Page 42 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 42
14-32 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
ควรเป็นความรู้ในระดับปริญญาขึ้นไปเพ่ือจะได้มีความรู้ท่ีชัดเจนและสามารถถ่ายทอดให้ผู้อ่ืนได้ถูกต้อง
นอกจากนน้ั ยังเป็นเกณฑข์ องวชิ าชพี ครูทเี่ ป็นวิชาชีพชั้นสงู ความรวู้ ชิ าการจะตอ้ งประกอบด้วยข้อมูล มโนมติ
หลักการ ทฤษฎีของศาสตร์ท่ีน�ำมาใช้งานในการสอนและการปฏิบัติงานอ่ืน
4.1.2 มีความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพครู เป็นความรู้ที่จ�ำเป็นส�ำหรับการปฏิบัติงานครู ได้แก่
ความรู้ด้านภาษาและเทคโนโลยีส�ำหรับครู การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ จิตวิทยาส�ำหรับครู การวัด
และการประเมินผลการศึกษา การบริหารจัดการห้องเรียน การวิจัยทางการศึกษา นวัตกรรมและเทคโนโลยี
สารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนความรู้เก่ียวกับความเป็นครู โดยมีความรู้ระดับปริญญาตรีขึ้นไปเพื่อที่
จะสามารถนำ� มาประยกุ ตใ์ ชใ้ นการสรา้ งสมรรถนะในการปฏบิ ตั งิ าน เชน่ ตอ้ งมคี วามรดู้ า้ นการพฒั นาหลกั สตู ร
มากเพียงพอท่ีจะมีสมรรถนะในการวิเคราะห์หลักสูตร
ความรู้ทางวิชาการทั้งสองด้านข้างต้นเป็นส่วนประกอบที่ส�ำคัญของความเป็นครูที่ครูต้องมี
ความรจู้ รงิ ทง้ั สองดา้ น การมคี วามรทู้ บี่ กพรอ่ งในดา้ นใดดา้ นหนงึ่ จะมผี ลกระทบตอ่ ผรู้ บั บรกิ ารและผเู้ กย่ี วขอ้ ง
กับงานของครู การรู้จริงและรู้แจ้งจึงเป็นคุณลักษณะแรกของครูผู้น�ำทางวิชาชีพ
4.2 การเป็นผู้น�ำทางการปฏิบัติงานในวิชาชีพ คุณลักษณะท่ีดีของครูผู้น�ำทางการปฏิบัติงานใน
วิชาชีพมี 3 ด้าน ได้แก่
4.2.1 การปฏิบัติงานตามมาตรฐานในวิชาชีพ แบ่งเป็นการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของ
หน่วยงานหลักท่ีเกี่ยวข้องกับวิชาชีพครู 2 หน่วยงาน ได้แก่
1) การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา เช่น ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการ
เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพอยู่เสมอ ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยค�ำนึงถึงผลท่ีจะเกิดแก่ผู้เรียน
ร่วมมือกับบุคคลในชุมชนด้วยความเต็มใจเพื่อบรรลุเป้าหมายของสถานศึกษาและชุมชน
2) การปฏบิ ตั งิ านตามมาตรฐานตำ� แหนง่ และวทิ ยฐานะของสำ� นกั งาน ก.ค.ศ. ซงึ่ กำ� หนด
มาตรฐานหลักเป็น 3 ด้านคือ
(1) ดา้ นการมวี นิ ยั คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชพี ได้แก่ การมวี ินัย
การประพฤตปิ ฏบิ ตั ติ นเปน็ แบบอยา่ งทด่ี ี การดำ� รงชวี ติ อยา่ งเหมาะสม และการมคี วามรกั และศรทั ธาในวชิ าชพี
(2) ด้านการปฏิบัติงานมีคุณภาพ ได้แก่ คุณลักษณะหลักท่ีผู้ประกอบวิชาชีพใน
งานจะต้องมีร่วมกัน ได้แก่ การมุ่งผลสัมฤทธ์ิ การบริการที่ดี การพัฒนาตนเอง การท�ำงานเป็นทีม และ
คณุ ลักษณะตามสายงาน คอื การเป็นครู ไดแ้ ก่ การออกแบบการเรยี นรู้ การพัฒนาผูเ้ รยี น การบริหารจัดการ
ช้นั เรยี น
(3) ดา้ นวชิ าการ ไดแ้ ก่ การมผี ลงานทางวิชาการตามตำ� แหน่งและวทิ ยฐานะ
4.2.2 การพัฒนาอยา่ งตอ่ เนอื่ ง ครูผู้น�ำวิชาชีพต้องมีการสั่งสมความรู้และสั่งสมประสบการณ์
วิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เน่ืองจากศาสตร์ต่าง ๆ มีความเจริญอย่างรวดเร็ว ในอนาคตมนุษย์จะใช้ศักยภาพใน
การพัฒนาความรู้ของมนุษย์มาต่อยอดความรู้ที่มีอยู่ ในอีกย่ีสิบปีข้างหน้าความรู้และเทคโนโลยีร้อยละ 80
ของปัจจุบันจะถูกทดแทนโดยความรู้และเทคโนโลยีใหม่ (เกษม วัฒนชัย, 2549: 34-35)