Page 57 - การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับผู้นำทางการศึกษา
P. 57
ภาวะผู้นำ�และการบริหารการเปลี่ยนแปลง 2-47
ที่เกิดขึ้นอาจไม่สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่วางไว้ และเมื่อผู้ปฏิบัติงานได้มีส่วนร่วมปรับสร้างสิ่งใดขึ้นมาแล้ว
ความรู้สึกหวงแหน เป็นเจ้าของอาจเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เขาคิดริเริ่มขึ้นมาได้
1.4 กลยุทธ์แบบผสม (mixed strategy) เป็นการนำ�กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงองค์การหลายๆ
แบบมาใช้ร่วมกัน เช่น ใช้กลยุทธ์การสั่งการ โดยที่ผู้บริหารสูงสุดลงมาเป็นวิทยากรในการบรรยาย เรื่องการ
ปรับกลยุทธ์การดำ�เนินงานขององค์การด้วยตัวเอง ประกอบกับการสร้างทีมงาน การรื้อปรับระบบงานของ
สาขาต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามกลยุทธ์นั้น และเสริมด้วยการจัดกิจกรรมกลุ่มคุณภาพในระดับปฏิบัติการ
ซึ่งเป็นการกระจายอ�ำ นาจในการเปลี่ยนแปลงไปสู่สว่ นตา่ งๆ ขององคก์ าร การเปลี่ยนแปลงองคก์ ารโดยอาศยั
กลยุทธ์ประเภทต่างๆ ประกอบกันนั้น จะต้องมีกลไกกลางเพื่อประสานและการบริหารการเปลี่ยนแปลง
ด้านต่างๆ ให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกัน
1.5 กลยุทธ์การพัฒนาองค์การ (organizational development) การบริหารการเปลี่ยนแปลง
โดยการพัฒนาองค์การ เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งสร้างขีดความสามารถให้แก่สมาชิกในองค์การในการมองปัญหา แก้
ปัญหา และเรียนรู้ร่วมกัน โดยอาศัยที่ปรึกษาที่ประยุกต์ใช้ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ในการสนับสนุนให้
ทีมพัฒนาขีดความสามารถในการแก้ปัญหาและเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้ทีมต่างๆ ในองค์การมีความพร้อมที่จะ
จัดการกับการสิ่งท้าทายและเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในองค์การ
สำ�หรับการพัฒนาองค์การถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่ผู้บริหารสถานศึกษาส่วนใหญ่นำ�มาใช้เป็นแนวทาง
ในการพัฒนาสถานศึกษา ซึ่งประยงค์ เนาวบุตร (2553: 39) ได้กล่าวว่าการพัฒนาองค์การเป็นวิธีการในการ
เปลี่ยนแปลงอย่างมีแบบแผนเพื่อให้องค์การมีความเจริญก้าวหน้า มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่ง
ขึ้น ซึ่งมีรูปแบบขององค์การแบบใหม่ เช่น องค์การแห่งการเรียนรู้ องค์การเสมือนจริง และองค์การบริหาร
ตนเอง ซึ่งผู้บริหารสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสถานศึกษาของตนได้ ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียด
เพิ่มเติมได้ที่ หน่วยที่ 3 ทฤษฎีองค์การ พฤติกรรมองค์การและการพัฒนาองค์การ ในประมวลสาระชุดวิชา
ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา
2. กลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนในองค์การในหน่วยงานภาครัฐ โดยมีกลยุทธ์ที่สามารถนำ�ไป
ปรับใช้ในองค์การ (Six Trends Transforming Government: Providing Cutting-edge Knowledge
to Government Leaders) ดังนี้ (IBM Center for The Business of Government อ้างในสำ�นักงาน
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ 2555)
2.1 การเปลี่ยนแปลงกฎ ระเบียบ (changing the rules) ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย กฎ
ระเบียบ และโครงสร้างองค์การให้มีความยืดหยุ่น อันนำ�ไปสู่ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในเรื่องเกี่ยวกับ
กระบวนการบริหารงานหลักของระบบราชการ กระบวนการจัดหา งบประมาณ และการบริหารเงิน โดย
การบริหารงานที่มีความยืดหยุ่น เกิดจากความมีอิสระในการจัดการทรัพยากรและการดำ�เนินการ ความมี
ประสิทธิภาพโดยการปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำ�งานประกอบด้วยการให้
รางวัลตอบแทนตามผลงาน (performance based pay) การสร้างค่านิยมของการทำ�งานเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์
การปรบั กระบวนการคดั เลอื ก จา้ งงาน เลือ่ นต�ำ แหนง่ การก�ำ หนดประเภท และคา่ ตอบแทน รวมทัง้ การเกษยี ณ
อายุ นอกจากนี้ ด้านบริหารการเงิน เช่น การมีระบบตรวจสอบทางการเงินที่ทันสมัย คล้ายกับภาคเอกชน