Page 66 - การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
P. 66
7-56 การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
ตอนท่ี 7.3
การด�ำ เนนิ การประเมินหลักสูตร
โปรดอา่ นแผนการสอนประจ�ำ ตอนท่ี 7.3 แลว้ จงึ ศึกษาเนอ้ื หาสาระ พร้อมปฏิบตั กิ ิจกรรมในแตล่ ะตอน
หวั เรอื่ ง
เรื่องที่ 7.3.1 ขั้นตอนการดำ�เนินการประเมินหลักสูตร
เรื่องที่ 7.3.2 กรณีตัวอย่างการประเมินหลักสูตร
เรื่องที่ 7.3.3 บทบาทของผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประเมินหลักสูตร
แนวคดิ
1. ขั้นตอนการดำ�เนินการประเมินหลักสูตรที่ดี เริ่มต้นด้วยการจัดทำ�โครงการประเมิน
หลกั สตู รใหค้ รอบคลมุ ชดั เจน แลว้ ขออนมุ ตั โิ ครงการประเมนิ หลกั สตู รจากผูบ้ รหิ าร สรา้ ง
ความเข้าใจในการประเมินหลักสูตรกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง พัฒนาเครื่องมือเก็บรวบรวม
ข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และรายงานผลการประเมินหลักสูตร
2. กรณีตัวอย่างการประเมินหลักสูตร เป็นส่วนที่แสดงถึงสาระสำ�คัญของการประเมิน
หลักสูตรเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการประเมิน วิธีการประเมินและผลการประเมินโดย
สรุป รวมทั้งการวิพากษ์งานประเมิน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ศึกษาได้แนวคิด เห็นแนวทางในการ
ประเมินหลักสูตร และสามารถจะนำ�ไปประยุกต์ใช้ในการประเมินหลักสูตรได้
3. ในการประเมนิ หลกั สตู ร มผี ูเ้ กีย่ วขอ้ งหลายระดบั โดยมบี ทบาททีเ่ กีย่ วขอ้ งกบั การประเมนิ
หลักสูตรในลักษณะต่างๆ กัน กล่าวคือ ผู้บริหารระดับนโยบายจะมีบทบาทสำ�คัญในการ
กำ�หนดนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้มีการประเมินหลักสูตร ผู้บริหารระดับเขตพื้นที่การ
ศึกษามีบทบาทสำ�คัญในการสนับสนุน ส่งเสริมช่วยเหลือให้สถานศึกษาประเมินหลักสูตร
สถานศึกษา และเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการใช้หลักสูตรของสถาน
ศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทสำ�คัญในการสนับสนุนการประเมิน พัฒนาระบบ
การประเมินหลักสูตรด้วย และเป็นผู้ใช้สารสนเทศในการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตร
ผู้ประเมินหรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตร มีบทบาทสำ�คัญในการจัดทำ�โครงการ
ประเมิน ดำ�เนินการประเมิน และเสนอผลการประเมินต่อผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง ครู
อาจารย์ผู้สอนมีบทบาทสำ�คัญในการให้ความร่วมมมือในการประเมินและใช้ผลการ
ประเมินเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน