Page 54 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิชาอาชีพ
P. 54

11-44 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิชาอาชีพ

            2.3.10 	การประชาสมั พนั ธผ์ ลงานของผเู้ รยี น เปน็ การแสดงนทิ รรศการผลงานของผเู้ รยี น โดย
น�ำแฟ้มสะสมผลงานของผู้เรียนทุกคนมาจัดแสดงร่วมกัน และเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ผู้สอน และผู้เรียน
ทั่วไปได้เข้าชมผลงาน ท�ำให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง

            ผู้ท่ีเริ่มต้นท�ำแฟ้มสะสมผลงานอาจไม่ต้องด�ำเนินการท้ัง 10 ขั้นตอนนี้ อาจใช้ข้ันตอนหลัก ๆ
ได้แก่ การรวบรวมผลงานและการจัดระบบแฟ้ม การคัดเลือกผลงาน และการแสดงความคิดเห็นหรือความ
รู้สึกต่อผลงาน

3. 	การใช้ผลการวดั และประเมินผลการจดั ประสบการณก์ ารเรียนรู้

       การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนมีความส�ำคัญไม่เพียงเฉพาะกับผู้เรียนเท่าน้ัน ข้อมูลท่ี
ไดไ้ ม่ใช่การตัดสนิ คุณภาพผเู้ รียน แต่ในทางกลบั กัน ผู้สอนควรตระหนกั ว่าเป็นสง่ิ ท่ีสะทอ้ นถึงคณุ ภาพผูส้ อน
ว่าได้มีความรู้ความเข้าใจและออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วหรือยัง
ผู้สอนควรน�ำข้อมูลท่ีได้จากการวัดระดับคะแนนและการประเมินผลการเรียนรู้ประกอบกับบันทึกหลังสอน
มาปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้น้ันให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียนเป็น
สำ� คญั การจดั กจิ กรรมการเรยี นรอู้ าจเปน็ ไปในภาพรวมผเู้ รยี นมคี วามแตกตา่ งและมลี กั ษณะเฉพาะของแตล่ ะ
บุคคล ระดับความรู้ความเข้าใจอาจแตกต่างกันไปตามสติปัญญา ความพร้อมความคล่องแคล่วทางทักษะ
ปฏิบัติลงมือท�ำท่ีแตกต่างกันตามศักยภาพคุณลักษณะนิสัยท่ีแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมของครอบครัว
และสังคม ผู้สอนจะเป็นกลไกท่ีส�ำคัญท่ีจะต้องไม่หยุดนิ่งต้องกระตือรือร้นท่ีจะเรียนรู้น�ำข้อมูลที่ได้มา
วิเคราะห์เพ่ือปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพเพ่ือพัฒนาคุณภาพและ
ศักยภาพของผู้เรียนให้ก้าวเข้าไปเป็นประชากรที่อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขซ่ึงเป็นการพัฒนาท่ีย่ังยืน

       ดังน้ัน ผู้สอนสามารถน�ำผลจากการวัดและประเมินผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้มาใช้ในการ
พัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครอบคลุม 1) การตรวจสอบความก้าวหน้าของผู้เรียน 2) การปรับวิธี
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 3) การตัดสินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน 4) การท�ำวิจัยในช้ันเรียน และ 5) การ
ประกันคุณภาพของสถานศึกษา โดยมีรายละเอียด ดังน้ี

       3.1 	การตรวจสอบความกา้ วหนา้ ของผเู้ รียน กล่าวคือ การวัดและประเมินผลท�ำให้ได้ข้อมูลความ
ก้าวหน้าทางการเรียนของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ผู้สอนสามารถแก้ไขปัญหาการเรียนของผู้เรียนได้เป็นราย
บุคคลอย่างถูกต้อง

       3.2 	การปรบั วิธกี ารจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กล่าวคือ การวัดและประเมินผลท�ำให้ได้ข้อมูลผล
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ท่ีผู้สอนใช้ ท้ังในด้านข้อดี และข้อเสีย ผู้สอนควรน�ำข้อมูลท่ีได้มาปรับเปล่ียน
และพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากย่ิงข้ึน

       3.3 	การตดั สินผลการเรยี นรขู้ องผู้เรียน กล่าวคือ การวัดและประเมินผลท�ำให้ได้ข้อมูลผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของผู้เรียน ผู้สอนสามารถใช้ข้อมูลนี้ในการตัดสินผลการสอบผ่าน/ไม่ผ่าน หรือการตัดสินว่า
ผู้เรียนมีพัฒนาการเพ่ิมข้ึนในด้านใด และอย่างไร ข้อมูลนี้จะช่วยให้ผู้สอนพิจารณาให้ค�ำแนะน�ำ และความ
ช่วยเหลือกับผู้เรียนได้อย่างชัดเจนมากข้ึน
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59