Page 40 - การประเมินองค์กรและบุคลากร
P. 40
13-30 การประเมินองค์กรและบุคลากร
2) เพื่อพัฒนาข้าราชการพลเรือนผู้มีศักยภาพสูงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
3) เพื่อเตรียมผู้นำ�ซึ่งมีคุณภาพมากประสบการณ์ในจำ�นวนที่เพียงพอสำ�หรับการเป็น
นักบริหารระดับสูง (Senior Executive Service) และผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ (Senior Professional
Service)
1.3 กระบวนการขั้นตอนของระบบ HiPPS กระบวนการของระบบ HiPP มี 4 ขั้นตอนประกอบ
ด้วย 1) การวางแผน 2) การสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้าสู่ระบบ 3) พัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่ได้รับ
การคัดเลือก และ 4) ติดตามประเมินผล
1.3.1 การวางแผน (Planning) ส่วนราชการเห็นความจำ�เป็นของการวางแผนกำ�ลังคนและมี
ส่วนร่วมในการเตรียมกำ�ลังคนคุณภาพสำ�หรับภาคราชการ โดยสำ�นักงาน ก.พ. เป็นผู้กำ�หนดนโยบาย การ
กำ�กับดูแลและการรักษามาตรฐาน หน่วยงานที่การเข้าร่วมระบบ HiPPS เป็นครั้งแรก ทำ�บันทึกข้อตกลง
ความร่วมมือ จัดทำ�กรอบการสั่งสมประสบการณ์ EAF ภาพรวมของส่วนราชการ สร้างความรู้ความเข้าใจให้
กับบุคลากรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ว่าขีดความสามารถของหน่วยงานว่าจะมาจากศักยภาพของบุคลากร
ประเภทใดเป็นสำ�คัญ จะเน้นระดับบริหาร หรือกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง จะเน้นผู้มีศักยภาพจากภายใน
หรือจากภายนอกหน่วยงาน เพื่อช่วยสร้างความได้เปรียบ (competitive advantage) ขับเคลื่อนกลยุทธ์
หรือช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับองค์กร (organization capability) หากอยู่ในระยะดำ�เนินการระบบ
HiPPS หน่วยงานจะต้องทบทวนการดำ�เนินการและรายละเอียดของกรอบการสั่งสมประสบการณ์ในปีที่ผ่าน
มาว่าจะต้องปรับเปลี่ยนหรือไม่ เพื่อใช้ในปีต่อ ๆ ไป โดยปรับปรุงร่วมกับ สำ�นักงาน ก.พ. ก่อนที่จะใช้
1.3.2 การสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้าสู่ระบบ (Recruiting and Selecting) ส่วนราชการจะ
ดำ�เนินการคัดเลือกเบื้องต้น และเสนอรายชื่อข้าราชการที่ผ่านการคัดเลือกมาให้สำ�นักงาน ก.พ. เพื่อที่จะได้
ท�ำ การคดั เลอื กในขัน้ ตอนสดุ ทา้ ย เพือ่ สรา้ งความเปน็ เลศิ เปน็ การเฉพาะใหก้ บั บคุ คล ซึง่ ตอ้ งผา่ นการพจิ ารณา
ผลงานร่วมด้วย แบ่งได้เป็น 2 แนวทางคือ
1) แนวทางการสรรหา มี 2 วิธีคือ วิธีแรกผู้บังคับบัญชาระดับต้นและเหนือขึ้นไป
(ผู้อำ�นวยการกอง/สำ�นัก) พิจารณาเสนอชื่อข้าราชการที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ ก.พ. กำ�หนด โดยความสมัคร
ใจของข้าราชการผู้นั้นด้วย วิธีที่ 2 ข้าราชการผู้มีคุณสมบัติตรงตามที่ ก.พ. กำ�หนดสมัครด้วยตนเอง พร้อม
ด้วยความเห็นของผู้บังคับบัญชาระดับผู้อำ�นวยการกอง/ผู้อำ�นวยการสำ�นัก
การกำ�หนดสมรรถนะหลักของข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงเป็นฐานรากสำ�หรับการจัด
วางระบบการมอบหมายงาน (On-the-Job Training) การฝึกอบรมพัฒนา (Off-the-Job Training) และ
การสับเปลี่ยนหมุนเวียน (Job Rotation) สำ�นักงาน ก.พ. กำ�หนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของข้าราชการ
ผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง (HiPPS Competencies Model) ประกอบด้วย 11 สมรรถนะที่พึงประสงค์ ดังนี้
1) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation) 2) การบริการที่ดี (Service Mind) 3) การสั่งสมความ
เชี่ยวชาญในงานอาชีพ (Expertise) 4) การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม (Integrity)
5) การทำ�งานเป็นทีม (Teamwork) 6) ความผูกพันต่อระบบราชการ (Civil Perspective) 7) ความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์ (Creative Perspective) 8) การมองในภาพรวม (Holistic View) 9) การอุทิศตนเพื่อสังคม