Page 43 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 43

วิถีครู ความเป็นครู และการพัฒนาวิชาชีพครู 14-33

            4.2.3 การเป็นตวั แบบทด่ี ี แบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่
                1) 	การเป็นตวั แบบทางวิชาชีพ คุรุสภาและส�ำนักงาน ก.ค.ศ. ได้ก�ำหนดกรอบการเป็น

ตัวแบบของครูโดยมีประเด็นส�ำคัญ คือ การไม่หาประโยชน์จากต�ำแหน่งหน้าที่ การวางตัวเป็นกลาง มีความ
ซ่ือสัตย์ ดูแลบุคคลอ่ืนและสิ่งแวดล้อม ไม่พูดให้ร้ายผู้อื่นลับหลัง การมีบุคลิกภาพ จริยธรรมและการ
แสดงออกท่ีเหมาะสมกับการเป็นครูอย่างสม่�ำเสมอจนบุคคลที่เก่ียวข้องศรัทธาและถือเป็นแบบอย่าง

                2) 	การเปน็ ตวั แบบทางสงั คม ไดแ้ ก่ การมคี ณุ ลกั ษณะของกลั ยาณมติ ร 7 ประการ ไดแ้ ก่
(พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) 2547: 66-67)

                     (1) 	นา่ รกั คือ มเี มตตากรณุ า ใสใ่ จคนและประโยชนส์ ขุ ของเขา เขา้ ถึงจิตใจ สรา้ ง
ความรู้สึกสนทิ สนมเป็นกนั เองชวนใหผ้ อู้ ืน่ อยากเขา้ ไปปรึกษาไตถ่ าม

                     (2)	น่าเคารพ คือ เป็นผู้หนักแน่น ถือหลักการเป็นส�ำคัญ และมีความประพฤติ
สมควรแก่ฐานะ ท�ำใหเ้ กิดความรสู้ ึกอบอุ่นใจ เปน็ ทพี่ งึ่ ไดแ้ ละปลอดภยั

                     (3) 	นา่ เจรญิ ใจ คอื มคี วามร้จู รงิ ทรงภมู ิปัญญาแท้จรงิ และเป็นผ้ฝู กึ ฝนปรับปรงุ
ตนเสมอ เปน็ ทน่ี า่ ยกยอ่ งเอาอย่าง ทำ� ให้ระลึกและเอย่ อ้างดว้ ยความซาบซง้ึ ภูมิใจ

                     (4) 	รู้จักพูดให้ได้ผล คือ รู้จักพูดช้ีแจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไร อย่างไร
คอยให้ค�ำแนะน�ำว่ากลา่ วตักเตือน เป็นท่ปี รกึ ษาท่ดี ี

                     (5) 	อดทนตอ่ ถอ้ ยคำ�  คอื พรอ้ มทจ่ี ะรบั ฟงั คำ� ปรกึ ษาซกั ถามแมจ้ กุ จกิ ตลอดจนคำ�
ล่วงเกินและค�ำตักเตอื นวพิ ากษว์ ิจารณ์ อดทน ฟังไดไ้ ม่เบือ่ ไมเ่ สียอารมณ์

                     (6) 	แถลงเร่ืองล�้ำลกึ ได้ คอื อธบิ ายเรื่องยุ่งยากซบั ซ้อนให้เข้าใจและให้เรียนรเู้ รอื่ ง
ราวที่ลกึ ซึ้งยิ่งข้นึ ไป

                     (7) 	ไม่แนะในเร่ืองไม่สมควร คือ ไม่แนะน�ำเรื่องเหลวไหล ไม่น�ำชักจูงไปในทาง
เส่อื มเสีย

            4.2.4 ปรับเปลีย่ นวัฒนธรรมการท�ำงาน ครูผู้น�ำทางวิชาชีพควรมีคุณลักษณะด้านวัฒนธรรม
การท�ำงานตามแนวยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา 2 ด้าน ได้แก่ (ส�ำนักงานเลขาธิการ
คุรุสภา, 2548: 28-30)

                1) 	วัฒนธรรมการท�ำงานแบบสรา้ งและส่งั สมความรู้ หมายถึง การปฏิบัติงานที่ยึดการ
เพิ่มพูนคุณประโยชน์ โดยท้ังผู้ปฏิบัติงาน ผู้รับบริการ และผู้เก่ียวข้องทุกระดับจะต้องมีคุณภาพสูงข้ึนอย่าง
ต่อเน่ือง มีการประเมินและปรับปรุงเพื่อหาวิธีการท่ีดีกว่าเดิมจนเป้าหมาย วิธีการ และการประเมินรวมเป็น
เนื้อเดียวกัน เกิดความคุ้มค่าและพัฒนาอย่างม่ันคง มีความยืนยาวขององค์กร ผลงานเป็นที่ช่ืนชมจนเป็น
ผลให้สังคมมีความก้าวหน้าเป็นหน่ึงเดียวกัน

                2) 	วัฒนธรรมการประเมินเพ่ือพัฒนาตนเอง หมายถึง การปฏิบัติงานในการรวบรวม
ขอ้ มลู จากการปฏบิ ตั งิ านของตนเองแลว้ เปรยี บเทยี บกบั เปา้ หมายทกี่ ำ� หนดไว้ เพอื่ การตดั สนิ ใจหรอื การตดั สนิ
คุณค่าในงานและน�ำมาใช้ในการพัฒนาตนเองอย่างสม�่ำเสมอ การประเมินน้ีอาจเป็นการพัฒนาความรู้ ความ
สามารถ ความช�ำนาญการ หรือคุณธรรม โดยประเมินตนเองทุกวันและประเมินทุกงานที่รับผิดชอบ พร้อม
ทั้งมีการปรับปรุงแก้ไขไปด้วย การสร้างวัฒนธรรมการประเมินตนเองมีล�ำดับข้ันตอนดังนี้
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48