Page 61 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 61

วิถีครู ความเป็นครู และการพัฒนาวิชาชีพครู 14-51

            ปัญญา คือ การฝึกฝนอบรมทางปัญญา ให้เกิดความเช่ือ ค่านิยม ความรู้ ความคิดที่ถูกต้อง
ดีงามตรงตามจริง รู้ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ท�ำให้แก้ไขปัญหาไปตามแนวทางเหตุผล รู้เท่าทันโลกและ
ชีวิตจนสามารถท�ำจิตใจให้บริสุทธิ์ หลุดพ้นจากความยึดม่ันถือม่ันในส่ิงต่าง ๆ ดับกิเลสดับทุกข์ได้ เป็นอยู่
ด้วยจิตใจอิสระผ่องใสเบิกบาน เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา

       การพัฒนาจิตใจจะช่วยให้ครูผู้น�ำทางจิตใจมีจิตอาสาสมัคร คือ จิตใจท่ีออกมารับใช้งานของ
ส่วนรวมและมีความสุขอยู่ข้างใน ไม่ใช่ความสุขข้างนอก เป็นจิตใจที่ปิดทองหลังพระ เป็นคนที่มี “จิตใหญ่”
หรอื ใจกวา้ ง ซึ่งตรงข้ามกับ “จิตเล็ก” หรอื ใจแคบ คนจิตเลก็ จะคดิ แต่สิง่ ท่ีเกย่ี วขอ้ งกบั ตนเอง มองประโยชน์
ในวงแคบ แต่คนจิตใหญ่ย่อมคิดถึงประโยชน์ของส่วนรวม ไม่แบ่งคนเป็น 2 ขั้วว่าเป็น เขา-เรา แพ้-ชนะ แต่
เห็นความร่วมมือเป็นคุณค่า (วิจารณ์ พานิช, 2549: 72, 144) ผู้ท่ีมีจิตเล็กจะรู้เห็นเล็ก ๆ แบบแยกส่วน คิด
และท�ำแบบแยกส่วน ซ่ึงน�ำไปสู่การเสียดุลยภาพของท้ังหมด วิกฤตการณ์ในสังคมปัจจุบันเกิดจากการมีจิต
เล็ก การมจี ติ สำ� นึกใหม่จงึ นำ� ไปส่กู ารเปลยี่ นแปลงข้นั พื้นฐาน (transformation) ในตวั คน มองโลกและเพอื่ น
มนุษย์ในแง่ใหม่ มีความด�ำริใหม่และการกระท�ำใหม่ เพ่ือการอยู่ร่วมกันไม่ใช่เพื่อก�ำไรสูงสุด ทั้งน้ีการ
เปลี่ยนแปลงข้ันพื้นฐานในตัวคนจะน�ำไปสู่การเปล่ียนแปลงขั้นพื้นฐานของหน่วยงานและชุมชน (ประเวศ
วะสี, 2548: 58)

       แนวทางการพัฒนาจิตใจข้างต้นมีความสัมพันธ์ซ่ึงกันและกัน การยึดม่ันในหลักธรรมของศาสนา
การรักษาสุขภาพจิต เป็นการสร้างพ้ืนฐานของจิตให้มีความพร้อมท่ีจะพัฒนาไปตามกระบวนการและเทคนิค
การพัฒนาจิตใจตลอดจนการพัฒนาการคิด ในทางตรงกันข้ามบุคคลบางคนอาจใช้กระบวนการพัฒนาจิตใจ
และกระบวนการคิดเป็นการสร้างพ้ืนฐานของจิตใจให้มีความพร้อมในการรักษาสุขภาพจิตและยึดมั่นในหลัก
ธรรมของศาสนา ครูผู้น�ำทางจิตใจจึงควรเลือกแนวทางที่เหมาะสมกับตนโดยมุ่งผลให้เกิดการพัฒนาทาง
จิตใจที่ยั่งยืน

3. 	การพฒั นาคุณลกั ษณะของผนู้ ำ�ทางสังคม

       การพัฒนาคุณลักษณะของผู้น�ำทางสังคมสามารถท�ำได้โดยปฏิบัติตามแนวทางของการพัฒนาตน
ใหเ้ ปน็ คนทสี่ มบรู ณ์ การพฒั นาความฉลาดทางวฒั นธรรม และการพฒั นาแนวทางการปฏบิ ตั งิ านพฒั นาสงั คม
ดังน้ี

       3.1 	การพัฒนาเพ่ือให้เป็นคนสมบูรณ์ การพัฒนาเพื่อให้เป็นคนสมบูรณ์มีแนวทางการพัฒนาดังนี้
(พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), 2547: 3-11)

            3.1.1 	ละเวน้ จากความชว่ั เนอื่ งจากเปน็ สง่ิ ทท่ี ำ� ใหช้ วี ติ มวั หมอง ความชวั่ ทค่ี วรหลกี เลย่ี ง ไดแ้ ก่
1) กิเลสในการท�ำลายชีวิต ละเมิดกรรมสิทธิ์ ท�ำผิดทางเพศ และโกหกหลอกลวง 2) อคติ คือ ความล�ำเอียง
เพราะชอบ ชัง ขลาด เขลา และ 3) อบายมุขที่เป็นช่องทางให้เสื่อมทรัพย์ คือ เสพติดสุรา เท่ียวเตร่ไม่รู้เวลา
มุ่งแต่การบันเทิง เหลิงกับการพนัน มั่วสุมมิตรชั่ว และมัวจมอยู่ในความเกียจคร้าน

            3.1.2 	การสรา้ งทนุ ของชวี ติ ได้แก่ การเลือกสรรคนที่จะเสวนา โดยต้องรู้ถึงมิตรแท้และรู้ทัน
มิตรเทียม และจัดสรรทรัพย์ท่ีหามาได้เป็นส่วน ๆ
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66