Page 41 - การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
P. 41

การประเมินหลักสูตร 7-31

            5.1.1	การประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) เป็นการประเมินที่อยู่ระหว่าง
การนำ�หลักสูตรไปใช้ จะมีบทบาทของการตัดสินคุณค่าของกระบวนการบริหารหลักสูตรและการจัดการ
เรียนการสอน เพื่อเสนอสารสนเทศเกี่ยวกับความก้าวหน้าของการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียน
การสอน ที่จะนำ�ไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกระบวนการการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

            5.1.2 	การประเมนิ ผลสรปุ รวม (summative evaluation) เปน็ การประเมนิ สรปุ ผลของหลกั สตู ร
ซึ่งจะประเมินเมื่อมีการใช้หลักสูตรครบวงจรแล้วตามระยะเวลาที่กำ�หนดไว้แล้ว จะมีบทบาทของการตัดสิน
คุณค่าของผลที่ได้รับจากหลักสูตรเพื่อเสนอสารสนเทศเกี่ยวกับคุณค่าของหลักสูตรและหาจุดเด่นหรือ
จุดบกพร่องของหลักสูตร เพื่อเป็นแนวทางสู่การตัดสินใจดำ�เนินการใช้หลักสูตรในรอบต่อไป โดยอาจมี
การปรับปรุง พัฒนา เปลี่ยนแปลงหลักสูตร หรือยกเลิกหลักสูตร

            5.1.3 	การประเมินคุณค่าภายใน (intrinsic evaluation) เป็นการประเมินคุณค่าของสิ่งต่างๆ
ภายในตัวหลักสูตร ยกเว้นผลผลิตหรือผลกระทบของหลักสูตร เช่น การประเมินจุดมุ่งหมาย โครงสร้างของ
หลักสูตรเนื้อหาวิชา แผนการเรียนรู้ กระบวนการหรือแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร คุณภาพของ
เครื่องมือ ตลอดจนเจตคติของบุคลคลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการประเมินเอกสารประกอบหลักสูตร เป็นต้น

            5.1.4 	การประเมินผลสำ�เร็จ (pay-off evaluation) เป็นการประเมินผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรหลังจากการใช้หลักสูตรครบวงจรแล้ว เป็นการตัดสินคุณค่าของหลักสูตรโดย
อิงเกณฑ์ภายนอก เช่น การประเมินผลที่เกิดจากการสอนของครูที่มีต่อนักเรียน หรือผลที่เกิดขึ้นกับครู
ผลที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษา ผลที่เกิดขึ้นกับผู้ปกครอง เป็นต้น

       นอกจากนี้ สคริฟเวนยังได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการประเมินผลที่เกิดขึ้นทั้งหมด อันเนื่องมาจาก
หลักสูตร (all relevant effect) ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นทั้งที่ได้คาดหวังจะให้เกิดและผลที่มิได้คาดหวังไว้ ทั้งนี้
เป็นผลที่เกิดขึ้นจริงๆ จากการใช้หลักสูตรซึ่งอาจเป็นผลในทางที่ดี พึงปรารถนาและไม่ดีที่ไม่พึงปรารถนา
ก็ได้ การประเมินหลักสูตรในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า การประเมินที่ไม่อิงเฉพาะวัตถุประสงค์ (goal-free
evaluation) ดังนั้น ในการประเมินหลักสูตรตามแนวคิดของสคริฟเวน นอกจากจะต้องประเมินผลที่เกิดขึ้น
ตามวัตถุประสงค์แล้วจะต้องประเมินผลที่เกิดขึ้นที่ไม่ได้กำ�หนดไว้ในวัตถุประสงค์ของหลักสูตรอีกด้วย	

       5.2 	การประยกุ ตใ์ ชร้ ปู แบบการประเมนิ ของสครฟิ เวนเพอ่ื การประเมนิ หลกั สตู ร รปู แบบการประเมนิ
ของสคริฟเวนเป็นการประเมินเพื่อตัดสินคุณค่าของสิ่งที่มุ่งประเมิน มีจุดเด่นที่แตกต่างจากรูปแบบการ
ประเมนิ อืน่ คอื เนน้ การประเมนิ ความกา้ วหนา้ และการประเมนิ ผลสรปุ รวม นอกจากนัน้ ยงั เสนอใหพ้ จิ ารณาวา่
ประสิทธิผลของหลักสูตรไม่ควรพิจารณาเฉพาะผลที่เกิดตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรเท่านั้น แต่ควร
พิจารณาผลที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยผลตามที่คาดหมายและผลข้างเคียงทั้งผลทางบวกและ
ผลทางลบ ดังนั้น การประเมินหลักสูตรตามรูปแบบของสคริฟเวนจึงเป็นการประเมินเพื่อตัดสินคุณค่า
ของหลักสูตร จึงควรมีการหาความต้องการจำ�เป็นของผู้ที่ได้รับผลของหลักสูตรเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการ
ตัดสินคุณค่าของหลักสูตร ควรมีการประเมินความก้าวหน้าในระหว่างการใช้หลักสูตรเพื่อปรับปรุงพัฒนา
กระบวนการบรหิ ารและการจดั การเรยี นการสอนและการประเมนิ ผลสรปุ รวมโดยพจิ ารณาประสทิ ธผิ ลทัง้ หมด
ของหลักสูตรทั้งประสิทธิผลตามที่คาดหมายและผลข้างเคียง
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46