Page 39 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 39
วิถีครู ความเป็นครู และการพัฒนาวิชาชีพครู 14-29
2) การเขา้ ใจเกย่ี วกบั ตนเองอยา่ งถอ่ งแท้ โดยเข้าใจว่าเราเป็นใคร เข้าใจจุดมุ่งหมายของการมี
ชีวิตอยู่ เข้าใจจุดอ่อนจุดแข็งของตนซึ่งจะช่วยให้มนุษย์มีความเป็นตัวของตัวเองและเชื่อใจตัวเอง
3) การให้ความส�ำคัญกบั จุดหมายและคณุ ค่า คือ การมีความชัดเจนและให้ความส�ำคัญเก่ียว
กับจุดมุ่งหมาย คุณค่าของบุคคลอื่นและตนเองในการด�ำรงอยู่ในสังคมขนาดต่าง ๆ เช่น การให้ความส�ำคัญ
ต่อความเท่าเทียมกัน
ผู้ที่มีคุณลักษณะทางจิตที่ดีงามจะเป็นผู้มีความสุข ส่วนผู้ท่ีจิตใจไม่ดีงามจะเป็นผู้ท่ีต้องท�ำสงคราม
กับกิเลส และหากปราชัยต่อกิเลสจะประสบความทุกข์วนเวียน
3. คณุ ลักษณะของครผู นู้ ำ�ทางสังคม
แม้ว่าการพัฒนาสังคมจะเป็นงานในลักษณะการมีส่วนร่วมของบุคคลหลายฝ่าย แต่ครูเป็นผู้น�ำทาง
ปัญญา ผู้น�ำทางจิตใจ และได้รับการยกย่องให้เกียรติสูงกว่าบุคคลอ่ืน ครูจึงต้องเป็นผู้น�ำทางสังคม โดยมี
คุณลักษณะเป็นคนสมบูรณ์ มีความฉลาดทางวัฒนธรรมและมีหลักธรรมของผู้น�ำท่ีดี
3.1 คนสมบูรณ์ การเป็นผู้น�ำทางสังคมควรมีคุณลักษณะของคนสมบูรณ์ 7 ประการ ต่อไปนี้
1) รู้หลักและรู้จักเหตุ คือ การรู้หลักการและกฎเกณฑ์ของส่ิงทั้งหลายที่เก่ียวข้องกับการ
กระท�ำนั้นเพ่ือการบรรลุผลส�ำเร็จ
2) รู้ความมุ่งหมายและรูผ้ ล คือ การรู้ความหมาย ความมุ่งหมาย ผลดีผลเสียของหลักการท่ี
ตนปฏิบัติ รวมท้ังเข้าใจจุดหมายแท้จริงของชีวิต
3) รู้จักตน คือ การรู้จักตนตามความเป็นจริง เช่น รู้ฐานะ รู้ความสามารถของตนเองแล้ว
ปฏิบัติให้เหมาะสม รวมท้ังปรับปรุงตนให้สมบูรณ์ยิ่งข้ึน
4) รจู้ กั ประมาณ คือ การรู้จักพอดี เช่น ใช้ปัญญาประมาณในการใช้จ่าย การบริโภค การพูด
โดยเป็นการประมาณและพอดีตามเหตุผลและปัจจัยที่เก่ียวข้อง ไม่ท�ำเพียงเพื่อความพอใจของตนเอง
5) รกู้ าลเวลาอนั เหมาะสม คือ การรู้จักกาลเวลา ระยะเวลาท่ีพึงใช้ในการประกอบกิจทั้งด้าน
ตนเองและผู้อื่นที่เก่ียวข้อง แล้ววางแผนการใช้เวลาอย่างได้ผล
6) รชู้ มุ ชน คือ รู้จักถิ่นที่ตนมีความเก่ียวข้องและปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมท้องถ่ิน
7) รู้จักบุคคล คือ การรู้จักและเข้าใจความแตกต่างของบุคคลในด้านต่าง ๆ แล้วปฏิบัติต่อ
บุคคลท่ีเกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม เช่น จะคบหาหรือไม่ จะยกย่องหรือจะแนะน�ำอย่างไรจึงจะได้ผลดี
การเปน็ บคุ คลทม่ี คี ณุ ลกั ษณะทดี่ แี ละพงึ ประสงคจ์ ะทำ� ใหม้ กี ารปฏบิ ตั ริ ะหวา่ งคนกบั คน คนกบั สงั คม
และสิ่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ท�ำให้เป็นบุคคลท่ีสามารถน�ำคนอื่นและสังคมไปสู่สันติสุข
3.2 การมีความฉลาดทางวัฒนธรรม (Cultural Intelligence: CQ) ความฉลาดทางวัฒนธรรม
หมายถึง ความสามารถที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับวัฒนธรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะ ความยืดหยุ่น
ในการเข้าใจวัฒนธรรม เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเพิ่มมากข้ึน และปรับเปล่ียนพฤติกรรมของตนได้
เหมาะสมเม่ือมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในวัฒนธรรมนั้น ผู้ท่ีมีความฉลาดทางวัฒนธรรมจะมีคุณลักษณะ
3 ประการ คือ