Page 30 - การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
P. 30
7-20 การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
3. รปู แบบการประเมนิ ท่คี วรใช้ในการประเมินหลกั สตู ร
ในการประเมินหลักสูตร ผู้ประเมินสามารถเลือกหรือประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินต่างๆ ได้ ดังนี้
(1) รปู แบบการประเมนิ ของไทเลอร์ (2) รปู แบบการประเมนิ ภาคขยายของไทเลอร์ (3) รปู แบบการประเมนิ ของ
ครอนบาค (4) รูปแบบการประเมินของเคิร์กแพททริก (5) รูปแบบการประเมินของสคริฟเวน (6) รูปแบบการ
ประเมินของสเตค (7) รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม และ (8) รูปแบบการประเมินของอัลคิน
รายละเอียดและแนวทางการประเมินของแต่ละรูปแบบ มีดังนี้
1. รปู แบบการประเมินของไทเลอร์
ไทเลอร์ ได้พัฒนารูปแบบการประเมิน (Tylerian model) เพื่อใช้ในการศึกษาความแตกต่างของ
ประสิทธิภาพของสถานศึกษาประเภทต่างๆ ในโครงการ The Eight-Year Study (ค.ศ. 1932-1940) ของ
สหรัฐอเมริกา (Tyler, 2000 อ้างถึงในสุภมาศ อังสุโชติ 2555) ไทเลอร์เป็นนักประเมินที่ให้ความสนใจและ
พัฒนารูปแบบการประเมินโครงการทางการศึกษาก่อนคนอื่นๆ นอกจากเขาจะเป็นบุคคลที่มีความสำ�คัญทาง
ดา้ นการประเมนิ แลว้ ยงั เปน็ ผูท้ ีใ่ หแ้ นวคดิ ส�ำ คญั ในการพฒั นาหลกั สตู รอกี ดว้ ย โดยไทเลอรไ์ ดใ้ หค้ วามหมาย
ของการประเมินว่า เป็นการเปรียบเทียบผลลัพธ์ (outcomes) ที่คาดหวังกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งเป็นการ
เปรียบเทียบการปฏิบัติหรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงกับจุดมุ่งหมายที่กำ�หนดไว้ล่วงหน้า จากนิยามนี้ชี้ให้เห็น
ว่าไทเลอร์ได้ยึดเอาจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นหลักในการประเมิน เพื่อตรวจสอบว่าหลักสูตรที่จัดทำ�นั้น
สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำ�หนดไว้มากน้อยเพียงใด บางครั้งจึงเรียกรูปแบบการประเมินนี้ว่า รูปแบบการ
ประเมินที่ยึดวัตถุประสงค์หรือความสำ�เร็จของเป้าหมายเป็นหลัก (goal attainment or objective-based
model อ้างถึงใน ส. วาสนา ประวาลพฤกษ์ 2544: 99)
1.1 จุดมุ่งหมายของการประเมิน ตามแนวคิดของไทเลอร์ การประเมินหลักสูตรมีจุดมุ่งหมายที่
สำ�คัญๆ 2 ประการ คือ
1.1.1 เพื่อตรวจสอบดูว่า จุดมุ่งหมายของหลักสูตรซึ่งได้กำ�หนดไว้ในรูปของจุดมุ่งหมาย
เชิงพฤติกรรมนั้นได้บรรลุผลสำ�เร็จมากน้อยเพียงใด
1.1.2 เพื่อหาข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการปรับปรุงการใช้หลักสูตรหรือการจัดการเรียน
การสอน
1.2 ขั้นตอนของการประเมิน การประเมินหลักสูตรตามรูปแบบการประเมินของไทเลอร์นี้
ฟิทซ์แพททริค แซนเดอร์ และวอร์เธน (Fitzpatrick, Sanders and Worthen, 2004: 72) ได้สรุปไว้ 7
ขั้นตอน ดังนี้
1.2.1 กำ�หนดเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายของหลักสูตรทางการศึกษาไว้อย่างกว้างๆ
1.2.2 จำ�แนกประเภทของเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายของหลักสูตรทางการศึกษาไว้ให้ชัดเจน
1.2.3 กำ�หนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมให้ชัดเจนว่า เมื่อจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร
เสร็จสิ้นแล้ว ผู้เรียนจะเกิดพฤติกรรมอะไรบ้าง อาจจะเป็นพฤติกรรมรายบุคคลหรือรายกลุ่มก็ได้
1.2.4 กำ�หนดสถานการณ์ ก�ำ หนดและเลือกเนื้อหาสำ�คัญ รวมทั้งวิธีการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนต่างๆ ที่จะทำ�ให้ผู้เรียนได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ได้กำ�หนดไว้