Page 69 - การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
P. 69

การประเมินหลักสูตร 7-59

       5. 	เกบ็ รวบรวมขอ้ มลู เปน็ การด�ำ เนนิ การเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู จรงิ โดยใชเ้ ครือ่ งมอื เกบ็ รวบรวมขอ้ มลู
แตล่ ะประเภททีไ่ ดพ้ ฒั นาขึน้ ซึง่ จะตอ้ งมกี ารวางแผน ประสานงานกบั ผูใ้ หข้ อ้ มลู ก�ำ หนดชว่ งระยะเวลา วธิ กี าร
ดำ�เนินการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ชัดเจน เพื่อให้การเก็บรวบรวมข้อมูลมีความถูกต้อง และสมบูรณ์ครบถ้วน
ผู้ประเมินจะต้องใช้เทคนิควิธีและเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็นไปตามแผนการดำ�เนินงานที่กำ�หนดไว้
เพื่อให้ทันตามกำ�หนดเวลา

       6. 	วิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมายของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้เพื่อ
ให้ได้คำ�ตอบตามวัตถุประสงค์ของการประเมินหลักสูตร วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ต้องพิจารณาให้สอดคล้อง
กับลักษณะของข้อมูล โดยทั่วไปการวิเคราะห์ข้อมูลกระทำ�ได้ 2 ลักษณะคือ

            6.1 	ถ้าเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวเลข การวิเคราะห์จะใช้สถิติเป็นเครื่องมือ
ช่วย เช่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบนัยสำ�คัญทางสถิติด้วย t-test F-test
เป็นต้น

            6.2 	ถ้าเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ข้อมูลที่ไม่ได้วัดออกมาเป็นตัวเลข แต่จะอยู่ในรูปการ
บรรยายสถานการณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็น หรือคุณลักษณะของสิ่งต่างๆ การวิเคราะห์ข้อมูลประเภทนี้
ส่วนมากใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)

       สิ่งที่ผู้ประเมินต้องพิจารณาในการวิเคราะห์และแปลความหมายของข้อมูล มีดังนี้
            1) เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ต้องมีความเหมาะสม สามารถทำ�ให้ได้สารสนเทศที่

สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการประเมินหลักสูตร
            2) การวิเคราะห์และแปลความหมายของข้อมูล ต้องไม่ลำ�เอียงและไม่มีอคติส่วนตัว การ

วิเคราะห์ข้อมูลในการประเมินส่วนใหญ่จะเป็นการเปรียบเทียบข้อมูลผลการประเมินกับเกณฑ์การประเมิน
ว่าสอดคล้องหรือผ่านเกณฑ์ที่กำ�หนดไว้หรือไม่ เพื่อตัดสินคุณค่าและตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตร เกณฑ์ใน
การประเมินจึงมีความสำ�คัญเพราะใช้เป็นสิ่งเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์

       7. 	รายงานผลการประเมินหลักสูตร เป้าหมายสำ�คัญของการประเมินหลักสูตรก็เพื่อนำ�สารสนเทศ
ไปใช้ประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับการปรับปรุง พัฒนา และเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่ม
เป้าหมายผู้เรียน ผู้ปกครอง หรือสังคม ขั้นตอนการรายงานผลการประเมินจึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำ�คัญ
อย่างยิ่งที่ผู้ประเมินจะต้องจัดทำ�รายงานผลการประเมินเสนอต่อผู้บริหารหรือผู้เกี่ยวข้องเพื่อการตัดสินใจ
เกี่ยวกับหลักสูตร รายงานการประเมินหลักสูตรแบ่งประเภทได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้กำ�หนด ถ้า
ใช้เกณฑ์จำ�แนกตามบทบาทของการประเมินซึ่งสคริฟเวน (Scriven, 1967) ได้แบ่งบทบาทของการประเมิน
ไว้ 2 ลักษณะ คือ การประเมินระหว่างดำ�เนินการใช้หลักสูตร (formative evaluation) ซึ่งเป็นการประเมิน
เพื่อปรับปรุงกระบวนการใช้หลักสูตร และการประเมินผลสรุปรวม (summative evaluation) เป็นการ
ประเมินเพื่อตัดสินคุณค่าของหลักสูตร จากบทบาทของการประเมินดังกล่าวนี้ รายงานการประเมินหลักสูตร
จึงอาจแบ่งได้เป็นรายงานการประเมินระหว่างดำ�เนินการใช้หลักสูตร (formative report) หรือรายงานความ
ก้าวหน้าการดำ�เนินการใช้หลักสูตร (progress report) และรายงานประเมินสรุปผลรวมหลังการใช้หลักสูตร
ครบวงจร (summative report) (Worthen and Sanders, 1987: 34)
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74