Page 40 - การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
P. 40

7-30 การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้

ประกอบด้วย เนื้อหา วิธีการ หรือกิจกรรมการฝึกอบรม ความสามารถของวิทยากร เป็นต้น ประเด็นการ
ประเมินผลการเรียนรู้ อาจประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ หรือเจตคติ เป็นต้น สำ�หรับการประเมินพฤติกรรม
การปฏิบัติงาน ประเด็นการประเมินอาจประกอบด้วย การนำ�ความรู้ไปใช้ปฏิบัติงาน มีพฤติกรรมการทำ�งาน
ที่รับผิดชอบมากขึ้น มีความมุ่งมั่นพยายามมากขึ้น หรือสามารถทำ�งานร่วมกับผู้อื่นได้ดีขึ้นหรือไม่ เป็นต้น
ส่วนประเด็นการประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อองค์กร อาจประกอบด้วย ผลผลิตที่ได้ คุณภาพการให้บริการ
ผู้รับบริการ การได้รับการยอมรับ ศรัทธาจากผู้รับบริการ ผลกำ�ไร หรือความก้าวหน้าขององค์กร เป็นต้น

            4.3.3 วางแผนการประเมินให้ครอบคลุมการประเมิน ให้ครอบคลุมทุกระดับที่มุ่งประเมิน ซึ่ง
ตามรูปแบบการประเมินของเคิร์กแพททริกจะมีการประเมิน 2 ช่วงระยะเวลาคือ การประเมินระหว่างการฝึก
อบรม และการประเมินหลังสิ้นสุดการฝึกอบรม การประเมินระหว่างการฝึกอบรมจะประเมินทันทีเมื่อการ
ฝึกอบรมสิ้นสุดลง โดยมีการประเมินปฏิกิริยาและประเมินผลการเรียนรู้ สำ�หรับการประเมินหลังสิ้นสุดการ
ฝึกอบรม เป็นลักษณะของการติดตามประเมินผล เมื่อผู้เข้าอบรมกลับไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานแล้ว ซึ่งต้อง
เว้นระยะเวลาให้ผู้เข้ารับอบรมได้ปฏิบัติงานโดยแน่ใจว่า ได้มีการนำ�ความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปใช้ หรือ
มีพฤติกรรมการทำ�งานที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแล้ว จึงควรติดตามไปประเมินพฤติกรรมการทำ�งานและ
ประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อองค์กร ซึ่งอาจจะต้องมีการประเมินเป็นระยะๆ หลายช่วงเวลา

            4.3.4 ออกแบบการประเมินให้มีความเหมาะสม โดยเฉพาะการออกแบบการวัดตัวแปรที่มุ่ง
ประเมนิ วา่ จะวดั ความรู้ ทกั ษะหรอื เจตคติ นกั ประเมนิ ตอ้ งวเิ คราะหว์ ตั ถปุ ระสงคข์ องหลกั สตู รใหท้ ราบแนช่ ดั วา่
ต้องการให้เกิดผลที่คาดหวังอะไร สำ�หรับเครื่องมือวัดก็ต้องตัดสินใจเลือกใช้ให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้เข้า
อบรมด้วยว่า ควรจะใช้แบบทดสอบหรือแบบประเมินตนเอง หรือการประเมินจากชิ้นงาน กรณีการออกแบบ
กลุ่มตัวอย่างหรือผู้ให้ข้อมูลต้องพิจารณาให้รอบคอบว่า นอกจากผู้เข้าอบรมแล้ว บุคคลใดที่จะสามารถ
ให้ข้อมูลที่ตรงตามที่ผู้ประเมินต้องการ เช่น การประเมินพฤติกรรมการทำ�งานหลังการฝึกอบรม การเลือก
ผู้ให้ข้อมูลเฉพาะผู้เข้าอบรมอาจจะไม่เหมาะสม เพียงพอหรือมีความน่าเชื่อถือที่จะตอบคำ�ถามว่า หลังจาก
ฝึกอบรมแล้ว ผู้เข้าอบรมมีพฤติกรรมการทำ�งานเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ อย่างไรบ้าง ควรใช้กลุ่มของผู้บังคับ
บัญชาหรือเพื่อนร่วมงานเป็นผู้ให้ข้อมูลด้วยจึงจะทำ�ให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากขึ้น

5. 	รูปแบบการประเมนิ ของสครฟิ เวน

       สคริฟเวน (Scriven, 1967) เป็นนักคิด นักปรัชญาที่สำ�คัญคนหนึ่งของวงการประเมินที่ให้ความ
สำ�คัญกับการตัดสินคุณค่า (value judgment) ซึ่งได้เสนอแนวความคิดว่าสิ่งที่นักประเมินต้องทำ� คือให้
ข้อสรุปเชิงประเมิน (evaluation conclusion) และนักประเมินต้องมีบทบาท 3 ประการ คือการเป็นผู้ตัดสิน
คุณค่า การเป็นผู้อำ�นวยความสะดวกในการทำ�การประเมิน และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรหรือ
โครงการ (ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์ 2544: 140)

       5.1 	จุดเน้นของการประเมิน สคริฟเวน (Scriven, 1967; cited in Stufflebeam and Shink-
field, 2007: 371-374) ให้ความหมายของการประเมินว่า การประเมินคือ กระบวนการตัดสินคุณค่า หรือ
คุณประโยชน์ของสิ่งที่มุ่งประเมิน โดยมีจุดเน้นการประเมินหลัก 4 ลักษณะคือ
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45