Page 28 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 28
13-18 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
มีทนุ การศกึ ษา 2 ประเภท คอื ทุนการศึกษาที่จบมาเพอ่ื สอนในระดับมัธยมศกึ ษาตอนปลายในโรงเรยี นสงั กดั
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ท่ีมีห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ เป็นล�ำดับแรก และ
ทุนการศึกษาที่จบมาเพ่ือสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล 500 โรงเรียน หรือในโรงเรียนของ สพฐ. ที่ใช้ภาษา
อังกฤษในการสอน (English Program: EP) เป็นล�ำดับแรก (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี (สสวท.), 2556)
2. ความพร้อมและความเขม้ แขง็ ของสถาบนั ผลติ ครู
การผลิตครูในปัจจุบันอยู่ภายใต้กรอบของการก�ำหนดมาตรฐานวิชาชีพครูโดยคุรุสภาและกรอบ
มาตรฐานคณุ วุฒกิ ารศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) ในความรับผดิ ชอบของส�ำนักงานคณะกรรมการ
การอุดมศึกษา ซึ่งมีสถาบันผลิตครูมากกว่า 70 แห่งทั่วประเทศ ความพร้อมและความเข้มแข้งของสถาบัน
การผลิตครูเป็นสิ่งส�ำคัญท่ีจะท�ำให้ครูมีคุณภาพและเป็นวิชาชีพช้ันสูงได้จริง ความพร้อมและความเข้มแข็ง
ของสถาบันการผลิตครูขึ้นอยู่กับปัจจัยส�ำคัญต่อไปน้ี 1) การสรรหาคนเข้าเรียนวิชาชีพครู 2) การพัฒนา
คณาจารย์ทางครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ และ 3) การปฏิรูปการเรียนการสอนสถาบันผลิตครู
1) การสรรหาคนคนเข้าเรียนวิชาชีพครู สถาบันการผลิตครูจะมีความเข้มแข็ง ข้ึนอยู่กับปัจจัยท่ี
ป้อนเข้าท่ีมีคุณภาพ ปัจจัยที่ป้อนเข้าประการหนึ่ง คือ นักศึกษา ท�ำอย่างไรจึงจะได้คนเก่งและคนดีมาเรียน
ครู โครงการสรรหาคนดี คนเก่ง มาเรียนครูได้กระท�ำอยู่แล้ว เช่น โครงการคุรุทายาท โครงการเพชรในตม
และ โครงการ สควค. เป็นต้น สิ่งท่ีต้องกระท�ำต่อไปนี้ คือ จัดระบบสรรหาและคัดเลือกคนมาเรียนครู อาจ
อยู่ในรูปของสถาบันผลิตครูแต่ละแห่งสอบคัดเลือกเองและรับเข้าศึกษาตามสัดส่วนที่ตกลงร่วมกันระหว่าง
สถาบันและมีการสอบวัดความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ ในกรณีการสรรหา อาจท�ำในรูปการให้ทุน
การศึกษาโดยกลั่นกรองมาจากระดับจังหวัดสู่ระดับส่วนกลาง และสร้างแรงจูงใจโดยการบรรจุต�ำแหน่ง
ณ ภูมิล�ำเนา หรือพ้ืนท่ีจังหวัดใกล้เคียง
2) การพัฒนาคณาจารย์ทางครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ คณาจารย์ในสถาบันผลิตครูเป็นผู้จัด
ประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาครู ดังน้ัน คณาจารย์จึงต้องได้รับการพัฒนาท้ังด้านวิชาการ คุณธรรม
และจริยธรรมอย่างต่อเน่ือง การพัฒนาคณาจารย์กระท�ำได้ดังน้ี
(1) ส่งเสริมให้คณาจารย์รวมกลุ่มกันท�ำวิจัยและเผยแพร่ผลงานการสร้างองค์ความรู้ใหม่
เกี่ยวกับปรัชญาการศึกษา หลักสูตรและการสอน การประเมินผลการศึกษา จิตวิทยาและเทคโนโลยีทาง
การศึกษา
(2) สง่ เสรมิ ใหค้ ณาจารยพ์ ฒั นาตนเองอยา่ งตอ่ เนอื่ ง โดยการศกึ ษาตอ่ ระดบั สงู การเขา้ ประชมุ
สัมมนาทางวิชาการท้ังในและต่างประเทศ การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและประสบการณ์ รวมท้ังให้มี
สมาคมทางวิชาชีพ
(3) ใหช้ มุ ชนเขา้ มามสี ว่ นรว่ มในการพฒั นาคณาจารย์ การใหช้ มุ ชนเขา้ มามสี ว่ นรว่ มอาจกระทำ�
ในลักษณะสร้างเครือข่าย ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันผลิตครูกับชุมชนและหน่วยงานที่ใช้ครู เช่น การจัด
ท�ำโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู