Page 67 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 67
วิถีครู ความเป็นครู และการพัฒนาวิชาชีพครู 14-57
4.5.1 ทศั นะ คอื การมคี วามคดิ เหน็ แนวความคดิ ความเชอ่ื ถอื ทศั นคติ คา่ นยิ มตา่ ง ๆ ทด่ี งี าม
ถูกต้อง มองส่ิงท้ังหลายตามเหตุปัจจัยสอดคล้องกับความเป็นจริงหรือตรงตามสภาวะ เรียกว่า เห็นชอบ หรือ
สัมมาทิฏฐิ
4.5.2 ความคิด คือ การมีความด�ำริตริตรองหรือคิดการต่าง ๆ ท่ีไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองและผู้อ่ืน ไม่เศร้าหมองขุ่นมัว เป็นไปในทางสร้างสรรค์ประโยชน์สุข เช่น คิดในทางเสียสละหวังดี
มีไมตรี ช่วยเหลือเก้ือกูลและความคิดที่บริสุทธ์ิ อิงสัจจะ อิงธรรม ไม่เอนเอียงด้วยความเห็นแก่ตัว ความคิด
จะได้จะเอา หรือความเคียดแค้นชิงชัง มุ่งร้ายคิดท�ำลาย เรียกว่า ด�ำริชอบ หรือ สัมมาสังกัปปะ
4.5.3 การพูด คือ การแสดงออกทางวาจาที่สุจริต ไม่ท�ำร้ายผู้อื่น ตรงความจริง ไม่โกหก
หลอกลวง ไม่ส่อเสียด ไม่ให้ร้ายป้ายสี ไม่หยาบคาย ไม่เหลวไหล ไม่เพ้อเจ้อเล่ือนลอย แต่สุภาพน่ิมนวลชวน
ให้เกิดไมตรี สามัคคีกัน ถ้อยค�ำมีเหตุผล เป็นไปในทางสร้างสรรค์ ก่อประโยชน์ เรียกว่า วาจาชอบ หรือ
สัมมาวาจา
4.5.4 การกระท�ำทีด่ ีงาม คือ การมีความสุจริต เป็นไปในทางสร้างสรรค์ ช่วยเหลือเก้ือกูลกัน
ไม่เบียดเบียน ไม่ท�ำร้ายกัน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีงาม ท�ำให้อยู่ร่วมกันด้วยดี ท�ำให้สังคมสงบสุข ได้แก่
การกระท�ำหรือท�ำการต่าง ๆ ท่ีไม่เก่ียวข้อง ไม่เป็นไปเพ่ือการท�ำลายชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ล่วง
ละเมิดสิทธิในคู่ครองหรือของรักของหวงแหนของผู้อ่ืน เรียกว่า การท�ำชอบ หรือ สัมมากัมมันตะ
4.5.5 การประกอบอาชพี ทสี่ จุ รติ คอื การไมก่ อ่ ความเดอื ดรอ้ นเสยี หายแกผ่ อู้ น่ื เรยี กวา่ อาชพี
ชอบ หรือ สัมมาอาชีวะ
4.5.6 การเพยี รพยายามในทางทดี่ งี ามชอบธรรม คอื การเพยี รหลกี เวน้ ปอ้ งกนั สงิ่ ชวั่ รา้ ยอกศุ ล
ท่ียังไม่เกิดข้ึน เพียรละเลิกก�ำจัดส่ิงชั่วร้ายอกุศลท่ีเกิดขึ้นแล้ว เพียรสร้างสรรค์ส่ิงดีงามหรือกุศลธรรมท่ียัง
ไม่เกิดให้เกิดข้ึน เพียรส่งเสริมพัฒนาส่ิงดีงามหรือกุศลธรรมท่ีเกิดมีแล้วให้เพิ่มพูนเจริญงอกงามย่ิงข้ึนไปจน
เพียบพร้อมไพบูลย์ เรียกว่า พยายามชอบ หรือ สัมมาวายามะ
4.5.7 การมสี ตกิ ำ� กับตวั คือ การคุมใจไว้ให้อยู่กับสิ่งท่ีเก่ียวข้อง ต้องท�ำในเวลานั้น ๆ ใจอยู่
กับกิจ จิตอยู่กับงาน ระลึกได้ในสิ่งที่ดีงาม ส่ิงที่เก้ือกูลเป็นประโยชน์ หรือธรรมที่ต้องใช้ในเรื่องนั้น ๆ เวลา
นั้น ๆ ไม่หลงใหลเลื่อนลอย ไม่ละเลยหรือปล่อยตัวเผอเรอ โดยเฉพาะสติท่ีก�ำกับทันต่อพฤติกรรมของ
ร่างกาย ความรู้สึก สภาพจิตใจ และความนึกคิดของตน ไม่ปล่อยให้อารมณ์ท่ีเย้ายวนหรือย่ัวยุมาฉุดกระชาก
ให้หลุดหลงเล่ือนลอย เรียกว่า ระลึกชอบ หรือ สัมมาสติ
4.5.8 ความมจี ติ ตงั้ มน่ั คือ การมีจิตใจด�ำเนินอยู่ในกิจในงานหรือในส่ิงที่กำ� หนด (อารมณ์) ได้
สม�่ำเสมอ แน่วแน่เป็นอันหนึ่งอันเดียว สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวกหว่ันไหว บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว
นุ่มนวล ผ่อนคลาย ไม่เครียดกระด้าง เข้มแข็ง เอางาน ไม่หดหู่ท้อแท้ พร้อมท่ีจะใช้งานทางปัญญาอย่างได้
ผลดี เรียกว่า จิตม่ันชอบ หรือ สัมมาสมาธิ
4.6 การยึดม่นั ในหลักธรรม หลักธรรมส�ำคัญส�ำหรับครูผู้น�ำวิชาชีพ คือ หลักธรรมในการครองตน
ครองคน ครองงาน (เกษม วัฒนชัย, 2549: 175-177) โดยมีสาระส�ำคัญดังน้ี