Page 35 - การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
P. 35

การประเมินหลักสูตร 7-25

            2.2.4 การประเมินการนำ�หลักสูตรไปปฏิบัติ เป็นการประเมินว่าการบริหารหลักสูตรและ
การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษามีสิ่งใดที่ทำ�ได้ตามแผนที่กำ�หนดไว้ และสิ่งใดที่ไม่ได้ทำ� 
มีปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง

            2.2.5 การประเมินผลลัพธ์ของหลักสูตร เป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรว่าเป็นไป
ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ทำ�ให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้หรือไม่ เพียงใด

            2.2.6 การกำ�กับติดตามการใช้หลักสูตรอย่างต่อเนื่อง หลังจากจัดการศึกษาตามหลักสูตร
สถานศึกษาในแต่ละปีแล้ว จะต้องมีการกำ�กับติดตามการใช้หลักสูตรอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการเบี่ยงเบน
ทิศทางและแนวดำ�เนินการใช้หลักสูตร

3. 	รปู แบบการประเมนิ ของครอนบาค

       ครอนบาค (Cronbach, 1963) ได้เสนอแนวคิดการประเมินซึ่งเรียกว่า การประเมินยุทธศาสตร์ของ
การตดั สนิ ใจ การประเมนิ ตามแนวคดิ ของครอนบาค คอื การรวบรวมขอ้ มลู และใชส้ ารสนเทศเพือ่ การตดั สนิ ใจ
เกี่ยวกับหลักสูตร โดยที่หลักสูตรจะมีขอบเขตครอบคลุมถึงกิจกรรมต่างๆ ทางการศึกษา ซึ่งอาจจะเป็น
สื่อการเรียนการสอน กิจกรรมการเรียนการสอน ประสบการณ์การเรียนที่สถานศึกษาจัดให้กับผู้เรียน การ
ประเมินจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจหลายเรื่องด้วยกัน ซึ่งจำ�เป็นต้องอาศัยข้อมูลหลายๆ ด้าน การประเมิน
จึงประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ หลายขั้นตอน และใช้เทคนิควิธีที่แตกต่างกัน

       3.1 	จุดมุ่งหมายของการประเมิน ครอนบาคได้กำ�หนดจุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตรไว้ 3
ประการคือ (Worthen and Sanders, 1973: 44)

            3.1.1 	เพือ่ การปรบั ปรงุ รายวชิ า (course improvement) โดยการตดั สนิ วา่ สือ่ การเรยี นการสอน
อะไร หรือวิธีการสอนใดที่ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ และมีสิ่งใดที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข

            3.1.2 	เพื่อตัดสินเกี่ยวกับตัวบุคคล (decision about individual) โดยการสำ�รวจความต้องการ
ของผู้เรียนเพื่อการวางแผนการสอน พิจารณาคุณลักษณะของผู้เรียนเพื่อการคัดเลือก และการจัดกลุ่ม และ
การหาข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้าและข้อบกพร่องเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียน

            3.1.3 	เพื่อตัดสินเกี่ยวกับระบบและวิธีการบริหาร (administrative regulation) โดยการ
พิจารณาว่าระบบการบริหารของสถานศึกษา การบริหารหลักสูตรที่เป็นอยู่นั้นดีหรือไม่ อย่างไร ครูแต่ละคน
มีคุณภาพ หรือประสิทธิภาพเพียงใด

            ในการประเมินหลักสูตรและการเรียนการสอนนั้น ครอนบาคเห็นว่า ควรประเมินทั้งผลที่
คาดหวังตามวัตถุประสงค์ที่กำ�หนดไว้และผลกระทบอื่น (side effects) ของหลักสูตรนั้น จึงเรียกรูปแบบ
การประเมินของครอนบาคว่า รูปแบบการประเมินวัตถุประสงค์และผลกระทบ (goal and side effects
attainment model)

       3.2 	วิธีการประเมิน ครอนบาคได้เสนอให้ทำ�การประเมินหลักสูตร 4 ด้านคือ (Worthen and
Sanders, 1973: 43-49; ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์ 2544: 122-123)
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40