Page 45 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 45
มาตรฐานวิชาชีพครูและสมรรถนะครู 13-35
เร่ืองที่ 13.3.1 แนวคดิ เก่ยี วกบั การประเมนิ สมรรถนะครู
การประเมินสมรรถนะของแต่ละองค์กร แต่ละวิชาชีพ รวมท้ังวิชาชีพครู ทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศ เป็นเครื่องมือที่องค์กรน้ัน ๆ น�ำมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรที่ใช้สมรรถนะ
เป็นพ้ืนฐาน (competency-based human resource management) โดยการน�ำสมรรถนะมาใช้ในการ
บริหารงานทรัพยากรบุคคลนั้น จะส่งผลให้องค์กรได้บุคลากรท่ีสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพ ตรง
ตามเป้าหมายขององค์กร พัฒนาบุคลากรในองค์กรได้อย่างเป็นระบบ ส�ำหรับแนวคิดเกี่ยวกับการประเมิน
สมรรถนะครูจะมีแนวคิดเช่นเดียวกับการประเมินสมรรถนะของวิชาชีพอื่น ๆ แต่มีความแตกต่างกันใน
รายละเอียด ในท่ีน้ีจะกล่าวถึง ความหมายและลักษณะการประเมินสมรรถนะครู ผู้รับผิดชอบการประเมิน
สมรรถนะครู และความส�ำคัญของการประเมินสมรรถนะครู
1. ความหมายและลักษณะการประเมนิ สมรรถนะครู
การประเมินสมรรถนะ หมายถึง กระบวนการตัดสิน ตีค่า สมรรถนะท่ีประกอบด้วยความรู้ ความ
สามารถ ทักษะ และพฤติกรรมการท�ำงานของบุคคลในขณะนั้นเปรียบเทียบกับระดับสมรรถนะท่ีองค์กร
คาดหวงั ในตำ� แหนง่ งานนน้ั ๆ วา่ ไดต้ ามทคี่ าดหวงั หรอื มคี วามแตกตา่ งกนั มากนอ้ ยเพยี งใด ดงั นนั้ การประเมนิ
สมรรถนะครู หมายถึง กระบวนการตัดสิน ตีค่า หาคุณภาพของสมรรถนะด้านความรู้ ความสามารถ
เจตคติ และบุคลิกลักษณะของครูท่ีแสดงออกเพ่ือเปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่ก�ำหนด (ปราณี
สังขะตะวรรธน์, 2550) ส�ำหรับการประเมินสมรรถนะครูนั้นอาศัยแนวคิดจากการประเมินสมรรถนะในการ
ท�ำงาน ซ่ึงการน�ำสมรรถนะครูมาใช้ในการพัฒนาครู จะส่งผลครูสามารถปฏิบัติงานท่ีเกี่ยวข้องกับการเรียน
การสอนได้อย่างมีคุณภาพ โดยผลของการประเมินสมรรถนะครูจะเป็นข้อมูลในการพัฒนาครูรายบุคคลให้
สอดคล้องกับความต้องการและเป้าหมายของกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งส่งผลต่อครูในการเล่ือนวิทยฐานะ
และความก้าวหน้าในวิชาชีพครูอีกด้วย
การประเมินสมรรถนะโดยท่ัวไป ควรมีลักษณะดังนี้ (ขจรศักดิ์ ศิริมัย, 2554ก)
1) เป็นการประเมินอย่างเป็นระบบ (systematic) หมายถึง การประเมินสมรรถนะที่มีขั้นตอน
การประเมิน วิธีการประเมินท่ีชัดเจน และมีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น
การพัฒนาบุคลากรเพ่ือความก้าวหน้าในอาชีพ การจ่ายค่าตอบแทน รวมท้ังการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร
เป็นต้น
2) มีวัตถุประสงค์ในการประเมินอย่างชัดเจน (objective) โดยท่ัวไปวัตถุประสงค์ของการประเมิน
สมรรถนะในการท�ำงาน ได้แก่ เพื่อให้มองเห็นสภาพของปัญหาและอุปสรรคในการท�ำงาน น�ำมาเป็นข้อมูลที่
ใช้ในการพัฒนาบุคลากรหรือปรับปรุงงาน และพัฒนาองค์กร เพ่ือให้บรรยากาศในการท�ำงานร่วมกันของ