Page 34 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 34
13-24 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
เรอื่ งที่ 13.2.1 ค วามหมายความสำ� คญั และประเภทของสมรรถนะครู
การยกระดับมาตรฐานครใู หเ้ ปน็ วชิ าชพี ชั้นสูง รวมทั้งการก�ำหนดมาตรฐานวิชาชีพครูเป็นวธิ ีการหนง่ึ
ที่จะผลักดันให้เกิดคุณภาพของการจัดการศึกษาที่เป็นไปตามที่คาดหวัง ครูถือว่ามีส่วนส�ำคัญอย่างมากต่อ
การพัฒนาผู้เรียน นอกจากการก�ำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ครูจึงต้องมีคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมในการ
ทำ� งานในสายอาชพี ครทู ท่ี ำ� ใหเ้ กดิ ผลสำ� เรจ็ ของการจดั การเรยี นการสอนทม่ี ปี ระสทิ ธภิ าพ สง่ ผลตอ่ ผลสมั ฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียนให้เป็นไปตามมาตรฐาน และส่งผลต่อคุณภาพของการจัดการศึกษาในโรงเรียน
คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมในการท�ำงานของครู คือ สมรรถนะครู น่ันเอง
1. ความหมายของสมรรถนะครู
สมรรถนะหรือขีดความสามารถ (Competency) เป็นแนวคิดเกิดขึ้นในช่วงต้นของศตวรรษท่ี 1970
โดยนักวิชาการชื่อเดวิด แมคเคลแลนด์ (David McClelland) ท่ีท�ำการศึกษาวิจัยเพื่อตอบค�ำถามว่าเหตุใด
แต่ละคนจึงประสบผลส�ำเร็จในการทำ� งานแตกต่างกัน โดยพบวา่ ในบุคลากรทีม่ ผี ลการปฏิบตั งิ านดขี องแต่ละ
บุคคลจะมีส่ิงหน่ึงที่เรียกว่า สมรรถนะ (จิรประภา อัครบวร, 2549: 58) โดยอาจกล่าวได้ว่า สมรรถนะเป็น
คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่ส่งผลให้การปฏิบัติงานเกิดผลงานท่ีโดดเด่นประสบความส�ำเร็จ จึงเกิดแนวคิด
ของการศึกษาสมรรถนะและการประเมินสมรรถนะในการท�ำงานของแต่ละอาชีพแต่ละต�ำแหน่ง
ส�ำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (2547ก) ได้ก�ำหนดนิยามของสมรรถนะว่าเป็น
“คณุ ลกั ษณะเชงิ พฤตกิ รรมทเ่ี ปน็ ผลมาจากความรู้ ทกั ษะ/ความสามารถ และคณุ ลกั ษณะอนื่ ๆ ทท่ี ำ� ใหบ้ คุ คล
สามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นในองค์กร” กล่าวคือ การท่ีบุคคลจะแสดงสมรรถนะใดสมรรถนะหน่ึงได้ มัก
จะต้องมีองค์ประกอบท้ังความรู้ ทักษะ/ความสามารถ และคุณลักษณะอ่ืน ๆ สมรรถนะเป็นกลุ่มพฤติกรรม
ที่องค์กรต้องการจากบุคลากรในองค์กร เพราะเช่ือว่าหากบุคลากรมีพฤติกรรมการท�ำงานในแบบท่ีองค์กร
กำ� หนดแล้ว จะสง่ ผลให้บคุ ลากรนั้นมีผลการปฏิบตั งิ านดี และสง่ ผลให้องคก์ รบรรลุเป้าประสงค์ท่ีต้องการไว้
จี เปอร์มอน (G.Shermon) (อ้างถึงในพิมพันธ์ เดชะคุปต์, 2551: 2) กล่าวว่า สมรรถนะ มีความ
หมาย 2 ลักษณะ คือ ความสามารถของบุคคลในการท�ำงานท่ีตนรับผิดชอบอย่างมีประสิทธิภาพ และ
คุณลักษณะที่บุคคลจ�ำเป็นต้องมีเพ่ือให้การท�ำงานที่ตนได้รับมอบหมายประสบความส�ำเร็จ
ประจักษ์ ทรัพย์อุดม (2550: 3) ได้ให้ความหมายของ ค�ำว่า สมรรถนะ ไว้ว่า คือ ความรู้
(Knowledge) ทักษะ (Skill) และคุณลักษณะส่วนบุคคล (Personal Characteristic of Attributes)
ท่ีส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรม (Behavior) ที่จ�ำเป็นและมีผลให้บุคคลนั้นปฏิบัติงานในความรับผิดชอบ
ของตนได้ดีกว่าบุคคลอื่น
ดังนั้น สมรรถนะโดยท่ัวไป หมายถึง กลุ่มพฤติกรรมของบุคคลท่ีแสดงออกและส่งผลต่อการ
ปฏิบัติงานในต�ำแหน่งหน้าที่ที่รับผิดชอบ มีองค์ประกอบท่ีเกี่ยวข้อง คือ ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะส่วน