Page 29 - การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
P. 29
การประเมินหลักสูตร 7-19
การเสนอแนะด้วยว่าในการประเมินแต่ละรายการหรือแต่ละเรื่องควรพิจารณาหรือตรวจสอบอย่างไร ซึ่งเป็น
ลักษณะของการเสนอแนะวิธีการ (how) หรือแนวทางในการประเมิน รูปแบบการประเมินจึงเป็น “ตัวช่วยชี้”
ให้ผู้ประเมินได้แนวคิด และมองเห็นแนวทางในการประเมินหลักสูตรที่ครอบคลุมชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้ได้
สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตร
2. ประเภทของรปู แบบการประเมินหลักสูตร
นักวิชาการด้านการประเมินส่วนใหญ่นิยมจัดกลุ่มหรือประเภทของรูปแบบการประเมินออกเป็น
3 กลุ่ม ดังนี้ (เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี 2542: 64-64 สุวิมล ติรกานนท์ 2543: 39; สำ�ราญ มีแจ้ง 2544:
111-112; สมคิด พรมจุ้ย 2550: 50; สุภมาศ อังศุโชติ 2555: 6-7)
2.1 รูปแบบการประเมินที่เน้นวัตถุประสงค์ (objective-based model) เป็นรูปแบบการประเมินที่
เนน้ การตรวจสอบวา่ ผลทีเ่ กดิ ขึน้ จากหลกั สตู รเปน็ ไปตามวตั ถปุ ระสงคข์ องหลกั สตู รนัน้ หรอื ไม่ ไดแ้ ก่ รปู แบบ
การประเมินของไทเลอร์ (Ralph W. Tyler, 1943) ครอนบาค (Cronbach, 1973) และเคิร์กแพททริก
(Kirkpatrick, 1985) ตามแนวคิดของรูปแบบการประเมินที่เน้นวัตถุประสงค์นี้ การประเมินเป็นกระบวนการ
ตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นเทียบกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ดังนั้น ผู้ประเมินจึงมีบทบาทสำ�คัญในการตัดสิน
คุณค่าของหลักสูตรที่มุ่งประเมินโดยยึดวัตถุประสงค์ของหลักสูตรเป็นหลัก
2.2 รูปแบบการประเมินที่เน้นการตัดสินคุณค่า (judgmental evaluation model) เป็นรูปแบบการ
ประเมินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมสารสนเทศสำ�หรับกำ�หนดและวินิจฉัยคุณค่าของหลักสูตรที่มุ่งประเมิน
ได้แก่ รูปแบบการประเมินของสเตค (Stake, 1967) สคริฟเวน (Scriven, 1967) และโพรวัส (Provus,
1971) ตามแนวคดิ ของรปู แบบการประเมนิ ทีเ่ นน้ การตดั สนิ คณุ คา่ นี้ การประเมนิ เปน็ กระบวนการทีผ่ ูป้ ระเมนิ
ต้องตัดสินคุณค่าของหลักสูตรที่มุ่งประเมิน บทบาทที่สำ�คัญที่สุดของผู้ประเมินก็คือ การตัดสินคุณค่า ถ้า
ผูป้ ระเมนิ ไมไ่ ดม้ สี ว่ นในกระบวนการตดั สนิ คณุ คา่ ของหลกั สตู รทีม่ ุง่ ประเมนิ ถอื วา่ ยงั ไมไ่ ดป้ ฏบิ ตั หิ นา้ ทีอ่ ยา่ ง
สมบูรณ์ (Scriven, 1976 อ้างอิงใน ศิริชัย กาญจนวาสี 2552: 108)
2.3 รูปแบบการประเมินที่เน้นการตัดสินใจ (decision-oriented evaluation model) เป็นรูปแบบ
การประเมินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดหาสารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตรเพื่อช่วยให้ผู้บริหารหรือผู้มีอำ�นาจในการ
ตัดสินใจเลือกทางเลือกต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและมีเหตุผล ได้แก่ รูปแบบการประเมินของเวลช์ (Welch,
1967) สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam: CIPP Model, 1968) และอัลคิน (Alkin, 1967) รูปแบบการประเมิน
ของไทเลอรภ์ าคขยาย ตามแนวคดิ ของรปู แบบการประเมนิ ทีเ่ นน้ การตดั สนิ ใจนี้ การประเมนิ เปน็ กระบวนการ
จดั หาสารสนเทศส�ำ หรับการตดั สนิ ใจของผู้บริหารหรือผูม้ อี �ำ นาจในการตัดสนิ ใจเกี่ยวกับหลกั สูตร ผู้ประเมนิ
จึงมีบทบาทสำ�คัญในการตอบสนองความต้องการสารสนเทศของผู้บริหารที่จะใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับ
หลักสูตร โดยผู้บริหารเป็นผู้กำ�หนดบริบทของการตัดสินใจ และเกณฑ์การตัดสินความสำ�เร็จของหลักสูตร
ผู้ประเมินไม่ควรเข้าไปมีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจของผู้บริหาร เพราะจะทำ�ให้เกิดความลำ�เอียงใน
การประเมิน ผู้ประเมินจึงควรมีบทบาทเฉพาะการแสวงหาและเสนอสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่
มุ่งประเมินเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหาร