Page 46 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 46

13-36 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู

บุคลากรเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และร่วมกันพัฒนาองค์กรให้บรรลุตามเป้าหมาย และเพ่ือเป็นส่วนหน่ึงของ
การพิจารณาความดีความชอบประจ�ำปีของพนักงาน

       3)	 เป็นกระบวนการที่สามารถวัดประเมินได้ (measurable)
       4)	 เป็นการประเมินที่มีความเท่ียง (validity) และความเช่ือถือได้ (reliability)
       การประเมินสมรรถนะครูมีลักษณะเดียวกับการประเมินสมรรถนะโดยท่ัวไป (ส�ำนักพัฒนาครู
คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2553) กล่าวคือ มีการประเมินสมรรถนะอย่างเป็นระบบ
อย่างมีข้ันตอน มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการในส่วนอ่ืน ๆ ท่ีเก่ียวข้อง ได้แก่ การพัฒนาการครู ความ
ก้าวหน้าทางวิชาชีพ มาตรฐานวิชาชีพ และการเล่ือนวิทยฐานะ โดยการประเมินสมรรถนะครูเป็นรายบุคคล
เป็นส่วนหนึ่งของโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ (Upgrading Teacher Qualification Through
The Whole System: UTQ) ตามแนวคิดของส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน ที่ว่า ระบบ
บริหารงานบุคคลท่ีมีประสิทธิภาพจ�ำเป็นต้องมีฐานข้อมูล เพื่อการบริหารอย่างเพียงพอตอบสนองต่อ
การตัดสินใจ และก�ำหนดโยบาย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีฐานข้อมูลหลักของครูในเชิงลึกเป็น
รายบุคคลอย่างสมบูรณ์เป็นปัจจุบัน เพ่ือเป็นข้อมูลในเชิงบริหารทรัพยากรบุคคลทั้งระบบได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ มีฐานข้อมูลหลักที่เป็นเครื่องมือในการบริหารงานบุคคลในระดับส�ำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ดังน้ัน การประเมินสมรรถนะครูในปัจจุบันจึงมี
วตั ถปุ ระสงคท์ ช่ี ดั เจนวา่ เพอื่ ประเมนิ สมรรถนะในการปฏบิ ตั งิ านของครผู สู้ อนและผบู้ รหิ ารสถานศกึ ษา สงั กดั
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และใช้เป็นฐานข้อมูลในการก�ำหนดกรอบการพัฒนาสมรรถนะ
ครรู ายบคุ คลตามนโยบายพฒั นาครทู งั้ ระบบ การประเมนิ สมรรถนะครดู งั กลา่ วเปน็ การประเมนิ ทม่ี เี ครอ่ื งมอื วดั
ประเมินสมรรถนะที่มีความเท่ียงและน่าเช่ือถือ เนื่องจากเป็นเคร่ืองมือประเมินที่พัฒนาโดยเครือข่ายทาง
วิชาการ กลุ่มเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา และสถาบันที่เก่ียวข้องกับวิชาชีพครู
       นอกจากนี้ การประเมนิ สมรรถนะครูจะต้องมคี วามเขา้ ใจทต่ี รงกนั ของทุกฝา่ ยในองค์กร ทง้ั ในระดบั
ผู้บริหารและระดับบุคลากร จึงมีความจ�ำเป็นที่จะต้องมีการประชุมชี้แจงท�ำความเข้าใจถึงแนวคิด ที่มาของ
การประเมินและแบบประเมิน ตลอดจนวิธีการประเมิน เพ่ือให้ครูทุกคนได้ท�ำความเข้าใจ ตอบข้อซักถาม
ต่าง ๆ เพ่ือให้เกิดการประเมินท่ีถูกต้อง

2. 	ผูร้ บั ผดิ ชอบการประเมนิ สมรรถนะคร	ู

       ในการประเมินสมรรถนะของบุคลากรน้ัน องค์กรหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องพิจารณาว่าจะ
ให้ใครเป็นผู้ท่ีรับผิดชอบประเมินสมรรถนะ ทั้งน้ีข้ึนอยู่กับความเหมาะสม ความพร้อม และวัฒนธรรมของ
องค์กร เป็นต้น ผู้ที่สามารถประเมินสมรรถนะได้โดยทั่วไป ได้แก่ 1) ผู้บังคับบัญชาขั้นต้น (immediate
supervisor) ทางการศึกษาในระดับสถานศึกษาจะหมายถึงผู้อ�ำนวยการโรงเรียน 2) ผู้ใต้บังคับบัญชา
(subordinates) หมายถึง บุคลากรในโรงเรียน 3) เพื่อนร่วมงาน (peers) หมายถึง เพื่อนครูในสถานศึกษา
เดียวกันหรือต่างสถานศึกษา 4) ประเมินตนเอง (self-assessment) หมายถึง ตัวครู 5) ประเมินโดยลูกค้า
(customer assessment) ทางการศึกษา หมายถึง นักเรียน 6) ประเมินโดยคณะกรรมการ (committee)
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51