Page 64 - การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
P. 64
7-54 การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
ตารางที่ 7.3 (ตอ่ )
วตั ถุประสงคข์ อง ประเด็นการประเมนิ แหลง่ ข้อมลู เคร่อื งมือ/วิธเี ก็บ การวิเคราะห์ข้อมลู เกณฑก์ ารประเมนิ
การประเมิน (ตัวแปร/ตวั บ่งช้)ี รวบรวมข้อมูล
แบบสอบถาม
3.3 ความพึง ความพึงพอใจของ นักศึกษา ค่าเฉลี่ยและ - ค่าเฉลี่ยตาม
พอใจต่อ นักศึกษาที่มีต่อ ส่วนเบี่ยงเบน เกณฑ์ที่กำ�หนด
การเรียน การจัดกิจกรรม มาตรฐาน ไว้
การสอน การเรียนการสอน
ของอาจารย์ผู้สอน
การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์เนื้อหา วิธีการสรุปเชิง
เหตุผล ตัดสิน
ตามความเห็น
ส่วนใหญ่ของ
กลุ่ม
3.10 ประโยชนท์ ีค่ าดวา่ จะไดร้ บั จากการประเมนิ เปน็ สว่ นทีแ่ สดงถงึ การคาดคะเนผลทีเ่ กดิ ขึน้
เมื่อดำ�เนินการประเมินหลักสูตรเสร็จสิ้น หรือตามวัตถุประสงค์ของการประเมินแล้วว่า ผลการประเมิน
หลกั สตู รนัน้ จะเปน็ ประโยชนต์ อ่ ใคร และเปน็ ประโยชนอ์ ยา่ งไร ทัง้ ในเชงิ วชิ าการและเชงิ การบรหิ ารและพฒั นา
หลักสูตร การเขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับนี้ จะช่วยชี้ให้เห็นความสำ�คัญของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น และ
เห็นคุณค่าของผลการประเมินหลักสูตร โดยทั่วไปมีแนวปฏิบัติในการเขียน ดังนี้
3.10.1 ควรเขียนเป็นข้อๆ เรียงลำ�ดับความสำ�คัญ โดยเริ่มจากข้อที่เป็นประโยชน์
โดยตรงมากที่สุด ไปสู่ข้อที่เป็นประโยชน์น้อยที่สุด
3.10.2 เขียนให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของการประเมิน โดยระบุว่าเมื่อ
ได้ผลตามวัตถุประสงค์ของการประเมินแล้ว จะนำ�ผลนั้นไปใช้ประโยชน์ต่อใคร หน่วยงานใด และใช้อย่างไร
3.10.3 ไม่ควรเขียนขึ้นต้นประโยคด้วยคำ�ว่า “เพื่อ...” เพราะจะทำ�ให้เกิดความสับสน
กับวัตถุประสงค์ของการประเมิน ควรเขียนในลักษณะที่ผู้ประเมินคาดว่าจะได้อะไรจากการประเมิน และนำ�
ผลการประเมินไปใช้อย่างไร
ตัวอย่างการเขียนประโยชน์ที่ได้รับจากการประเมิน
ตัวอย่างที่ 1 จากรายงานการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2553 โรงเรียนวัดใหม่
สระพลอย สำ�นักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 เขียนประโยชน์ที่ได้รับจากการประเมิน ดังนี้
(ปรับจาก พยนต์ ง่วนทอง 2554: 9)
1. ทำ�ให้ได้ข้อมูลสารสนเทศสำ�หรับผู้บริหารสถานศึกษาและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรเพื่อ
การตัดสินใจปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของ
โรงเรียนวัดใหม่สระพลอยให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ครูผู้สอนสามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากการประเมินเป็นแนวทางสำ�หรับการปรับปรุงและ
พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น
ผู้ปกครองและนักเรียนได้มากขึ้น