Page 36 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 36
13-26 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
ในสว่ นของการพฒั นาบคุ ลากรนน้ั แนวคดิ เรอื่ งสมรรถนะนม้ี แี นวคดิ พนื้ ฐานมาจากการมงุ่ เสรมิ สรา้ ง
ความสามารถให้ทรัพยากรบุคคล โดยมีความเชื่อว่าเมื่อพัฒนาคนให้มีความสามารถแล้ว คนจะใช้ความ
สามารถที่มีไปผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย ดังนั้นการน�ำเรื่องสมรรถนะมาใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
จึงควรมุ่งพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์กรเป็นหัวใจส�ำคัญ ต้องมีการพิจารณาว่าบุคคลในองค์กรมีความ
สามารถอย่างไร จึงจะท�ำให้องค์กรเหนือกว่าคู่แข่งและบรรลุเป้าหมายท่ีตั้งไว้
จะเห็นได้ว่าสมรรถนะน้ันมีความส�ำคัญต่อการปฏิบัติงานของบุคคล การด�ำเนินงานขององค์กรและ
มีบทบาทส�ำคัญต่อการบริหารงานบุคคลขององค์กร โดยท่ีสมรรถนะมีผลท�ำให้การด�ำเนินภารกิจบรรลุความ
สำ� เร็จ ตามเปา้ หมายทีต่ ้งั ไว้อยา่ งมีประสทิ ธิภาพ ดงั น้นั สมรรถนะครจู ึงมคี วามส�ำคัญต่อครู สถานศึกษา และ
การบริหารในด้านการพัฒนาครูในสถานศึกษา จึงสรุปได้ดังน้ี
1) การเลือกสรรเพื่อให้ได้ครูท่ีมีความสามารถเหมาะสมกับสถานศึกษาและงานของครู
2) การเล่ือนระดับ ปรับต�ำแหน่งงาน ให้มีความชัดเจนย่ิงข้ึน
3) การพัฒนาฝึกอบรม ความสามารถของครูให้สอดคล้องต�ำแหน่งและงานครูแต่ละคน
4) การเพิ่มประสิทธิภาพในการประเมินผลการปฏิบัติงานของครู
5) การบริหารผลงาน
6) การบริหารคนเก่ง
7) การโยกย้ายสับเปลี่ยนต�ำแหน่งหน้าที่การงาน
8) การพัฒนาความก้าวหน้าสายอาชีพครู
จากความส�ำคัญข้างต้น สมรรถนะครูเป็นสิ่งจ�ำเป็นอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงานในวิชาชีพครูให้บรรลุ
ผลอย่างมีประสิทธิภาพขององค์กรในยุคปฏิรูปการศึกษา
3. ประเภทของสมรรถนะครู
ส�ำนักพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา (2553) ได้ก�ำหนดประเภทของสมรรถนะครู
ที่จะใช้ในการประเมินการปฏิบัติงานของครู และบุคลากรทางการศึกษา 3 ประเภท ดังน้ี
3.1 สมรรถนะหลกั (Core competency) เป็นสมรรถนะร่วมท่ีครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน
ต้องมี เพราะเป็นพื้นฐานส�ำคัญท่ีจะส่งผลให้การปฏิบัติงานในหน้าที่ประสบความส�ำเร็จ ประกอบด้วย
สมรรถนะ 4 ด้าน ดังรายละเอียดต่อไปน้ี
1) การมุ่งสัมฤทธ์ิ หมายถึง ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตนในหน้าที่ให้มีคุณภาพ ถูกต้อง
ครบถว้ น สมบรู ณ์ มคี วามคดิ รเิ รม่ิ สรา้ งสรรค์ และมกี ารพฒั นาผลงานใหม้ คี ณุ ภาพอยา่ งตอ่ เนอื่ ง ไดแ้ ก่ ความ
สามารถในการวางแผนปฏิบัติงาน ความสามารถในการปฏิบัติงาน และการปฏิบัติงาน
2) การบริการที่ดี หมายถึง ความต้ังใจในการปรับปรุงระบบบริการให้มีประสิทธิภาพเพ่ือ
ตอบสนองของผู้รับบริการ ได้แก่ ความสามารถในการสร้างระบบการให้บริการ ความสามารถการให้บริการ
3) การพัฒนาตนเอง หมายถึง การศึกษาคน้ คว้าหาความรู้ ตดิ ตามองคค์ วามรู้ และเทคโนโลยี
ใหม่ ๆ ในวงวิชาการ และวิชาชีพ เพ่ือพัฒนาตนเองและพัฒนางาน ได้แก่ ความสามารถในการวิเคราะห์ท่ี