Page 65 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 65
วิถีครู ความเป็นครู และการพัฒนาวิชาชีพครู 14-55
4.2 การพฒั นาวฒั นธรรมการทำ� งานดว้ ย Appreciative Inquiry: AI วจิ ารณ์ พานชิ (2549: 58-60,
75-79) กล่าวว่า AI เป็นเคร่ืองมือที่เป็น “แฝด” ของการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)
เป็นการใช้ศาสตร์และศิลป์ในการตั้งค�ำถามเชิงบวกเพ่ือสร้างการเปล่ียนแปลง เป็นกระบวนการค้นหาส่ิงท่ีดี
ทีส่ ดุ ในคน องค์กร สงั คม และเปิดชอ่ งใหค้ นเหล่านัน้ แสดงพลังเชงิ บวก สามารถใชพ้ ลังเชงิ บวกมาผสมผสาน
ให้การท�ำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งข้ึน จึงใช้ได้กับท้ังระดับหน่วยงาน กลุ่ม และตนเอง
4.2.1 ข้นั ตอนของ AI AI มีการปฏิบัติ 4 ขั้น เรียกว่า วงจร 4D ได้แก่
Discovery คือ การค้นหาความดี ความส�ำเร็จท่ีน่าชื่นชม ท้ังท่ีเป็นตัวผลงาน กิจกรรม
บุคคล เพ่ือการบรรลุเป้าหมายที่ทรงคุณค่าตามท่ีก�ำหนดไว้ โดยใช้การค้นแล้วค้นอีกในลักษณะรอคอยการ
ผุดบังเกิด (emergence)
Dream คือ การร่วมกันฝันให้เป็นฝันท่ีย่ิงใหญ่ ไกล เหลือเช่ือ เพื่อการบรรลุเป้าหมาย
ท่ีทรงคุณค่าตามที่ก�ำหนดไว้ การร่วมฝันจะท�ำให้เกิดความมุ่งมั่น เกิดความเพียรพยายาม เกิดจิตส�ำนึก
จิตใต้ส�ำนึก และจิตเหนือส�ำนึกในการบากบ่ัน จึงเป็นวิธีการเปิดประตูให้พลังปัญญาญาณ (intuition)
Design เป็นการน�ำส่ิงที่ดี/ผลดีในอนาคตมาออกแบบกิจกรรมและสร้างสรรค์ โดยการ
ประกอบช้ินส่วน (jigsaw) ความส�ำเร็จที่ส่ังสมข้ึนจนประกอบกันเป็นรูปร่างตามเป้าหมายและความฝัน
Destiny เป็นการน�ำส่ิงที่ออกแบบไว้มาด�ำเนินการในวิถีชีวิตตามสภาพความเป็นจริงใน
ขณะน้ัน มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา โดยใช้การวางแผนเพ่ือการปฏิบัติและการวางแผนโดยการ
ปฏิบัติ
4.2.2 วธิ กี ารของ AI วิธีการที่ส�ำคัญ คือ สุนทรียสนทนา (dialogue) และการฟังอย่างลึกซ้ึง
(deep listening) ซึ่งแบ่งย่อยเป็น
1) สุนทรียสนทนาระหว่างบุคคล คือ การพูดออกมาจากใจ พูดออกมาจากความรู้สึก
จากประสบการณ์ ผ้เู ข้ารว่ มตอ้ งทำ� ตวั ทำ� ใจให้เป็นอสิ ระ มีความเสมอภาคกนั รว่ มกันสรา้ งบรรยากาศเชงิ บวก
ด้วยการมีสายตาและใบหน้าท่ีแสดงความชื่นชม แสดงความสนใจ และมีการจดบันทึกที่จะช่วยกระตุ้นผู้พูด
ให้พูดออกมาได้ลึกซ้ึงย่ิงข้ึน นอกจากนั้นผู้เข้าร่วมต้องมีการฟังอย่างลึกซ้ึง คือ การฟังอย่างไม่ตัดสินถูก-ผิด
ไม่แย้ง (ไม่ว่าจะด้วยวาจาหรือการคิด) แต่ฟังไปจนจบโดยยังไม่ตัดสิน สุนทรียสนทนาเป็นการเปิดหู เปิดใจ
เปิดตา และเปิดปาก เพื่อแลกเปลี่ยนเรื่องราวดี ๆ ท่ีเป็นประโยชน์ต่อทุกคน
2) การคุยกับตัวเอง (internal dialogue) การคุยกับตนเองเน้นการคุยเร่ืองเป้าหมาย
เชิงบวกด้วยการทบทวนความส�ำเร็จของตน ค้นหาสาเหตุของความส�ำเร็จ และจะท�ำให้ความส�ำเร็จนั้นขยาย
ตัวเชิงปริมาณ เชิงพ้ืนที่ หรือเชิงคุณภาพอย่างไร เป็นการเพิ่มพลังด้านดีท่ีมีอยู่ตามธรรมชาติในตัวมนุษย์
หากได้กัลยาณมิตรมาช่วยคุยจะท�ำให้ได้ประโยชน์มากย่ิงขึ้น การคุยกับตัวเองที่ผิดทาง คือ การคุยด้านลบ
จติ เปน็ อกศุ ล ซง่ึ เปน็ การกระตนุ้ ความชว่ั ทม่ี อี ยตู่ ามธรรมชาตใิ นตวั มนษุ ยเ์ ชน่ กนั และจะนำ� ชวี ติ ไปสทู่ างเสอื่ ม
ทางที่ยุ่งยาก
4.3 การพฒั นาคณุ ลกั ษณะของผนู้ ำ� การเปลยี่ นแปลง การพฒั นาคณุ ลกั ษณะของผนู้ ำ� การเปลย่ี นแปลง
คือ การพัฒนาทักษะในการปฏิบัติตามขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลง ได้แก่