Page 51 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 51

มาตรฐานวิชาชีพครูและสมรรถนะครู 13-41

       4)	 ประเมินโดยการสัมภาษณ์ (interview) เป็นเทคนิคที่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ประเมินท�ำการ
สัมภาษณ์ผู้ใต้บังคับบัญชาตามสมรรถนะท่ีก�ำหนด และประเมินว่าเขามีสมรรถนะอยู่ระดับใด การใช้เทคนิค
นี้มีข้อจ�ำกัด คือ ต้องใช้เวลามากในกรณีที่มีผู้ใต้บังคับบัญชามากต้องเสียเวลามาก วิธีการนี้เหมาะส�ำหรับใช้
ในการสัมภาษณ์เพ่ือเล่ือนต�ำแหน่งงาน หรือสัมภาษณ์คนเข้าท�ำงาน เป็นต้น

       5)	 การประเมินโดยใช้แบบสอบถาม (rating scale) เป็นเทคนิคการประเมินสมรรถนะท่ี สร้าง
แบบประเมินโดยใช้มาตราส่วนประมาณค่า ซ่ึงแบบประเมินพฤติกรรมน้ีสร้างได้หลายแบบ แบบท่ีนิยมกัน
แพร่หลาย ได้แก่ แบบประเมินที่ใช้ความถ่ีหรือปริมาณก�ำหนดระดับ (Likert scale)

       6)	 การประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงาน (Behaviorally Anchored Rating Scale: BARS)
เป็นเทคนิคการประเมินสมรรถนะท่ีมุ่งประเมินพฤติกรรมหลักที่คาดหวัง (key result areas) ในสมรรถนะ
ตัวน้ัน ๆ โดยแบ่งช่วงการให้คะแนนของแต่ละพฤติกรรมที่แสดงออกระหว่าง 1-9 ช่วงตามแนวดิ่งลงมา
ส�ำหรับผู้ประเมินอาจเป็นได้ท้ังผู้บังคับบัญชา เพ่ือนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย
เพื่อประเมินสมรรถนะของบุคลากร

       7)	 ประเมินแบบ 360 องศา (360 evaluation) การประเมินสมรรถนะแบบน้ี เป็นการประเมินโดย
ใช้เครื่องมือท่ีเป็นแบบสอบถาม (rating scale) หรือแบบประเมินจากพฤติกรรม การปฏิบัติงาน โดยให้ผู้ท่ี
เกี่ยวข้องกับผู้ถูกประเมินเป็นผู้ประเมินสมรรถนะ เช่น ผู้บังคับบัญชา เพ่ือนร่วมงาน ลูกน้อง ลูกค้า เป็นต้น
และเม่ือทุกคนประเมินเสร็จแล้วก็หาข้อสรุปว่าผู้ถูกประเมินมีสมรรถนะอยู่ในระดับใด ข้อดีของการประเมิน
แบบนี้ก็คือ การประเมินโดยบุคคลหลายคนหลายระดับท�ำให้มีหลายมุมมอง ลดอคติจากการประเมินโดย
บุคคลคนเดียว ข้อจ�ำกัดของการประเมินแบบนี้ คือ มีภาระเอกสารจ�ำนวนมาก บางครั้งผู้ประเมินมีความ
เกรงใจท�ำให้ประเมินสูงกว่าความเป็นจริง หรือเกิดพฤติกรรมฮ้ัวซ่ึงกันและกัน เป็นต้น

       8)	 การประเมนิ แบบศนู ยท์ ดสอบ (assessment center) เป็นเทคนิคการประเมินที่ใช้ เทคนิคหลายๆ
วิธีร่วมกันและใช้บุคคลหลายคนร่วมกันประเมิน เช่น แบบสอบถาม การสังเกต พฤติกรรม การสัมภาษณ์
การทดสอบ การใช้แบบวัดทางจิตวิทยา กรณีศึกษา เป็นต้น ข้อดีของการประเมินแบบน้ี คือ ผลการประเมิน
มีความเที่ยงและความเช่ือถือได้สูงเพราะใช้เทคนิคหลายวิธีร่วมกัน ใช้คนหลายคนช่วยกันประเมิน ส่วนข้อ
จ�ำกัดก็คือ ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ใช้เวลามาก เป็นต้น

2.	 วธิ ีการประเมินสมรรถนะครูการศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน

       โดยทว่ั ไปคำ� วา่ ครู ใชก้ บั บคุ ลากรทางการศกึ ษาทม่ี หี นา้ ทสี่ อนในหลายระดบั การศกึ ษา และในแตล่ ะ
องค์กรจะมีวิธีการประเมินสมรรถนะที่แตกต่างในรายละเอียดของ วิธีการและเคร่ืองมือท่ีใช้ในการประเมิน
ส�ำหรับวิธีการประเมินสมรรถนะครูที่จะกล่าวถึงในหัวข้อนี้ หมายถึง วิธีการประเมินสมรรถนะครูการศึกษา
ข้ันพ้ืนฐาน โดยกระทรวงศึกษาธิการมอบหมายให้ส�ำนักพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาข้ัน
พื้นฐาน ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน เป็นผู้รับผิดชอบในการด�ำเนินการประเมินสมรรถนะ
ครผู สู้ อนในระดบั การศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐาน เรม่ิ ตน้ การประเมนิ ในปี 2553 เปน็ การประเมนิ สมรรถนะครรู ายบคุ คล
ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในโครงการยกระดับคุณภาพครูท้ังระบบ: กิจกรรมจัดระบบพัฒนา
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56