Page 56 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 56
14-46 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
2.1 การยดึ มนั่ ในหลกั ธรรมของศาสนา การยึดมนั่ ในหลักธรรมค�ำสอนของศาสนาจะชว่ ยให้ครผู ้นู ำ�
ทางจิตใจมีหลักหรือแนวทางการด�ำรงชีวิตที่ดี ดังตัวอย่างค�ำสอนของศาสนาต่าง ๆ ต่อไปน้ี
1) ศาสนาคริสต์ สอนให้มนุษย์มีเมตตา สละตน รักผู้อื่น รักการท�ำงาน และมีความยุติธรรม
2) ศาสนาอิสลาม สอนให้มนุษย์ยึดม่ันในภราดรภาพ มีใจยุติธรรม เอื้อเฟื้อ สุภาพ ถ่อมตน
3) ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์ด�ำรงชีวิตในทางที่ดีงามในทุกด้าน และด�ำรงอยู่ในทางสายกลาง
โดยมีหลักธรรมส�ำคัญ ได้แก่ หิริโอตตัปปะ ซึ่งมีความหมายและการปฏิบัติตามหลักธรรมดังน้ี (เกษม
วัฒนชัย, 2549: 166-167)
หิริ คือ ความละอายต่อบาปทุกชนิด
โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อผลของบาป
เงื่อนไข สู่หิริโอตตัปปะ มีดังนี้
(1) ต้องรู้จักแยก “ผิดชอบช่ัวดี” เพื่อให้รู้ว่าอะไร คือ ผิด ชอบ ช่ัว ดี บาป บุญ
(2) เช่ือในผลของ “ผิด-ชอบ” และ “ช่ัว-ดี”
(3) รู้จักเลือก “ทางท่ีชอบ-ที่ดี” และยึดม่ัน ปกป้องความถูกต้องเที่ยงธรรม
(4) ปฏิเสธและไม่ยอมรับ “ทางผิด-ทางช่ัว”
(5) มีหิริโอตตัปปะเป็นหลักคิด/เป็นแนวทางในการตัดสินใจอย่างมีสติ
หลกั ธรรมชว่ ยให้มนุษยม์ หี ลักทชี่ ัดเจนในการยดึ ถือปฏบิ ัติและนำ� ทางให้มกี ารปฏิบตั อิ ย่างสม�ำ่ เสมอ
หากไม่ยึดม่ันในหลักธรรมจะท�ำให้บุคคลน้ันปฏิบัติดีเป็นบางเวลา เช่น พูดปดบ้าง ไม่พูดปดบ้าง การพัฒนา
จิตใจจึงไม่ต่อเน่ือง อาจประสบปัญหาในชีวิตได้ง่าย ไม่สามารถเป็นผู้มีจิตใจดี และย่ิงไม่สามารถเป็นผู้น�ำ
ทางจิตใจของผู้อื่น
2.2 การสร้างสุขภาพจิตท่ีดี สุขภาพจิต (สุภา มาลากุล, 2537: 721-722) คือ คุณภาพการนึกคิด
ของบุคคล เกณฑ์ท่ีก�ำหนดว่าสุขภาพจิตดี คือ การแสดงออกท่ีเหมาะสมกับเวลา บุคคล สถานที่ กลมกลืน
กับสภาพแวดล้อม หากการแสดงออกไม่เหมาะสม ท�ำให้คนอื่นล�ำบาก แม้ตัวเองจะเดือดร้อนหรือไม่ก็ตาม
ก็จัดว่ามีสุขภาพจิตไม่ดีหรือสุขภาพจิตบกพร่อง แต่เน่ืองจาก เวลา บุคคล และสถานท่ีมีความหลากหลาย
และมีการเปล่ียนแปลง ท�ำให้มนุษย์ต้องปรับตัวตามเง่ือนไขที่เกี่ยวข้องตลอดเวลา แม้ว่าการเปล่ียนแปลงนั้น
จะเป็นสิ่งท่ีดีก็จะท�ำให้เกิดความเครียดได้ เมื่อมนุษย์สามารถปรับกับสิ่งท่ีเผชิญได้แล้ว สุขภาพจิตจะกลับ
เข้าสู่ภาวะปกติ ซ่ึงบุคคลท่ัวไปจะมีพฤติกรรมแปรปรวนเชิงด้อยลงไม่นานกว่า 4-6 สัปดาห์ และอย่างมาก
ที่สุดไม่เกิน 3 เดือน ก็จะสามารถปรับตัวได้ เช่น เริ่มคิดได้ ท�ำใจได้ หาทางออกได้ ท�ำให้ภาวะสุขภาพจิต
กลับคืนระดับเดิมหรือดีกว่าเดิม หากพ้นระยะน้ีแล้วยังมีการแสดงออกท่ีเบี่ยงเบนจากเวลา บุคคล สถานท่ี
จะจัดว่าบุคคลน้ันมีปัญหาจิตเวช คือ มีการแสดงออกท่ีแปรปรวนมาก คุณภาพของการนึกคิดหรือสุขภาพ
จิตจึงมีสภาพขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่คงที่ ไม่สม่�ำเสมอ ไม่สมบูรณ์ตลอดเวลา แนวทางการมีสุขภาพจิตดี มีดังนี้
2.2.1 การมีอารมณ์ท่ีเหมาะสม อารมณ์ที่เหมาะสมมี 2 ลักษณะ (เจียรนัย ทรงชัยกุล และ
โกศล มีคุณ, 2545: 131) คือ