Page 68 - การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
P. 68

7-58 การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้

เรื่องท่ี 7.3.1 ขั้นตอนการดำ�เนนิ การประเมนิ หลกั สตู ร

       ในการดำ�เนินการประเมินหลักสูตรให้ประสบผลสำ�เร็จ สถานศึกษาหรือผู้ประเมินควรดำ�เนินการ
ประเมินอย่างเป็นระบบ โดยดำ�เนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้

       1. 	จดั ท�ำ โครงการประเมนิ หลกั สตู ร  กอ่ นเรมิ่ ด�ำ เนนิ การประเมนิ หลกั สตู ร สถานศกึ ษาหรอื ผปู้ ระเมนิ
จะต้องศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรที่มุ่งประเมิน และศึกษาแนวคิด ทฤษฎี รูปแบบการประเมินแล้วจัดทำ�
โครงการประเมินหลักสูตรให้ครอบคลุมชัดเจนเพื่อเป็นแผนปฏิบัติการในการประเมินหลักสูตร ซึ่งจะทำ�ให้
สถานศึกษาหรือผู้ประเมินมีความเข้าใจ มีแนวคิดและเห็นแนวทางการประเมินหลักสูตรที่ชัดเจนว่า ทำ�ไม
จึงต้องประเมินหลักสูตรนั้น ประเมินอะไรบ้าง ประเมินอย่างไร จะเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือชนิดใด
จากแหล่งข้อมูลใดบ้าง จะวิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินผลการประเมินด้วยเกณฑ์ใดรวมทั้งจะต้องดำ�เนินการ
ประเมินในช่วงเวลาใด

       2. 	ขออนุมัติโครงการประเมินหลักสูตร เพื่อให้การประเมินหลักสูตรได้รับการสนับสนุนและ
ช่วยเหลือในการดำ�เนินการจนประสบผลสำ�เร็จ ผู้ประเมินจำ�เป็นต้องเสนอโครงการประเมินหลักสูตรต่อ
ผู้บริหารหรือผู้มีอำ�นาจในการตัดสินใจเพื่อขออนุมัติให้ดำ�เนินการประเมินหลักสูตร โครงการประเมิน
หลักสูตรจึงเป็นเอกสารสำ�คัญที่จะทำ�ให้ผู้บริหารเห็นความสำ�คัญของการประเมินหลักสูตรและเมื่อมีการ
อนุมัติแล้ว โครงการประเมินหลักสูตรก็จะกลายเป็นพันธสัญญาหรือข้อตกลงในการดำ�เนินการประเมิน
หลักสูตรระหว่างผู้บริหารและผู้ประเมิน

       3. 	สร้างความเข้าใจในการประเมินหลักสูตรกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การประเมินหลักสูตร
สามารถดำ�เนินการได้ตามแผนการประเมินจนบรรลุผลสำ�เร็จ ผู้ประเมินจึงควรสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการ
ประเมินหลักสูตรให้แก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการบริหารหลักสูตร ครู
นักเรียน หรือผู้ปกครอง เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความร่วมมือและให้การสนับสนุนการประเมินหลักสูตร
โดยใช้โครงการประเมินหลักสูตรเป็นสื่อกลางในการสร้างความเข้าใจ

       4. 	พัฒนาเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนของการเตรียมจัดหาหรือจัดทำ�เครื่องมือ
เก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมิน โดยตรวจสอบว่าเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลที่ระบุไว้ในโครงการประเมิน
นั้นมีหรือยัง จะใช้เครื่องมือที่มีผู้อื่นสร้างไว้แล้วหรือจะต้องสร้างขึ้นมาใหม่ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวม
ข้อมูลจะต้องวัดได้ตรง สอดคล้อง และครอบคลุมกับประเด็นการประเมิน ตัวแปรหรือตัวบ่งชี้การประเมิน
หากเครื่องมือที่มีอยู่ไม่เหมาะสมที่จะใช้ ผู้ประเมินต้องสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลขึ้นมาใหม่ โดยจะ
ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัด เช่น ตรวจสอบด้านความเป็นปรนัย ความยาก (difficulty)
ความตรง (validity) ความเที่ยง (reliability) เป็นต้น

       เทคนิควิธีและเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินมีหลายประเภท ผู้ประเมินต้องเลือก
ใชใ้ หเ้ หมาะสม ตรงกบั การวดั ตวั แปร หรอื ประเดน็ การประเมนิ และลกั ษณะของผูใ้ หข้ อ้ มลู เชน่ แบบทดสอบ
แบบสอบถาม การสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการใช้ข้อมูลจากเอกสาร เป็นต้น
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73