Page 74 - การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
P. 74
7-64 การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
3. การนำ�เสนอผลการประเมิน มีการนำ�เสนอผลการประเมินได้สอดคล้องครบถ้วนตาม
วัตถุประสงค์และประเด็นการประเมินที่กำ�หนด โดยมีสารสนเทศครอบคลุมชัดเจนเพียงพอต่อการนำ�ไปใช้
ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุง พัฒนาหลักสูตร บริหารหลักสูตร
การจัดการเรียนการสอน และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
4. การนำ�ผลการประเมินไปใช้ ผลการประเมินหลักสูตรครั้งนี้มีความครอบคลุมชัดเจนที่
สถานศึกษาน่าจะนำ�ไปใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการพัฒนาบริหารหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนและ
การสนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนได้ดี รวมทั้งการรักษามาตรฐานการดำ�เนินงานทางวิชาการของ
สถานศึกษาได้ เพราะผลการประเมินส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์การประเมินหรืออยู่ในระดับคุณภาพที่ดี
จุดที่ควรปรับปรุง
1. การตดั สนิ ใจเลอื กใชร้ ปู แบบการประเมนิ ซปิ ควรพจิ ารณาทบทวนใหส้ อดคลอ้ งกบั หลกั การ
แนวคิดของรูปแบบที่จะต้องดำ�เนินการประเมินเพื่อให้ได้สารสนเทศให้สอดคล้องกับประเภท/ลักษณะของ
การตัดสินใจตามช่วงระยะเวลาของการดำ�เนินการเกี่ยวกับหลักสูตร กล่าวคือ การประเมินบริบทควรดำ�เนิน
ก่อนการพัฒนาหลักสูตร การประเมินปัจจัยเบื้องต้น ควรประเมินก่อนการใช้หลักสูตร ซึ่งจะได้สารสนเทศ
ประกอบการตัดสินใจเพื่อวางแผนการใช้หลักสูตร เตรียมจัดหา/ปรับปัจจัยหรือทรัพยากรในการใช้หลักสูตร
ให้มีความพร้อมหรือความพอเพียง การประเมินกระบวนการ ควรประเมินระหว่างการใช้หลักสูตรเพื่อให้ได้
สารสนเทศสำ�หรับการตัดสินใจปรับปรุง พัฒนากระบวนการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเมื่อใช้หลักสูตรครบวงจรตามกำ�หนดเวลาของหลักสูตรแล้ว จึงควรประเมิน
สัมฤทธิผลของหลักสูตรเพื่อตัดสินคุณค่าของหลักสูตร ค้นหาจุดเด่น จุดด้อยของหลักสูตรซึ่งจะนำ�ไปสู่การ
ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหลักสูตรต่อไป
2. การกำ�หนดประเด็นการประเมินหรือตัวแปรที่ศึกษาเกี่ยวกับบริบทนั้น ควรจะได้ทบทวน
ใหม่ เพราะสิ่งที่กำ�หนดว่าเป็น “บริบท” ที่ประกอบด้วย “ความนำ� วิสัยทัศน์ สมรรถนะสำ�คัญของผู้เรียน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ โครงสร้างของหลักสูตร และรายวิชาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้” นั้นมิใช่บริบท
ในความหมายตามแนวคดิ ของรปู แบบการประเมนิ ซปิ แตเ่ ปน็ องคป์ ระกอบของหลกั สตู รทีไ่ ดผ้ า่ นการก�ำ หนด
ไว้ในหลักสูตรแล้ว การประเมินส่วนนี้จึงมิใช่การประเมินบริบท แต่ควรเป็นการประเมินความเหมาะสม
ความชัดเจน หรือความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบของหลักสูตร
กรณีตัวอย่างที่ 2 เป็นรายงานการประเมินผลหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏ
พระนคร (พิชิต ฤทธิ์จรูญ และคณะ 2550) มีสาระโดยสรุป ดังนี้
วัตถุประสงค์ของการประเมิน
1. เพื่อประเมินองค์ประกอบเบื้องต้นของหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไปเกี่ยวกับจุดประสงค์
โครงสร้างของหลักสูตรและเนื้อหารายวิชา และทรัพยากรที่ใช้ในการดำ�เนินการใช้หลักสูตร
2. เพื่อประเมินสภาพการดำ�เนินการใช้หลักสูตรเกี่ยวกับการบริหารจัดการเรียนการสอน
การจดั กจิ กรรมการเรยี นการสอน การวดั และประเมนิ ผลการเรยี น รวมทงั้ ปญั หาและอปุ สรรคในการด�ำ เนนิ การ
ใช้หลักสูตร