Page 48 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 48

13-38 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู

       2)	 ความก้าวหน้าในวิชาชีพของครู โดยทั่วไปสมรรถนะที่ถูกก�ำหนดเป็นมาตรฐานเป็นประโยชน์
ส�ำหรับเป็นฐานในการประเมินและให้รางวัล (as a basis for assessment and reword) เช่นเดียวกัน
กระทรวงศึกษาธิการมุ่งเน้นการส่งเสริมให้ครูมีความม่ันคงในวิชาชีพ เน้นปรับกระบวนทัศน์ในการพัฒนาครู
โดยเชื่อมโยงกับการประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพของครู (ความรู้ ความสามารถ) โดยก�ำหนดให้คณะ-
กรรมการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ที่รับผิดชอบด้านการประเมินเพื่อขอมีหรือวิทยฐานะ โดย
ค�ำนึงถึงความประพฤติคุณภาพการปฏิบัติงาน (สมรรถนะ) และผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าท่ี ดังน้ัน
การประเมินสมรรถนะครูจะมีความส�ำคัญต่อครูในการเล่ือนวิทยฐานะ เป็นความก้าวหน้าในวิชาชีพครู

       3)	 การออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็นหลักฐานแสดงคุณสมบัติ
ความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน และการปฏิบัติตนของผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพครู การประเมิน
สมรรถนะครูมีความส�ำคัญต่อการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่คุรุสภาก�ำหนดไว้ว่า การขอต่อใบ
อนุญาตประกอบวิชาชีพหรือมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ครูจะต้องมีการพัฒนามาจากการตอบสนองต่อผล
การประเมินสมรรถนะครู

       4)	 การพัฒนาตนเองของครู ผลการประเมินสมรรถนะย่อย ๆ และผลรวมของสมรรถนะหรือ
ศักยภาพของครูจะมีความส�ำคัญต่อตัวครูในการพัฒนาตนเอง ดังต่อไปน้ี

            (1) 	ครูสามารถตรวจสอบความสามารถท่ีแท้จริงของตนเองว่ามีสมรรถนะในการปฏิบัติงานใน
แต่ละเรื่องอยู่ในระดับใด

            (2)	 ครูจะมีข้อมูลส�ำหรับการพัฒนาตนเองให้เป็นไปในทิศทางท่ีสถานศึกษาหรือหน่วยงาน
ทางการศึกษาต้องการ

            (3)	ครูสามารถจัดท�ำแผนพัฒนาตนเอง (Individual Plan หรือ IDP) และแผนพัฒนาความ
ก้าวหน้าในวิชาชีพ (career path) บนพื้นฐานของข้อมูลท่ีเช่ือถือได้

            (4)	 ครูจะมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเองให้มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพื่อให้ได้ผลงาน
ที่มีประสิทธิภาพประโยชน์ต่อองค์การ

       5)	 คุณภาพสถานศึกษาและการพัฒนาผู้เรียน ผลการประเมินสมรรถนะครูในสถานศึกษาแต่ละ
แห่งจะสะท้อนถึงคุณภาพของสถานศึกษาในด้านการจัดการเรียนการสอนของครูและการพัฒนาผู้เรียนของ
สถานศึกษานั้น เนื่องจากครูที่มีสมรรถนะที่ดีย่อมสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและ
พัฒนาผู้เรียนได้ตามศักยภาพ ผลจากการประเมินสมรรถนะย่อย ๆ และสมรรถนะรวมหรือศักยภาพมีความ
ส�ำคัญในด้านการวางแผนการพัฒนาครู เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและผู้เรียน รวมทั้งการประเมิน
สมรรถนะครูจะท�ำให้ผู้บริหารสถานศึกษา มีความเข้มแข็ง มีความคล่องตัวและมีความยืดหยุ่นในการท�ำงาน
สามารถปรบั ตวั ไดก้ บั สภาพแวดลอ้ มใหเ้ หน็ ถงึ ความสามารถของครู ผลการประเมนิ สามารถนำ� มาใชป้ ระโยชน์
ในการพัฒนาครูในสถานศึกษา ดังน้ี

            (1)	 สถานศึกษาหรือหน่วยงานสามารถวางแผนด�ำเนินการพัฒนาบุคลากรได้ตรงกับความ
ต้องการและความจ�ำเป็นของครูเป็นภาพรวมของครูท้ังโรงเรียน
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53