Page 71 - การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับผู้นำทางการศึกษา
P. 71
ภาวะผู้นำ�และการบริหารการเปลี่ยนแปลง 2-61
ตารางที่ 2.6 (ตอ่ )
โปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำ� (4 สัปดาห์สำ�หรับผู้บริหารระดับสูง)
การสร้างสัมพันธภาพในงานที่ดีกว่า
การนำ�การเปลี่ยนแปลงไปใช้ในการองค์การให้ประสบความสำ�เร็จ
การจัดการบุคลากรเพื่อให้ได้ผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ
การบริหารจัดการแฟ้มสะสมงาน
การพัฒนาผู้นำ�: กุญแจสำ�คัญสำ�หรับผลแห่งความสำ�เร็จ
เสียงจากภาวะผู้นำ�: ผู้นำ�จะสามารถสร้างแรงบันดาลใจ สร้างอิทธิพลและผลแห่งความสำ�เร็จได้อย่างไร
การฝึกอบรมนอกสถานที่
ที่มา: ปรับจาก A.J. DuBrin. (2010). Principles of leadership. 6th ed. Thomson South-Western, p. 457.
สำ�หรับรูปแบบของโปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงนั้นมีอยู่หลากหลายรูปแบบ
ดูบริน (DuBrin, 2010: 448) ได้แบ่งรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ�ออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่
1. โปรแกรมเร่งรัดที่มีการสะท้อนผล (feedback-intensive programs) จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น
ถึงแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ�จะเห็นว่า การสะท้อนผลการประเมินจะสามารถนำ�ไปสู่การเรียนรู้ใน
สถานการณ์ใหม่ๆ (Kolb, 1984) โปรแกรมนี้ก็เช่นกันที่จะช่วยให้ผู้นำ�สามารถสะท้อนเห็นผลการพัฒนา
พฤติกรรม เหตุผลที่แสดงพฤติกรรม ผลกระทบของพฤติกรรม รวมทั้งทัศนคติต่อการกระทำ�พฤติกรรม
ของตนเองได้อย่างชัดเจน และยิ่งกว่านั้นโปรแกรมลักษณะนี้จะช่วยให้ผู้นำ�สามารถสร้างสรรค์วิธีการที่ดี
กว่าในการบรรลุเป้าหมายความสำ�เร็จ
2. โปรแกรมทักษะพื้นฐาน (skill-based programs) การฝึกทักษะการพัฒนาภาวะผู้นำ�รวมถึง
การค้นหาความสามารถและวิธีการในการพัฒนา ในโปรแกรมนี้จะเป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ของผู้บริหาร
เช่น ฝึกการใช้การสอนแนะ (coaching) การฝึกทักษะในลักษณะนี้ จะเป็นการฝึกโดยใช้วิธีการ “how to”
ซึ่งวิธีการสำ�คัญ 5 วิธีที่ใช้ในการฝึกทักษะ ได้แก่ การบรรยาย กรณีศึกษา การแสดงบทบาทสมมติ รูปแบบ
ของบทบาทเชิงพฤติกรรม และการจำ�ลองสถานการณ์
3. โปรแกรมการรับรู้และความรู้ในเชิงกรอบแนวคิด (conceptual knowledge and awareness
programs) การพัฒนาภาวะผู้นำ�ในโปแกรมนี้มุ่งให้ผู้นำ�เกิดกรอบแนวคิดและทำ�ความเข้าใจกับภาวะผู้นำ�
กรอบแนวคิดนี้มักจะอยู่ในรูปแบบของกิจกรรมที่เน้นประสบการณ์ เช่น การแสดงบทบาทสมมติและกรณี
ศึกษา ความรู้ในเชิงกรอบความคิดสำ�คัญมากสำ�หรับการพัฒนาภาวะผู้นำ� เช่น หากผู้นำ�เรียนรู้ในเชิงกรอบ
ความคิดเกีย่ วกับภาวะผูน้ �ำ การเปลีย่ นแปลง ก็จะสามารถน�ำ ความคดิ นั้นไปสูก่ ารปฏิบตั ไิ ด้ ความรูใ้ นตารางที่
2.6 ข้างต้นเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงรูปแบบของความรู้ในเชิงกรอบแนวคิดในโปรแกรมการพัฒนา
ภาวะผู้นำ�