Page 38 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 38
14-28 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
ผู้ท่ีมคี วามฉลาดในการฝ่าวกิ ฤตจึงเป็นผทู้ ี่กล้าคิด กลา้ ทำ� กลา้ พูด กล้ารบั ผิดชอบในความผิดพลาด
ความฉลาดในการฝ่าวิกฤตจึงช่วยให้ความล้มเหลวกลายเป็นขั้นตอนสู่ความส�ำเร็จ
2.2 การมคี วามฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence: EQ) ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง
ความสามารถในการตระหนักรู้ความรู้สึกของตนเองและผู้อ่ืน เพ่ือสร้างแรงจูงใจและบริหารจัดการอารมณ์
ของตนเองและอารมณ์ท่ีเกิดจากความสัมพันธ์ได้ คุณลักษณะของผู้มีความฉลาดทางอารมณ์ประกอบด้วย
คุณลักษณะ 2 ด้าน คือ
2.2.1 คุณลักษณะทีเ่ ปน็ ความสามารถสว่ นบุคคล (personal competence) เป็นความสามารถ
ที่จะก�ำหนดว่าเราจะบริหารจัดการตนเองอย่างไร ได้แก่
1) การตระหนักรู้ตนเอง (self-awareness) มีองค์ประกอบย่อย คือ การตระหนักรู้
อารมณ์ตนเอง การประเมินตนเองอย่างถูกต้อง และการมีความเชื่อม่ันในตนเอง
2) การจดั ระบบตนเอง (self-regulation) มีองค์ประกอบย่อย คือ ความสามารถควบคุม
ตนเอง ความเป็นท่ีไว้ใจได้ ความมีสติและความรับผิดชอบ ความสามารถในการปรับตัวและการยอมรับ
นวัตกรรมใหม่
3) แรงจูงใจ (motivation) มีองค์ประกอบย่อย คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธ์ิ มีความผูกพัน
กับกลุ่มหรือองค์การ มีความพร้อมและความสามารถในการริเริ่ม และมีการมองโลกในแง่ดี
2.2.2 คณุ ลกั ษณะทเ่ี ปน็ ความสามารถทางสงั คม เปน็ ความสามารถทจี่ ะกำ� หนดวา่ เราจะจดั การ
กับความสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างไร คือ
1) การเอาใจเขามาใสใ่ จเรา (empathy) มอี งคป์ ระกอบยอ่ ย คอื การเขา้ ใจผอู้ นื่ การโนม้ นา้ ว
ผู้อ่ืน การมุ่งให้บริการผู้อื่น การสร้างโอกาสจากความแตกต่างของบุคคล และตระหนักรู้ถึงการเมืองของกลุ่ม
2) ทกั ษะทางสังคม (social skill) มีองค์ประกอบย่อย คือ การเข้าใจผู้อื่น การโน้มน้าว
ผู้อ่ืน การติดต่อส่ือสารท่ีเปิดเผยและน่าเชื่อถือ การจัดการความขัดแย้ง การมีภาวะผู้น�ำ การกระตุ้นให้เกิด
การเปล่ียนแปลง การสร้างสายสัมพันธ์ การท�ำงานและสร้างความร่วมมือกับผู้อ่ืน รวมทั้งการสร้างสมรรถนะ
ของทีม
ความฉลาดทางอารมณจ์ งึ เปน็ คณุ ลกั ษณะในการสงั เกตอารมณค์ วามรสู้ กึ ของตนเองและคนรอบขา้ ง
เข้าใจความแตกต่างระหว่างอารมณ์ของบุคคล บริหารอารมณ์ของตนเองและผู้อ่ืน มองโลกในแง่ดี คิดเร่ือง
ใหญ่ไม่คิดเล็กคิดน้อย และสามารถน�ำมาใช้เพ่ือพัฒนาความคิดและการปฏิบัติให้เหมาะสมกับสถานการณ์
ที่เผชิญอยู่ ความฉลาดทางอารมณ์จึงมีความส�ำคัญในการน�ำไปสู่การประสบความส�ำเร็จในชีวิต
2.3 การมคี วามฉลาดทางดา้ นจติ ใจและความรสู้ กึ ภายใน (Spiritual Intelligence: SQ) ความฉลาด
ทางด้านจิตใจและความรู้สึกภายในเป็นพื้นฐานส�ำคัญในการพัฒนา IQ และ EQ ให้มีประสิทธิภาพ กล่าวอีก
นัยหน่ึงคือ เป็นความฉลาดสุดท้ายของมนุษย์ เป็นสิ่งนามธรรมที่มองไม่เห็น เกิดข้ึนภายในจิตใจ เป็นเร่ือง
ของคุณค่าของบุคคล คุณลักษณะของผู้มีความฉลาดทางจิตใจ ได้แก่
1) การยอมรับตนเองและผู้อ่ืน คือ การรัก เคารพ และให้อภัยผู้อื่น ไม่ว่าเขาเหล่าน้ันจะพูด
หรือท�ำอะไรก็ตาม ความสามารถในการรักตนเองแม้ว่าตนเองจะมีข้อบกพร่อง (shortcomings) ตลอดจน
มีความสามารถในการให้คุณค่าต่อความหลากหลายและความแตกต่างได้