Page 32 - การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
P. 32

7-22 การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้

       1.3 	การประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของไทเลอร์เพื่อการประเมินหลักสูตร การประเมินตาม
รปู แบบนี้ จะชว่ ยใหไ้ ดส้ ารสนเทศซึง่ เปน็ ผลลพั ธท์ ีเ่ กดิ ขึน้ จรงิ วา่ เปน็ ไปตามจดุ มุง่ หมายทีต่ ัง้ ไวห้ รอื ไม่ รปู แบบ
การประเมินของไทเลอร์จึงเหมาะสำ�หรับการประเมินผลสรุปรวมหลังการใช้หลักสูตรหรือการจัดการเรียน
การสอนสิ้นสุดลงแล้วว่า ได้ผลการเรียนรู้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ ดังนั้น ก่อนการประเมินผลสรุป
รวมดังกล่าว จึงควรตรวจสอบความเป็นไปได้ของจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ความน่าเชื่อถือของจุดมุ่งหมาย
และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์เรียนรู้หรือผลลัพธ์การเรียนรู้กับจุดมุ่งหมายของ
หลกั สตู ร ทัง้ นี้ เพือ่ ใหจ้ ดุ มุง่ หมายของหลกั สตู รซึง่ จะใชเ้ ปน็ เกณฑห์ รอื สิง่ เปรยี บเทยี บการบรรลจุ ดุ มุง่ หมายมี
ความถูกต้อง สมบูรณ์ครบถ้วนและมีคุณค่ามากที่สุด โดยทั่วไปในการประเมินเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายมี
วิธีดำ�เนินการ ดังนี้

            1.3.1 	ตรวจสอบคณุ คา่ ของเปา้ หมายหรอื จดุ มุง่ หมายของหลกั สตู รแตล่ ะขอ้ โดยใหผ้ ูเ้ กีย่ วขอ้ ง
กบั หลกั สตู รทีม่ ุง่ ประเมนิ และ/หรอื ผูท้ รงคณุ วฒุ เิ ปน็ ผูใ้ หค้ วามคดิ เหน็ หรอื วพิ ากษเ์ ปา้ หมายหรอื จดุ มุง่ หมาย
ของหลักสูตรว่า มีคุณค่าและสามารถวัดผลสำ�เร็จได้หรือไม่

            1.3.2 	ศกึ ษาวเิ คราะหเ์ นือ้ หาสาระของเอกสารหลกั สตู รหรอื บนั ทกึ ขอ้ มลู ตา่ งๆ ทีเ่ กีย่ วขอ้ ง เชน่
ค�ำ บรรยาย รายงานการประชุม จดหมายข่าวตา่ งๆ แผนการจัดกจิ กรรมการเรยี นการสอนหรอื พฒั นา เปน็ ต้น
ผลการศึกษาดังกล่าวนี้จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่สะท้อนถึงความขัดแย้งหรือสนับสนุนคุณค่าของเป้าหมายหรือ
จดุ มุง่ หมายบางขอ้ เพือ่ ใหเ้ กดิ ความมัน่ ใจและไดท้ ราบถงึ วธิ กี ารทีจ่ ะท�ำ ใหบ้ รรลจุ ดุ มุง่ หมาย จงึ ควรตรวจสอบ
ความเป็นไปได้ของการบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร โดยการศึกษานำ�ร่อง (a pilot study) ของหลักสูตร
ก่อน

2. 	รูปแบบการประเมนิ ภาคขยายของไทเลอร์

       แนวคิดการประเมินตามรูปแบบเดิมของไทเลอร์เป็นการประเมินทางการศึกษาที่ยึดจุดประสงค์
เชงิ พฤตกิ รรมเปน็ หลกั โดยมกี ารก�ำ หนดเกณฑไ์ วล้ ว่ งหนา้ ซึง่ เปน็ การประเมนิ ผลสรปุ รวมเพือ่ น�ำ ผลไปพฒั นา
หลักสูตรอื่นๆ ต่อไป โดยมิได้เน้นถึงบริบทอื่นที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร ในระยะต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการศึกษา จึงทำ�ให้แนวคิดในการ
ประเมินของไทเลอร์เปลี่ยนไป รูปแบบการประเมินเริ่มให้ความสนใจกับสิ่งต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อหลักสูตร
ด้วย เช่น ความสามารถทางการเขียนของนักเรียน การประเมินการเรียนรู้โดยความรู้สึก อีกทั้งยังให้ความ
สำ�คัญกับสารสนเทศทางการประเมินที่จะรายงานให้กับบุคคลระดับต่างๆ เป็นต้น ในการประเมินหลักสูตร
ไทเลอร์ได้เสนอให้มีการประเมิน 6 ประเด็น คือ (1) การประเมินจุดมุ่งหมายหลักสูตร (2) การประเมินแผน
การเรียนรู้ (3) การประเมินเพื่อนำ�ไปสู่การพัฒนาหลักสูตร (4) การประเมินเพื่อนำ�หลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ
(5) การประเมินผลลัพธ์ของหลักสูตร และ (6) การกำ�กับหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง (สุภมาศ อังสุโชติ 2555:
51-52)

       2.1 	สาระส�ำ คญั ของการประเมนิ   รปู แบบการประเมนิ ภาคขยายของไทเลอรห์ รอื รปู แบบการประเมนิ
ของไทเลอร์ใหม่ มีสาระสำ�คัญโดยสรุปดังนี้ (ปรับจาก สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ 2533: 130-143)
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37