Page 47 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 47
มาตรฐานวิชาชีพครูและสมรรถนะครู 13-37
หมายถึง คณะกรรมการสถานศึกษา การประเมินอาจจะเลือกผู้ประเมินเพียงคนเดียวหรือเป็นการประเมิน
จากหลายฝ่ายร่วมกัน แต่ละรูปแบบมีข้อจ�ำกัดแตกต่างกันไป (ขจรศักดิ์ ศิริมัย, 2554ข) ดังนี้
1) ในกรณีที่การประเมินสมรรถนะโดยผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมินเพียงคนเดียวนั้น เน่ืองจาก
เช่ือว่าผู้บังคับบัญชาจะรู้จักผู้ใต้บังคับบัญชามากท่ีสุด และต้องรับผิดชอบการท�ำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา
แต่อย่างไรก็ตาม การประเมินจากผู้บังคับบัญชาเพียงฝ่ายเดียวมีข้อจ�ำกัด คือ ผู้บังคับบัญชาอาจไม่เห็น
พฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดเวลา การประเมินจากผู้บังคับบัญชา ใกล้ชิดแต่เพียงฝ่ายเดียวอาจ
ไม่สามารถให้ค�ำแนะน�ำที่เป็นประโยชน์ต่อการท�ำงาน และอาจมีความเอนเอียงหรืออคติกับลูกน้องบางคนได้
2) ในกรณีท่ีการประเมินตนเองและผู้บังคับบัญชา เป็นเทคนิคการประเมินสมรรถนะที่ได้รับความ
นยิ มมากทสี่ ดุ เพราะเปดิ โอกาสใหท้ ง้ั ผใู้ ตบ้ งั คบั บญั ชาและผบู้ งั คบั บญั ชารว่ มกนั ประเมนิ มกี ารพดู คยุ ปรกึ ษา
หารือและตกลงร่วมกัน ข้อจ�ำกัดของวิธีน้ีก็คือ การประเมินตนเอง ผู้ประเมินมักจะประเมินตนเองสูงกว่า
ความเป็นจริงหรือสูงกว่าท่ีผู้บังคับบัญชาประเมินให้ และผู้บังคับบัญชาก็มักจะประเมินสมรรถนะของลูกน้อง
ต่�ำกว่าความเป็นจริง และมักมีความขัดแย้งเกิดข้ึนเมื่อมาปรึกษาหารือสรุปร่วมกับผู้บังคับบัญชา แนวทาง
แก้ไข คือ ผู้บังคับบัญชาจะต้องบันทึกพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสมรรถนะของผู้ใต้บังคับบัญชา ในช่วง
ประเมินไว้เปน็ หลกั ฐานขณะเดยี วกัน ผู้ใต้บงั คับบญั ชากจ็ ะตอ้ งบนั ทึกพฤตกิ รรมตา่ ง ๆ ที่ เกี่ยวกับสมรรถนะ
ของตนไวเ้ ปน็ หลกั ฐานเชน่ เดยี วกนั และนำ� มาใชย้ นื ยนั ในชว่ งปรกึ ษาหารอื และ สรปุ สมรรถนะรว่ มกนั นอกจากน้ี
ผู้บังคับบัญชาควรมีทักษะในการให้ค�ำปรึกษาท่ีดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
ส�ำหรับผู้รับผิดชอบการประเมินสมรรถนะครูรายบุคคลในปัจจุบัน จะประกอบด้วย 3 ส่วนร่วมกัน
ประเมิน คือ 1) ผู้บังคับบัญชาข้ันต้น ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จ�ำนวน 1 ท่าน 2) ประเมินตนเอง ได้แก่
ตัวครูผู้สอน และ 3) เพื่อนร่วมงาน ได้แก่ เพื่อนครูในสถานศึกษาเดียวกัน จ�ำนวน 1 คน ส�ำหรับรายละเอียด
ของข้ันตอนและวิธีการประเมินจะกล่าวในเรื่องต่อไป
3. ความสำ� คัญของการประเมินสมรรถนะครู
การประเมินสมรรถนะมีความส�ำคัญทั้งในระดับองค์กรและระดับบุคคล การประเมินสมรรถนะครู
จึงมีความส�ำคัญต่อวิชาชีพครู องค์กรหรือหน่วยงานทางการศึกษา และการพัฒนาครูในภาพรวมท้ังประเทศ
และรายบุคคล ความส�ำคัญของการประเมินสมรรถนะครูพอสรุปได้ดังน้ี (ปราณี สังขะตะวรรธน์, 2550)
1) การพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง การประเมินสมรรถนะครูจะทำ� ให้ทราบจุดเด่นจุดด้อยของครูแต่ละ
บุคคลและครูท้ังประเทศว่าครูมีสมรรถนะในแต่ละด้านเป็นอย่างไร สมรรถนะใดบ้างท่ีเป็นไปตามมาตรฐาน
และสมรรถนะใดบ้างท่ีไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ผลของการประเมินสมรรถนะครูจะเป็นข้อมูลส�ำคัญส�ำหรับ
ผู้ที่เก่ียวข้องในการวางนโยบายและการวางแผนการพัฒนาครูท้ังระดับกระทรวงศึกษาธิการและระดับ
สถานศึกษา รวมท้ังเป็นข้อมูลในการออกแบบหลักสูตรโดยสถาบันผลิตครูเพื่อการพัฒนาครูด้านสมรรถนะ
ซึ่งตอบสนองต่อพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2545
หมวด 7 มาตรา 52 ท่ีกล่าวว่า ให้กระทรวงศึกษาธิการ ก�ำกับและประสานให้สถาบันผลิตและพัฒนาครู
คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษามีความพร้อมในการพัฒนาบุคลากรประจ�ำอย่างต่อเนื่อง