Page 62 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 62
14-52 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
3.1.3 การสรา้ งและรกั ษาความสมั พันธก์ ับผูอ้ ่นื ได้แก่ บิดามารดา ครูอาจารย์และศิษย์ สามี
ภรรยา มิตรสหาย ผู้ที่ท�ำงานให้ตน และพระสงฆ์
3.1.4 การนำ� ชวี ติ ไปถงึ จดุ หมาย ทง้ั จดุ หมายทางโลกและจดุ หมายทางธรรมเพอื่ ประโยชนข์ องตน
ผู้อ่ืน และสังคม
การพัฒนาตนให้เป็นคนที่สมบูรณ์ช่วยให้ครูผู้น�ำทางสังคมได้รับการยอมรับจากบุคคลในสังคม
นอกจากน้ันยังลดปัญหาท่ีผู้น�ำสังคมสามารถเอาชนะทุกอย่างแต่แพ้อารมณ์ในใจของตนเอง
3.2 การพฒั นาความฉลาดทางวฒั นธรรม การพัฒนาความฉลาดทางวัฒนธรรมแบ่งเป็น 5 ข้ันดังน้ี
3.2.1 การมปี ฏกิ ริ ยิ าตอบกลบั ตอ่ แรงกระตนุ้ ภายนอก โดยการตระหนักว่ามคี วามแตกตา่ งทาง
วัฒนธรรมจริงและสนใจวัฒนธรรมของผู้อื่น
3.2.2 การยอมรบั บรรทดั ฐานทางวฒั นธรรมอน่ื ๆ โดยการยอมรับและสนใจศกึ ษาวฒั นธรรม
เหล่าน้ันให้มากขึ้น เพ่ือเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมนั้น
3.2.3 การปรบั ตวั ตอ่ บรรทดั ฐานและกฎเกณฑท์ างวฒั นธรรมทแ่ี ตกตา่ ง โดยการแสดงออกให้
เหมาะสมกับวัฒนธรรมนั้น โดยอาจยังไม่มีทักษะในการแสดงออกนั้น
3.2.4 การซึมทราบบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมท่ีหลากหลาย โดยการเรียนรู้บรรทัดฐานท่ีน�ำ
ไปสู่การเลือกแสดงพฤติกรรม พัฒนาทักษะจนสามารถแสดงพฤติกรรมต่อวัฒนธรรมที่แตกต่างได้ โดย
ไม่ต้องใช้ความพยายามหรือเครียดมาก
3.2.5 การรกุ คบื ของพฤตกิ รรมทางวฒั นธรรม โดยการยอมรบั การเปลยี่ นแปลงมากขน้ึ มที กั ษะ
ในรายละเอียดของวัฒนธรรม อ�ำนวยความสะดวกในปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรม เช่ือมโยงวัฒนธรรมกับ
บริบทของประเทศนั้น
นอกจากจะมคี วามฉลาดในการเขา้ ใจวฒั นธรรมของผอู้ น่ื แลว้ ครผู นู้ ำ� ทางสงั คมยงั ตอ้ งมคี วามเขา้ ใจ
ในวัฒนธรรมของตนเองและการรักษาวัฒนธรรมของตนเองด้วย
3.3 การพฒั นาแนวทางปฏบิ ตั งิ านพฒั นาสงั คม การพฒั นาแนวทางปฏบิ ตั งิ านพฒั นาสงั คมมแี นวทาง
ส�ำคัญ 2 แนวทาง ดังนี้
3.3.1 การพฒั นาตามแนวทางทรงงานของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั มีหลักการ 3 ประการ
คือ (เกษม วัฒนชัย, 2549: 136-147)
1) หลักคิด คือ การคิดตามล�ำดับขั้น ดังน้ี (1) การก�ำหนดเป้าหมายของงานว่าใครเป็น
ผไู้ ดร้ บั ประโยชนจ์ ากงานนนั้ ดว้ ยการวเิ คราะหห์ าปจั จยั ทเ่ี ปน็ ทกุ ขแ์ ละปจั จยั ทเ่ี ปน็ สขุ จากการทำ� SWOT หรอื
กระบวนการอริยสัจ 4 (2) การก�ำหนดอุดมการณ์ของงานว่าท�ำงานนี้ด้วยความอยากให้งานส�ำเร็จ (ฉันทะ)
หรือความอยากว่าตนจะได้รับประโยชน์ (ตัณหา) (3) ตรวจสอบความวิริยะของตนที่จะท�ำงานนี้จนส�ำเร็จ
ไม่ปล่อยปละละเลยหรือท�ำอย่างฉาบฉวย และ (4) ก�ำหนดหลักการท�ำงาน คือ การลดข้ันตอนท่ีไม่ส�ำคัญ
ปฏิบัติงานโดยเร็วให้ทันกับสภาพปัญหา ส่งเสริมให้คนในชุมชนช่วยตัวเอง โดยผู้น�ำสังคมท�ำหน้าท่ีสนับสนุน
ในลักษณะปิดทองหลังพระ