Page 78 - การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
P. 78
7-68 การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
เรียนการสอนให้สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อและไม่เครียด มีความเป็นกันเองกับนักศึกษา มีความตรงต่อเวลาใน
การสอน มีเวลาให้นักศึกษาได้ขอรับคำ�ปรึกษาและให้คำ�แนะนำ�ช่วยเหลือเกี่ยวกับการเรียนและการพัฒนา
ตนเอง
3) คุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอนที่นักศึกษาไม่พึงพอใจ คือไม่เตรียมการสอนและไม่
เตม็ ใจสอน ใชว้ ธิ สี อนทีไ่ มน่ า่ สนใจ ไมส่ ามารถถา่ ยทอดเนือ้ หาวชิ าใหเ้ ขา้ ใจได้ สอนเนน้ เนือ้ หาไมม่ กี จิ กรรมให้
ปฏิบัติ ชอบใช้อำ�นาจมากกว่าการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ไม่ดีทำ�ให้นักศึกษา
กลัว มีอคติกับนักศึกษา ไม่เอาใจใส่และให้ความสนใจนักศึกษาไม่ทั่วถึง และทิ้งห้องเรียน
การวิพากษ์งานประเมิน
จุดเด่นของการประเมิน การประเมินหลักสูตรครั้งนี้จุดเด่นหลายประการ ดังนี้
1. ความตอ้ งการใชส้ ารสนเทศจากการประเมนิ หลกั สตู ร การประเมนิ หลกั สตู รครัง้ นีเ้ ปน็ การ
ประเมินในระหว่างที่กำ�ลังดำ�เนินการใช้หลักสูตรมาแล้ว 2 ปี ยังไม่ครบวงจรของการใช้หลักสูตรที่กำ�หนด
ไว้ให้มีการประเมินทุก 5 ปี แต่มีความจำ�เป็นที่ต้องดำ�เนินการประเมิน เนื่องจากมีการประกาศใช้หลักสูตร
หมวดวชิ าศกึ ษาทัว่ ไปใหมแ่ ละสภามหาวทิ ยาลยั ราชภฏั พระนครตอ้ งการทราบผลการใชห้ ลกั สตู รในระยะแรก
นบั วา่ เปน็ จดุ เริม่ ตน้ ทีด่ ขี องการประเมนิ หลกั สตู รทีส่ ภามหาวทิ ยาลยั ซึง่ เปน็ ผูอ้ นมุ ตั หิ ลกั สตู รตอ้ งการทราบผล
การประเมินหลักสูตรและใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ซึ่งคาดหวัง
ว่าจะมีการนำ�ผลการประเมินหลักสูตรไปใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร การ
บริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น
2. การเลือกใช้รูปแบบการประเมิน การประเมินหลักสูตรนี้ผู้ประเมินได้ประยุกต์ใช้รูปแบบ
การประเมินซิปของสตัฟเฟิลบีม และคณะ โดยประเมินองค์ประกอบเบื้องต้นของหลักสูตร ประเมิน
กระบวนการใช้หลักสูตรและประเมินสัมฤทธิผลของหลักสูตร จึงเป็นการประเมินที่มีแนวความคิดจากการ
ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินที่มีความชัดเจน
3. การออกแบบการประเมิน ผู้ประเมินได้ออกแบบการประเมินครบถ้วนทั้ง 3 องค์ประกอบ
ของการออกแบบการประเมิน กล่าวคือ (1) การออกแบบการกำ�หนดแหล่งข้อมูลหรือผู้ให้ข้อมูลสำ�คัญที่
ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป อาจารย์ผู้สอน นักศึกษา
รวมทั้งแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่เป็นผลการเรียนของนักศึกษาจากสำ�นักงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
(2) การออกแบบการวัดตัวแปรที่ศึกษาหรือประเด็นการประเมิน โดยมุ่งประเมินองค์ประกอบเบื้องต้นของ
หลักสูตรเกี่ยวกับจุดประสงค์ โครงสร้างของหลักสูตร และเนื้อหารายวิชา และทรัพยากรในการใช้หลักสูตร
สภาพการใช้หลักสูตรเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการ
เรียน รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการใช้หลักสูตร สัมฤทธิผลของหลักสูตรเกี่ยวกับผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา ซึ่งได้
กำ�หนดเครื่องมือและเทคนิควิธีเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม (3) การ
ออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูลได้กำ�หนดการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา