Page 76 - การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
P. 76

7-66 การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้

                2)	 โครงสรา้ งของคณะกรรมการบรหิ ารหมวดวชิ าศกึ ษาทว่ั ไปมคี วามเหมาะสม และสามารถ
ดำ�เนินการบริหารหมวดวิชาศึกษาทั่วไปให้มีประสิทธิภาพได้ แต่ควรเพิ่มประธานสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องด้วย

                3)	คณะกรรมการบริหารยังไม่มีความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ และการปฏิบัติตาม
บทบาทหน้าที่ยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับบุคคลที่จะเป็นผู้รับผิดชอบในแต่ละรายวิชา ยังไม่ได้สร้างความเข้าใจ
ในจุดมุ่งหมายและปรัชญาของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป การจัดลำ�ดับวิชาก่อน-หลังในแต่ละภาคเรียน/ชั้นปี
ยังไม่เหมาะสม เพราะไม่ได้คำ�นึงถึงหรือไม่ได้ให้ความสำ�คัญในการเรียนตามลำ�ดับก่อนหลังที่สอดคล้องกับ
ธรรมชาติของรายวิชา

                4)	ปัญหาในการบริหารจัดการเรียนการสอน มีปัญหาในด้านการจัดอาจารย์ผู้สอนที่ยัง
ขาดความรู้และมีประสบการณ์สูง การจัดการเรียนการสอนแบบเป็นทีม การสร้างความสมดุลร่วมกันในการ
สอน การประสานงานการวัดประเมินผลการเรียน รวมทั้งปัญหาในการผลิตชุดวิชาที่ยังขาดระบบการผลิต
และการบริหารชุดวิชาที่ดี การจัดผู้เขียนชุดวิชาที่ยังไม่เหมาะสม การผลิตชุดวิชามีความล่าช้าไม่ทันต่อการ
ใช้ในการเรียนการสอน

            2.2 การจัดการเรียนการสอน สรุปได้ ดังนี้
                1) การจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอน โดยภาพรวมนักศึกษามีความพึงพอใจ

ตอ่ การจดั การเรยี นการสอนหมวดวชิ าศกึ ษาทัว่ ไปอยูใ่ นระดบั ปานกลาง โดยเหน็ วา่ อาจารยม์ คี วามเปน็ กนั เอง
กับนักศึกษา เป็นแบบอย่างที่ดีในการเรียนรู้ทางวิชาการ มีความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนและให้แนวคิด
ใหม่ๆ แก่นักศึกษา ใช้เวลาสอนที่เหมาะสมตรงตามเวลาที่สอน ให้เวลานักศึกษาได้ปรึกษา แต่นักศึกษาไม่
พึงพอใจที่อาจารย์ไม่เตรียมการสอน ไม่เต็มใจสอน ใช้วิธีสอนที่ไม่น่าสนใจ ไม่สามารถถ่ายทอดเนื้อหาวิชา
ให้นักศึกษาเข้าใจได้ ไม่เอาใจใส่ต่อนักศึกษา ทิ้งห้องเรียน ไม่เป็นกันเองกับนักศึกษา ไม่รับฟังความคิดเห็น
ของนักศึกษา และไม่ชอบอาจารย์ที่ตวาดนักศึกษา ในขณะที่อาจารย์ผู้สอนเห็นว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีความ
สนใจต่อการเรียน

                2) การใชเ้ ทคนคิ การสอนของอาจารยผ์ ูส้ อน นกั ศกึ ษามคี วามพงึ พอใจตอ่ การใชเ้ ทคนคิ
การสอนอยา่ งหลากหลายในระดบั ปานกลาง โดยเหน็ วา่ อาจารยผ์ ูส้ อนสว่ นใหญใ่ ชร้ ปู แบบวธิ สี อนแบบบรรยาย
เป็นหลัก อาจารย์ควรจะมีเทคนิคในการกระตุ้นความสนใจของนักศึกษา การดึงความสามารถของนักศึกษา
ควรทราบพื้นฐานความรู้ของนักศึกษาก่อนสอน และควรนำ�ความรู้ใหม่ๆ มาสอน

            2.3	ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอน สรุปได้ ดังนี้
                1)	ห้องเรียนมีขนาดไม่เหมาะสมกับจำ�นวนนักศึกษา จำ�นวนนักศึกษาต่อห้องเรียนมาก

เกินไป สภาพห้องเรียนบางห้องสกปรก หน้าต่างและเก้าอี้ชำ�รุด ห้องเรียนบางห้องไม่มีเครื่องปรับอากาศ
ควบคุมแสงไม่ได้ อุปกรณ์ประจำ�ห้องเรียนอยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งาน ห้องเรียนในอาคารโรงงานทั้งหมด
ไม่เหมาะสมที่จะจัดเป็นห้องเรียนสำ�หรับหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

                2)	สื่อ อุปกรณ์การเรียนมีสภาพทรุดโทรมใช้งานไม่ค่อยได้ สกปรก ชำ�รุดบ่อย ล้าสมัย
มีจำ�นวนไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้

                3)	ชุดวิชาของแต่ละรายวิชาผลิตไม่ทันเวลากับการใช้ในการเรียนการสอน โดยเฉพาะ
รายวิชาใหม่ผลิตช้ามาก ถ้าเป็นรายวิชาเก่าจะมีปัญหาในสัปดาห์แรกของการเรียน แต่ก็ยังขอใช้ไม่ได้
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81