Page 27 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิชาอาชีพ
P. 27
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สาระการอาชีพ ระดับมัธยมศึกษา 14-17
ของตน ผู้เรียนมักคาดหวังว่าสิ่งท่ีตนแสดงออกว่าสนใจ ชอบ บุคคลอ่ืนจะต้องรู้สึกเช่นน้ันด้วย และผู้เรียน
มีความคิดฝัน มีจินตนาการว่าตนเป็นคนเก่ง (hero) และมีโลกส่วนตัว (The Personal Fable)
ผู้เรียนช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 1 ช่วงอายุประมาณ 12–13 ปี ผู้เรียนอาจต้องมีการเปลี่ยนย้ายห้องเรียน
หรอื เปลยี่ นโรงเรยี นจากระดบั ประถมศกึ ษาเปน็ ระดบั ชนั้ มธั ยมศกึ ษา พบวา่ ผเู้ รยี นหญงิ มปี ญั หาเรอ่ื งการปรบั
ตัวมากกว่าในผู้เรยี นชายเน่อื งจากผเู้ รยี นทีเ่ ปน็ เดก็ หญิงเขา้ สูก่ ารเป็นวยั รนุ่ เร็วกว่าผู้เรยี นทเ่ี ป็นเดก็ ชาย ท�ำให้
มกี ารตดิ กบั กลมุ่ เพอ่ื นเดมิ มากกวา่ สง่ ผลใหผ้ เู้ รยี นหญงิ มคี วามเครยี ด มคี วามเปราะบางเกยี่ วกบั สมั พนั ธภาพ
ระหว่างเพื่อนมากกว่าผู้เรียนชาย ท�ำให้มีผลกระทบต่อการเรียนได้ (Papalia and Olds, 1995)
ผู้เรียนช่วงอายุประมาณ 17–19 ปี เป็นช่วงปรับเปล่ียนการเรียนในระดับมัธยมศึกษาสู่การเรียน
ระดับอุดมศึกษา ผู้เรียนท้ังหญิงและชายมักมีปัญหาเรื่องการปรับตัวเรื่องการเรียน เรื่องเพื่อนเพศเดียวกัน
และเพื่อนต่างเพศ ท�ำให้มีความเครียดส่งผลให้การเรียนตกตํ่าลงได้ และในผู้เรียนบางกลุ่มมีพฤติกรรมชอบ
ฝ่าฝืนกฎระเบียบ ไม่ท�ำตามกฎเกณฑ์ของสังคม ไม่ชอบเข้าเรียน ชอบก่อกวน อาจเนื่องจากผู้เรียนอาจมี
ปัญหาเร่ืองสัมพันธภาพในครอบครัวหรืออิทธิพลกลุ่มเพ่ือน ส่งผลให้การเรียนตกตํ่าลงได้เช่นกันและอาจ
ท�ำให้เกิดการสูญเสียความภาคภูมิใจในตนเอง มีปัญหาทางอารมณ์ตามมา เช่น อับอายเพื่อนฝูง ครู อาจารย์
และถูกแรงกดดันจากพ่อแม่อีกด้วย (ศรีเรือน แก้วกังวาล, 2539)
1.4 รปู แบบการเรยี นรขู้ องผเู้ รยี น (Learning style) ผู้สอนควรทราบว่าผู้เรียนที่อยู่ในชั้นเรียนที่ตน
ดูแลรับผิดชอบอยู่นั้นมีรูปแบบการเรียนรู้แบบใด โดยการส�ำรวจรูปแบบการเรียนรู้ในช่วงต้นปีการศึกษา
ซ่ึงอาจจัดเก็บข้อมูลพร้อมกับการส�ำรวจข้อมูลส่วนตัวของผู้เรียนแล้วบันทึกไว้ในระเบียนสะสม นักจิตวิทยา
ที่ศึกษารูปแบบการเรียนรู้หรือรูปแบบการเรียนรู้ของมนุษย์พบว่า มนุษย์สามารถรับข้อมูลโดยผ่านเส้นทาง
การรับรู้ 3 ทาง คือ การรับรู้ทางสายตาโดยการมองเห็น (Visual preceptors) การรับรู้ทางโสตประสาทโดย
การได้ยิน (Auditory preceptors) และการรับรู้ทางร่างกายโดยการเคล่ือนไหวและการรู้สึก (Kinesthetic
preceptors) ซ่ึงได้กล่าวถึงในเร่ืองที่ 13.1.3 แล้ว จะไม่กล่าวถึงรายละเอียดในท่ีน้ี
1.5 ความพรอ้ มดา้ นสอื่ และบรบิ ทของโรงเรยี น ผสู้ อนควรทราบวา่ โรงเรยี นมสี อ่ื อะไรบา้ ง ทส่ี ามารถ
น�ำมาใช้ประกอบการสอนสาระการอาชีพได้ สภาพของสื่อเป็นอย่างไร จ�ำนวนส่ือแต่ละชนิดมีเท่าไร หาก
โรงเรียนมีส่ือหลากหลายชนิด ผู้สอนควรทราบว่าควรใช้สื่อชนิดใดจึงจะเหมาะสมท่ีจะน�ำมาใช้ในการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้สาระการอาชีพ นอกจากน้ีบริบทของโรงเรียน เช่น สภาพของสังคม วัฒนธรรม
ความตอ้ งการของทอ้ งถนิ่ ยงั เปน็ อกี ปจั จยั หนงึ่ ทม่ี คี วามสำ� คญั ในการพจิ ารณาวา่ จะจดั ประสบการณก์ ารเรยี นรู้
สาระการอาชีพแบบใด เช่น โรงเรียนตั้งอยู่ในจังหวัดแม่จันทบุรีพื้นท่ีส่วนใหญ่ท�ำสวนปลูกทุเรียน ผู้เรียน
ส่วนใหญ่เป็นบุตรหลานของเกษตรกรที่ประกอบอาชีพปลูกทุเรียน ซึ่งต้องการจะให้ผู้เรียนช่วยดูแล
การเพาะปลูกของครอบครัวได้ โรงเรียนก็ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท่ีส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ
เก่ียวกับการเพาะปลูกพืชสวน แต่หากโรงเรียนตั้งอยู่ในเขตการท�ำประมง ผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นบุตรหลาน
ของชาวประมงซ่ึงต้องการให้บุตรหลานของตนมีความรู้เก่ียวกับการประมง โรงเรียนก็ควรก�ำหนดหลักสูตร
และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชน เป็นต้น