรมองค์การ โครงสร้าง ระเบียบปฏิบัติ และระบบการ
ท�ำ งาน ซึง่ สามารถศกึ ษารายละเอยี ดเพิม่ เตมิ ไดท้ ี่ หนว่ ยที่ 10 แนวคดิ รว่ มสมยั ในประมวลสาระชดุ วชิ าทฤษฎี
และแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา
นอกจากนี้ สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (2550) ได้นำ�เสนอกรอบแนวคิดในการ
บริหารการเปลี่ยนแปลงองค์การที่สำ�คัญ อาทิ กรอบแนวคิดในการบริหารการเปลี่ยนแปลงองค์การของ
คอตเตอร์ (Kotter) ซึ่งเป็นกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงใน 8 ขั้นตอน ตามที่ได้ระบุไว้ดังตารางที่
2.4 รวมทั้งสำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการยังได้นำ�เสนอกรอบแนวคิดในการบริหารการ
เปลี่ยนแปลงองค์การของเซงเก้ (Senge) ที่เน้นการปรับเปลี่ยนองค์การโดยเริ่มที่การปรับเปลี่ยนความ
คิดความเชื่อ ค่านิยมของคนส่วนใหญ่ในองค์การ ผู้นำ�จะมีบทบาทในการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อ
การเปลี่ยนแปลงในระดับบุคคล และกระทําตนเป็นแบบอย่าง แต่ทั้งนี้ ผู้นำ�ไม่สามารถบังคับให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงขึ้นได้ โดยคนในองค์การไม่สมัครใจ เซงเก้ เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงเกิดจาก “ความรู้
อนั หยัง่ ลกึ ” ในองคก์ ารเทา่ นัน้ และโดยทีห่ นว่ ยเรยี นรูพ้ ืน้ ฐานในองคก์ ารใดๆ คอื กลุม่ บคุ คล/ทมี งานทีป่ ฏบิ ตั ิ
ภารกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง เซงเก้ จึงเสนอแนะกรอบแนวคิดที่เรียกว่าความสามารถในการเรียนรู้อันเป็นแกน
หลักสําหรับทีม (core learning capabilities for team) ซึ่งเปรียบเสมือนเก้าอี้ซึ่งตั้งอยู่ได้เพราะมีสามขา
ดังภาพที่ 2.4