Page 47 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 47
วิถีครู ความเป็นครู และการพัฒนาวิชาชีพครู 14-37
1.4 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงช่วยเหลือเก้ือกูล
ซ่ึงกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดม่ันในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
1.5 จรรยาบรรณต่อสังคม ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้น�ำในการ
อนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของ
ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวชิ าชีพครู
คณะกรรมการคุรุสภาออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
ไว้เป็นข้อบังคับ เรียกว่า “ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.
2550” ซ่ึงในข้อบังคับนี้ “แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ” หมายความว่า ประมวล
พฤติกรรมที่เป็นตัวอย่างของการประพฤติท่ีก�ำหนดข้ึนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพ
ทางการศกึ ษา คอื ครู ผบู้ รหิ ารสถานศกึ ษา ผบู้ รหิ ารการศกึ ษา และศกึ ษานเิ ทศก์ ตอ้ งหรอื พงึ ประพฤตปิ ฏบิ ตั ติ าม
ประกอบด้วย พฤติกรรมท่ีพึงประสงค์ ท่ีก�ำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องหรือพึงประพฤติตาม
และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ท่ีก�ำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องหรือพึงละเว้น ดังต่อไปนี้
2.1 จรรยาบรรณต่อตนเอง ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และ
วิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอโดยต้องประพฤติและ
ละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
2.1.1 พฤตกิ รรมท่ีพึงประสงค์
1) ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี
2) ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการด�ำเนินชีวิตตามประเพณีและวัฒนธรรมไทย
3) ปฏบิ ตั งิ านตามหนา้ ทที่ ไี่ ดร้ บั มอบหมายใหส้ ำ� เรจ็ อยา่ งมคี ณุ ภาพตามเปา้ หมายทกี่ ำ� หนด
4) ศึกษาหาความรู้ วางแผนพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และสะสมผลงานอย่างสม่�ำเสมอ
5) ค้นคว้า แสวงหา และน�ำเทคนิคด้านวิชาชีพที่พัฒนาและก้าวหน้าเป็นท่ียอมรับมาใช้
แก่ศิษย์และผู้รับบริการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ท่ีพึงประสงค์
2.1.2 พฤติกรรมท่ไี มพ่ งึ ประสงค์
1) เก่ียวข้องกับอบายมุขหรือเสพสิ่งเสพติดจนขาดสติหรือแสดงกิริยาไม่สุภาพเป็นที่น่า
รังเกียจในสังคม
2) ประพฤติผิดทางชู้สาวหรือมีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ
3) ขาดความรับผิดชอบ ความกระตือรือร้น ความเอาใจใส่ จนเกิดความเสียหายในการ
ปฏิบัติงานตามหน้าที่
4) ไม่รับรู้หรือไม่แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ในการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติหน้าท่ี
5) ขัดขวางการพัฒนาองค์การจนเกิดผลเสียหาย