Page 66 - การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับผู้นำทางการศึกษา
P. 66

2-56 การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพสำ�หรับผู้นำ�ทางการศึกษา

เรื่องท่ี 2.3.1 	แนวทางการพฒั นาภาวะผูน้ ำ�เพ่อื การเปลีย่ นแปลง
	 ในสถานศึกษา

       ความรับผิดชอบหลักของผู้บริหารสถานศึกษามีอยู่ 3 ประการที่สำ�คัญ ได้แก่ การบริหารจัดการให้
บุคคลมีความสามารถในการทำ�งาน การบรหิ ารจดั การระบบการท�ำ งาน และที่สำ�คัญยิ่ง คือ การบรหิ ารจดั การ
ตนเอง ซึ่งการพัฒนาภาวะผู้นำ�ในตัวผู้บริหารจะเป็นกระบวนการพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถพิเศษที่
จำ�เป็นสำ�หรับการปฏิบัติงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต คาร์ดโน (Cardno, 2005) มองว่าวัตถุประสงค์ในการ
พัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา คือ การสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิผล
ซึ่ง ดูบริน (DuBrin, 2010: 444-448) ได้ระบุถึงแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ�อยู่ 2 ลักษณะ ประกอบด้วย

       1. 	การพฒั นาภาวะผูน้ �ำ ตนเองโดยผา่ นการรบั รใู้ นตนเอง (self-awareness) และการมวี นิ ยั ในตนเอง
(self- discipline)

            1.1 	การพัฒนาภาวะผู้นำ�ตนเองโดยผ่านการรับรู้ในตนเอง กลไกที่สำ�คัญที่อยู่ภายใต้การ
พัฒนาตนเอง คือ การรับรู้ในตนเอง ซึ่งเป็นการสะท้อนตนเองเพื่อการปรับปรุงประสิทธิผลของตนเอง
โจเซฟ แอล บาดาแรคโค (Joseph L. Badaracco อ้างใน DuBrin, 2010: 444) กล่าวว่า ผู้นำ�ควรเรียนรู้
ตนเอง ถ้าตอ้ งการจะประสบความส�ำ เรจ็ โดยยกตัวอย่างว่า ถา้ คณุ ตอ้ งการที่จะนำ�ผูอ้ ืน่ อนั ดบั แรกคณุ จ�ำ เป็น
ต้องสะท้อนให้เห็นว่าคุณสามารถบริหารจัดการตัวคุณเองอย่างไร อากิริส (Argyris, 1991: 99-109) กล่าว
เสริมถึงการเรียนรู้แบบวงจรเดี่ยว (single-loop learning) และการเรียนรู้แบบสองวงจร (double-loop
learning) ว่าจะสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างระดับของการรับรู้ในตนเองได้ การเรียนรู้แบบวงจร
เดีย่ ว เปน็ การเรยี นรูใ้ นการตรวจหาและแกไ้ ขขอ้ ผดิ พลาดในการท�ำ งานประจ�ำ ภายใตธ้ รรมเนยี มปฏบิ ตั ใิ นการ
ด�ำ เนนิ งานทีเ่ คยมมี าหรอื วธิ กี ารท�ำ งานภายใตก้ รอบกตกิ าเดมิ สว่ นการเรยี นรูแ้ บบสองวงจรเปน็ การเรยี นรูท้ ีม่ ี
การสะท้อนผลกลับ ทบทวนปรับปรุงธรรมเนียมปฏิบัติ นโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์การ ไม่ใช่เป็นการ
แก้ปัญหาตามกรอบกติกาเดิมแต่เป็นการหาแนวทางใหม่ๆ มาใช้ในการแก้ไขปัญหา

            1.2 	การมีวินัยในตนเอง (self-discipline) เป็นการควบคุมตนเองให้สามารถปฏิบัติงานบรรลุ
เป้าหมายที่กำ�หนดได้

       2. 	การพัฒนาภาวะผู้นำ�โดยผ่านการศึกษา ประสบการณ์และการได้รับคำ�แนะนำ�จากผู้นำ�ที่มี
ประสบการณ์และมีภูมิรู้ที่สูงกว่า (education, experience and mentoring)

            2.1 การศึกษา เป็นการได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งโดยปกติการได้รับ
การศึกษาอย่างเป็นทางการจะมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับตำ�แหน่งหรือสถานะความเป็นผู้นำ�ที่จะได้รับ แต่
กระนั้นก็ตาม สิ่งที่เป็นประเด็นสำ�คัญ คือ การศึกษาที่ได้รับจะสามารถส่งผลให้เกิดประสิทธิผลต่อภาวะผู้นำ�
ได้อย่างไร ผู้นำ�ที่ประสบความสำ�เร็จมักใช้ผลจากการศึกษาที่ได้จากการศึกษาอย่างเป็นทางการผนวกกับ
การศึกษาด้วยตนเองในการบริหารจัดการองค์การ
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71