Page 32 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 32
14-22 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
1. เจตคติ
1.1 ความหมายของเจตคติ เจตคติ มาจากค�ำในภาษาอังกฤษว่า Attitude มีรากศัพท์มาจากค�ำว่า
Aptus ในภาษาลาติน เดิมใช้ค�ำว่า ทัศนคติ ต่อมาคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ของกระทรวงศึกษาธิการโดย
ความเห็นชอบของราชบัณฑิตยสถานให้ใช้ค�ำว่า เจตคติ ซึ่งมีผู้ให้ความหมายของเจตคติไว้ดังน้ี
ราชบัณฑิตยสถาน (2556: 332) ให้ความหมายของค�ำว่า เจตคติ ไว้ว่า หมายถึง ท่าทีหรือความรู้สึก
ของบุคคลต่อสิ่งใดส่ิงหนึ่ง
ราชบัณฑิตยสถาน (2555: 40) ให้ความหมายของค�ำว่า เจตคติ ไว้ว่า หมายถึง ความรู้สึกต่อส่ิงใด
สง่ิ หนง่ึ โนม้ เอยี งไปทางบวกหรอื ลบ เชน่ ความรกั ความเกลยี ด และองคป์ ระกอบทางดา้ นความรู้ ความคดิ เหน็
เจตคติที่เกิดข้ึนมักส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคคล
ก๊ดู (Good, 1973: 49) กลา่ ววา่ เจตคติ เปน็ ความพรอ้ มที่จะกระทำ� ปฏบิ ตั ิ หรือมปี ฏกิ ริ ยิ าต่อบุคคล
ส่ิงของ และสภาพการณ์ใด ๆ ท้ังทางบวกและทางลบ
ฮิลการ์ด (Hilgard, 1962: 564) กล่าวว่า เจตคติ เป็นการแสดงพฤติกรรมหรือความรู้สึกในทาง
เข้าหาหรือหนีห่างจากวัตถุ ส่ิงของ แนวความคิด หรือสถานการณ์ใด ๆ และมีความพร้อมท่ีจะตอบสนองใน
ทางที่เอนเอียงในลักษณะเดิมเมื่อได้พบกับสิ่งดังกล่าวน้ันอีก
สุรางค์ โค้วตระกูล (2554: 396) กล่าวว่า เจตคติ เป็นอัชฌาสัย (disposition) หรือแนวโน้มที่มี
อทิ ธพิ ลตอ่ พฤตกิ รรมสนองตอบตอ่ สง่ิ แวดลอ้ มหรอื สงิ่ เรา้ ซงึ่ อาจจะเปน็ ไปไดท้ ง้ั คน วตั ถสุ ง่ิ ของ หรอื ความคดิ
(ideas) เจตคติอาจจะเป็นบวกหรือลบ ถ้าบุคคลมีเจตคติบวกต่อส่ิงใดก็จะมีพฤติกรรมท่ีจะเผชิญต่อ
ส่ิงน้ัน ถ้ามีเจตคติลบก็จะหลีกเล่ียง เจตคติเป็นสิ่งท่ีเรียนรู้และเป็นการแสดงออกของค่านิยมและความ
เช่ือถือของบุคคล
1.2 องค์ประกอบของเจตคติ มีนักวิชาการได้กล่าวถึงองค์ประกอบของเจตคติไว้หลายท่าน ดัง
ตัวอย่างต่อไปนี้
ชาเวอร์ (Shaver 1977, 168-170) กลา่ ววา่ เจตคติ ประกอบดว้ ยองคป์ ระกอบ 3 ดา้ น คอื องคป์ ระกอบ
ด้านความรู้ (cognitive component) องค์ประกอบด้านความรู้สึก (affective component) และ
องค์ประกอบทางด้านแนวโน้มที่จะกระท�ำ (behavioral component) องค์ประกอบท้ังสามด้านนี้จะต้องมี
ความสอดคล้องกัน ถ้าองค์ประกอบด้านใดด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปเจตคติของบุคคลน้ันก็จะเปลี่ยนแปลง
ไปด้วย
สุรางค์ โค้วตระกูล (2554: 397; 2533: 246-247) กล่าวว่า เจตคติ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3
อย่าง คือ (1) องค์ประกอบเชิงความรู้สึก อารมณ์ (affective component) ซ่ึงเก่ียวข้องกับท่าทีความรู้สึก
ต่าง ๆ ที่เป็นตัวเราต่อความคิดท่ีส่งผลให้บุคคลประเมินสิ่งเร้าน้ันว่าเป็นที่พอใจหรือไม่พอใจชอบหรือ
ไม่ชอบ คือ มีความรู้สึกด้านบวกหรือด้านลบนั่นเอง (2) องค์ประกอบเชิงปัญญาหรือการรู้คิด (cognitive
component) ซ่ึงจะเกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์ทางการเรียนรู้ การเข้าใจท่ีสัมพันธ์กัน ได้แก่ ความคิด
ความเข้าใจของบุคคลที่มีต่อส่ิงต่าง ๆ และ (3) องค์ประกอบเชิงพฤติกรรม (behavioral component)
เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมท่ีมีแนวโน้มจะตอบสนองหรือตัดสินใจปฏิบัติ คือ ถ้ามีส่ิงเร้าที่เหมาะสมจะเกิด
การปฏิบัติตอบสนองในทางท่ีสนับสนุนหรือคัดค้าน เต็มใจท�ำหรือไม่เต็มใจท�ำ