Page 30 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 30

14-20 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู

2. 	คุณธรรม

       ผสู้ อนควรมคี ณุ ธรรมตามแนวพระพทุ ธคณุ 3 ไดแ้ ก่ พระปญั ญาคณุ พระวสิ ทุ ธคิ ณุ และพระกรณุ าคณุ
ดังนี้

       2.1 	พระปญั ญาคณุ พระปัญญาคุณท่ีเกี่ยวกับงานสอนที่ผู้สอนทั่วไปพึงน�ำมาใช้ มีดังนี้
            1)		มีความรู้เข้าใจในเนื้อหา ขอบเขตของกฎเกณฑ์และหลักการต่าง ๆ ท่ีเก่ียวข้อง ทจ่ี ะนำ�  

มาใชใ้ นการสอนอยา่ งชดั เจน ตลอดจนรขู้ ดี ขนั้ ความสามารถของบคุ คลทม่ี พี ฒั นาการอยใู่ นระดบั ตา่ ง ๆ
            2)		มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เป็นอย่างดี
            3)		รู้วิธีการและกลวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ท่ีจะน�ำเข้าสู่เป้าหมายที่ต้องการ
            4)		มีความรู้ในวิชาสรีรวิทยาและจิตวิทยา อย่างน้อยให้ทราบองค์ประกอบต่าง ๆ และการ

ปฏิบัติหน้าที่ขององค์ประกอบเหล่านั้นในกระบวนการเรียนรู้ของบุคคล และถ้าเป็นไปได้ควรมีความรู้ท่ัวไป
อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในทางวิทยาศาสตร์ เพ่ือรู้จักสภาวะของส่ิงท้ังหลาย และมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อส่ิง
เหล่านั้น อันจะเป็นเครื่องเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการสอนให้ได้ผลดียิ่งข้ึน

            5)	 	รู้ความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านความโน้มเอียงแนวความสนใจและความถนัดโดย
ธรรมชาติ

            6)		รู้ความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านระดับสติปัญญาความสามารถ พัฒนาการด้าน
ต่าง ๆ และความพร้อมที่จะเรียนรู้

            7)	รู้ปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคถ่วง หรือส่งเสริมเพิ่มพูนผลส�ำเร็จของการเรียนรู้และการฝึก
อบรมในระดับต่าง ๆ กับรู้จักใช้เทคนิคต่าง ๆ เข้าแก้ไขหรือส่งเสริม น�ำการเรียนรู้และการฝึกอบรมให้ด�ำเนิน
ก้าวหน้าไปด้วยดี

            8)	 รู้ประวัติพื้นเพเดิมและประสบการณ์ในอดีตของผู้เรียน
            9)	 พิจารณาสังเกตดูผู้เรียนในขณะที่เขามีบทบาทอยู่ในชีวิตจริงภายในกลุ่มชนหรือสังคม
สามารถรู้เท่าทันและเข้าใจพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เขาแสดงออกในขณะน้ัน ๆ ว่าเป็นผู้มีปัญหาหรือไม่อย่างไร
มองเห็นสาเหตุแห่งปัญหาน้ัน และพร้อมท่ีจะเข้าช่วยเหลือแก้ไขได้ทันที
            10)		รู้ชัด เข้าใจแจ่มแจ้ง และแน่ใจว่า ผลสัมฤทธ์ิท่ีเป็นจุดหมายน้ันคืออะไร เป็นอย่างไร และ
ตนเองสามารถกระท�ำผลสัมฤทธิ์นั้นให้เกิดข้ึนได้จริงด้วย
       นอกจากน้ี ผู้สอนต้องมีปัญญาแตกฉานในด้านต่าง ๆ
       2.2 	พระวิสุทธิคุณ เป็นความบริสุทธ์ิท่ีจะท�ำให้ประชาชนเช่ือถือและเลื่อมใส ความบริสุทธ์ินี้อาจ
มองได้จากลักษณะต่าง ๆ ดังน้ี
            1) 	ไม่กระท�ำความชั่วท้ังทางกาย ทางวาจา และทางใจ ไม่มีเหตุที่ใครจะยกขึ้นต�ำหนิได้
            2) 	ทำ� ไดอ้ ยา่ งทสี่ อน คอื สอนเขาอยา่ งไร ตวั เองกป็ ระพฤตปิ ฏบิ ตั อิ ยา่ งนนั้ ดว้ ย จงึ เปน็ ตวั อยา่ ง
ท่ีดี และให้ผู้เรียนหรือผู้พบเห็นเกิดความเช่ือม่ันในคุณค่าของค�ำสอนได้
            3)	มีความบริสุทธิ์ใจในการสอน สอนผู้อื่นด้วยมุ่งหวังประโยชน์แก่เขาอย่างเดียว ไม่มีใจ
เคลือบแฝงด้วยความหวังผลประโยชน์ส่วนตนหรืออามิสตอบแทนใด ๆ
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35