Page 52 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 52
14-42 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
เร่ืองท่ี 14.3.1 การพัฒนาตนเองของครู
การพัฒนาตนเองเป็นส่ิงท่ีส�ำคัญยิ่งของผู้ประกอบวิชาชีพครู เนื่องจากครูต้องเป็นผู้น�ำทางปัญญา
ผู้น�ำทางจิตใจ ผู้น�ำทางสังคม และผู้น�ำทางวิชาชีพ ดังท่ีได้กล่าวรายละเอียดไว้ในเร่ืองท่ี 14.2.3 การพัฒนา
ตนเองของครูจึงต้องมีการพัฒนาคุณลักษณะของผู้น�ำทางปัญญา การพัฒนาคุณลักษณะของผู้น�ำทางจิตใจ
การพัฒนาคุณลักษณะของผู้น�ำทางสังคม และการพัฒนาคุณลักษณะของผู้น�ำทางวิชาชีพ ดังรายละเอียด
ต่อไปนี้
1. การพฒั นาคณุ ลกั ษณะของผูน้ ำ�ทางปัญญา
การพัฒนาคุณลักษณะของผู้น�ำทางปัญญามีวิธีการส�ำคัญ 3 วิธี (พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต),
2532: 52) ได้แก่ 1) การคิด เป็นปัญญาท่ีเกิดจากการคิดการพิจารณาหาเหตุผลด้วยตนเอง 2) การเรียน เป็น
ปัญญาที่เกิดจากการสดับ การเล่าเรียน และการถ่ายทอดทั้งโดยการฟังและการอ่าน และ 3) การปฏิบัติ เป็น
ปัญญาท่ีเกิดจากการลงมือปฏิบัติ ฝึกหัด อบรม
กิจกรรมที่ส�ำคัญในการท�ำให้เกิดปัญญาจึงมีทั้งการฟัง การซักถาม การสอบค้น การสนทนา
ถกเถียง อภิปราย การสังเกตดู เฝ้าดู ดูอย่างเพ่งพินิจ การพิจารณาโดยแยบคาย การช่ังเหตุผล การไตร่ตรอง
ตรวจสอบ ทดสอบ สอบสวน ทดลอง เฟ้น ฝกึ หดั การท�ำบอ่ ย การทำ� ใหม้ าก ในทน่ี จ้ี งึ แบ่งแนวทางการพัฒนา
คุณลักษณะของผู้น�ำทางปัญญาท้ังคุณลักษณะด้านการเป็นผู้มีเหตุผล การเป็นคนฉลาดคิด การมีวิสัยทัศน์
เป็น 3 แนวทาง คือ การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การฝึกการคิด และการปฏิบัติ
1.1 การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอกเป็นปฏิสัมพันธ์กับ
บุคคลและสิ่งต่าง ๆ ในสังคม เช่น การศึกษาอบรมเล่าเรียนกับผู้รู้ การพบปะกับบุคคลท่ีหลากหลาย และ
การมีปฏิสัมพันธ์กับส่ิงแวดล้อมในรูปแบบต่าง ๆ ผู้น�ำทางปัญญาต้องพยายามใช้ปฏิสัมพันธ์ให้เป็นประโยชน์
ในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้น�ำทางปัญญาในด้านต่อไปน้ี
1.1.1 การสรา้ งประสบการณ์ในชีวติ สามารถแบ่งเป็น
1) ประสบการณเ์ ชงิ กวา้ งและเชงิ ลกึ ประสบการณเ์ ชงิ กวา้ ง หมายถงึ การมปี ระสบการณ์
ในสิ่งต่าง ๆ อย่างกว้างขวางหลากหลาย เช่น มีประสบการณ์ในการใช้กิจกรรมการสอนรูปแบบต่าง ๆ ตาม
ความหลากหลายของวัตถุประสงค์การเรียนการสอน ผู้เรียน สถานการณ์และข้อจ�ำกัดของเงื่อนไขต่าง ๆ
ประสบการณ์เหล่าน้ีจะช่วยให้สามารถใช้ปัญญาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้เง่ือนไขต่าง ๆ ท่ีเผชิญได้
ประสบการณ์เชิงลึก คือ การรู้จริงด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น อ่านมาก ดูตัวอย่างมาก ฟังอย่างลึก ศึกษา
สถานการณ์ท่ีมีความซับซ้อน และศึกษาจากตัวอย่างที่มีวิธีการดีท่ีสุด (best practice)
2) ประสบการณ์เชิงบวกและเชิงลบ ประสบการณ์ท่ีจะช่วยให้เกิดปัญญาย่อมมาจาก
ประสบการณท์ ง้ั เชงิ บวกและเชงิ ลบ ประสบการณท์ ง้ั สองดา้ นจะเปน็ ฐานของการใชป้ ญั ญาพจิ ารณาการปฏบิ ตั งิ าน