Page 33 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 33
วิถีครู ความเป็นครู และการพัฒนาวิชาชีพครู 14-23
สรุปได้ว่า เจตคติ หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลต่อส่ิงใดส่ิงหน่ึงท้ังทางบวกและทางลบ ซ่ึงมักจะ
ส่งผลต่อพฤติกรรมหรือการกระท�ำของบุคคล เจตคติ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ ได้แก่
องค์ประกอบด้านความรู้ องค์ประกอบด้านความรู้สึก และองค์ประกอบด้านพฤติกรรม
1.3 ลกั ษณะของเจตคติ สุรางค์ โค้วตระกูล (2554: 397) กล่าวถึงลักษณะของเจตคติ ดังน้ี
1) เจตคติ เป็นส่ิงที่เรียนรู้
2) เจตคติ เป็นแรงจูงใจที่จะท�ำให้บุคคลกล้าเผชิญกับสิ่งเร้าหรือหลีกเล่ียง ดังนั้น เจตคติจึง
มีท้ังบวกและลบ เช่น ถ้านักเรียนมีเจตคติทางบวกต่อวิชาวิทยาศาสตร์ นักเรียนก็จะชอบเรียนวิทยาศาสตร์
และเมื่อเรียนช้ันมัธยมศึกษาก็จะเลือกเรียนสายวิทยาศาสตร์ ตรงกันข้ามกับนักเรียนที่มีเจตคติทางลบต่อ
วิทยาศาสตร์ก็จะไม่ชอบหรือไม่มีแรงจูงใจที่จะเรียน เมื่ออยู่ชั้นมัธยมศึกษาก็จะเลือกเรียนทางสายที่ไม่เน้น
วิทยาศาสตร์
3) เจตคติ เปลี่ยนแปลงได้ง่าย การเปลี่ยนแปลงเจตคติอาจเปลี่ยนแปลงจากบวกเป็นลบหรือ
จากลบเป็นบวก ซ่ึงบางครั้งเรียกว่า การเปล่ียนแปลงทิศทางของเจตคติ หรืออาจจะเปล่ียนแปลงความ
เข้มข้น (intensity) หรือความมากน้อย เจตคติบางอย่างอาจจะหยุดหรือเลิกไปได้
4) เจตคติ เปลี่ยนแปรตามชุมชนหรือสังคมที่บุคคลนั้นเป็นสมาชิก เน่ืองจากชุมชนหรือสังคม
หนง่ึ ๆ อาจจะมคี า่ นยิ มทเ่ี ปน็ อดุ มการณพ์ เิ ศษเฉพาะ ดงั นนั้ คา่ นยิ มในชมุ ชนหรอื สงั คมจะมอี ทิ ธพิ ลตอ่ เจตคติ
ของบุคคลท่ีเป็นสมาชิก ในกรณีท่ีต้องการเปล่ียนเจตคติต้องเปลี่ยนค่านิยม
5) สังคมประกิต (socialization) มีความส�ำคัญต่อพัฒนาการเจตคติของเด็ก โดยเฉพาะ
เจตคติต่อความคิดและหลักการท่ีเป็นนามธรรม เช่น อุดมคติ เจตคติต่อเสรีภาพในการพูด การเขียน เด็ก
ท่ีมาจากครอบครัวท่ีมีสภาพทางเศรษฐกิจสังคมสูงจะมีเจตคติบวกสูงสุด
2. วชิ าชีพครู
2.1 ความหมายของวิชาชีพครู มีการให้ความหมายของวิชาชีพ ครู และวิชาชีพครู ไว้ดังนี้
ราชบัณฑิตยสถาน (2556: 1118) ให้ความหมายของค�ำว่า วิชาชีพ ไว้ว่า หมายถึง วิชาที่จะน�ำไปใช้
ในการประกอบอาชีพ เช่น วิชาแพทย์ วิชาช่างไม้ วิชาช่างยนต์
ราชบัณฑิตยสถาน (2555: 420) ให้ความหมายของวิชาชีพ (profession) ไว้ว่า เป็นอาชีพที่มีเกียรติ
ได้รับการยอมรับจากสังคม มีการจัดการสอนในระดับอุดมศึกษา ฝึกอบรมในระดับสูงอย่างต่อเนื่องให้มี
ความเช่ียวชาญเฉพาะทาง มีเสรีภาพที่จะตัดสินใจในงานที่ท�ำ ต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดเวลาท่ีอยู่
ในอาชีพน้ัน และมีองค์กรวิชาชีพควบคุมดูแลส่งเสริมมาตรฐานให้ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติตามกรอบจรรยา-
บรรณของวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจะต้องมีมาตรฐานความรู้ มาตรฐานการปฏิบัติงานและ
มาตรฐานการปฏิบัติตน หรือมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ผู้ประกอบวิชาชีพจะ
ต้องเป็นสมาชิกของสมาคมวิชาชีพ
ราชบณั ฑติ ยสถาน (2556: 235) ใหค้ วามหมายของคำ� วา่ ครู ไวว้ า่ หมายถงึ ผสู้ งั่ สอนศษิ ย์ ผถู้ า่ ยทอด
ความรู้ให้ศิษย์