Page 57 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 57
วิถีครู ความเป็นครู และการพัฒนาวิชาชีพครู 14-47
1) อารมณ์ท่ีเหมาะสมในเชิงบวก เป็นอารมณ์ซ่ึงแสดงความต้องการ ความปรารถนา
และความชนื่ ชอบของบคุ คลทมี่ ตี อ่ สภาพการณแ์ ละ/หรอื เหตกุ ารณท์ เี่ กดิ ขนึ้ เชน่ อารมณท์ เ่ี กย่ี วขอ้ งกบั ความสขุ
ความพึงพอใจ ความปิติ ความกระตือรือร้น ความอยากรู้อยากเห็น
2) อารมณ์ท่ีเหมาะสมเชิงลบ เป็นอารมณ์ที่แสดงความคับข้องใจ ไม่พึงพอใจต่อสภาพ-
การณ์ท่ีเกิดขึ้น เช่น อารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับความเสียใจ ความคับข้องใจ ความร�ำคาญ ความเบื่อหน่าย ความ
ขุ่นเคือง อารมณ์เหล่านี้จะช่วยผลักดันให้บุคคลพยายามเปล่ียนแปลงแก้ไข ต่อสู้ อดทน เพิ่มความพยายาม
ในการท�ำงานมากขึ้น
2.2.2 การพยายามรักษาอารมณ์ โดยพัฒนาตนในด้านที่เก่ียวกับจิต ดังนี้
1) ด้านความคิด ด้วยการมีความคิดท่ียืดหยุ่น มีวิธีคิดเชิงวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์
เหตุการณ์อย่างรอบคอบ มีเหตุผล มีสติปัญญา ยอมรับในคุณค่าของตนเองและของผู้อ่ืน ใช้การคิดและการ
พูดเชิงบวก พัฒนามโนธรรม มีวินัยในตนเอง บ่มเพาะให้ตนเองมีใจรักงานที่ตนท�ำ
2) ด้านสุขภาพ ดว้ ยการมีสุขนสิ ัยท่ีดี ไม่ใช้สารทที่ ำ� ให้การคิดบดิ เบอื นหรอื ท�ำลายระบบ
ร่างกาย มีการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น การเปิดเพลงเบา ๆ และสนใจด้านศิลปะเพ่ิมขึ้น
3) ด้านการเรียนรู้ ด้วยการเรียนรู้จากตัวแบบที่ดี เรียนรู้จากปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มี
มนุษยสัมพันธ์ท่ีดี ปรับตัวง่าย ไม่หว่ันไหวง่าย ไม่สร้างร่องรอยการผิดหวังในด้านต่าง ๆ ของชีวิต เพ่ือให้มี
ทุนเดิมทางสุขภาพจิตในทางบวก ซึ่งนอกจากจะรักษาสุขภาพจิตแล้ว ยังช่วยป้องกันการช�ำรุดของสุขภาพจิต
2.2.3 การบรหิ ารจติ การบริหารจิตเป็นแนวปฏิบัติส�ำคัญในทางศาสนาที่มีวิธีการแตกต่างกัน
ศาสนาพุทธได้สอนให้การบริหารจิตเป็นการรักษาคุ้มครองจิต การฝึกฝนอบรมจิต การท�ำจิตให้สงบสะอาด
ปราศจากความวุ่นวายเดือดร้อน ท�ำจิตให้เข้มแข็ง มีสุขภาพจิตดี และน�ำมาใช้ปฏิบัติงานได้ดี การบริหารจิต
นอกจากจะทำ� ใหม้ กี ารพฒั นาจติ แลว้ ยงั ชว่ ยใหค้ วามจำ� ดขี น้ึ กระทำ� สง่ิ ตา่ ง ๆ ไดด้ ขี น้ึ ไมค่ อ่ ยผดิ พลาด เพราะ
สติสมบูรณ์ข้ึน ท�ำงานได้มากข้ึน มีอารมณ์สุขุม มีความสุขใจ จิตใจเบิกบาน เผชิญเหตุการณ์เฉพาะหน้าอย่าง
ใจเย็น สามารถก�ำจัดสิ่งที่รบกวนจิตใจ ซึ่งท�ำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
2.2.4 การใชส้ มองแตล่ ะสว่ นอยา่ งเหมาะสม (วลั ลภ ปยิ ะมโนธรรม และปรชั ญา ปยิ ะมโนธรรม,
2548: 13-15, 59-102) ได้ศึกษาหน้าที่ของสมองที่เก่ียวข้องกับการท�ำงานของจิตโดยแบ่งสมองเป็น 4
ซีก พบว่าสมองแต่ละซีกมีส่วนเด่นท้ังด้านบวกและด้านลบ หากมนุษย์ใช้สมองแต่ละซีกเป็นจิตของมนุษย์
จะดี ถ้าใช้ไม่เป็นจิตก็จะเส่ือมได้ การใช้สมองท้ัง 4 ซีก มีลักษณะดังน้ี
สมองซีกท่ี 1 ซีกของศูนย์แหล่งรวมความคิด เหตุผล (cognitive-rational self) เป็น
ลักษณะของหัวคิด มีเหตุมีผล เป็นความฉลาด ถ้าใช้มากเกินไปหรือใช้ในด้านลบก็อาจเป็นโรคขี้ระแวง
(paranoid) การพัฒนาสมองซีกน้ี คือ การมองโลกในแง่ดี ปรับความคิดให้สมเหตุสมผล ปรับเปลี่ยนใช้
สมองซีกอ่ืนสลับกัน
สมองซีกที่ 2 ซีกของสมองท่ีเป็นระบบ ข้ันตอน ความมั่นคง ปลอดภัย (systematic
and safekeeping self) เป็นลักษณะหัวเก่า คือ มีการคิดอย่างเป็นระบบระเบียบ เป็นความอดทน ถ้าใช้มาก
ไปหรือใช้ผิดหลักก็อาจเป็นผู้ย้�ำคิดย�้ำท�ำ (obsessive-compulsive) การพัฒนาสมองซีกนี้ คือ การหัดท�ำ