Page 41 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 41

วิถีครู ความเป็นครู และการพัฒนาวิชาชีพครู 14-31

                9) ความอดทน คอื อดทนตอ่ งานทต่ี รากตรำ�  อดทนตอ่ ความเหนอ่ื ยยาก แมจ้ ะลำ� บากกาย
น่าเหนื่อยหน่ายเพียงไรก็ไม่ท้อถอย ถึงจะถูกย่ัวถูกหยันด้วยถ้อยค�ำเสียดสีถากถางอย่างใดก็ไม่หมดก�ำลังใจ
ไม่ยอมละทิ้งกิจกรณีย์ท่ีบ�ำเพ็ญโดยชอบธรรม

                10) 	การประพฤตใิ นทางทถ่ี กู ทคี่ วร คอื ไมป่ ระพฤตผิ ดิ จากทางทถ่ี กู ทคี่ วร ถอื ประโยชน์
สุขความดีงามของสังคมและประชาราษฎร์เป็นท่ีต้ัง สิ่งใดที่ประชาราษฎร์ปรารถนาโดยชอบธรรมก็ไม่ขัดขืน
การใดจะเป็นไปโดยชอบธรรมเพื่อประโยชน์สุขของประชาราษฎร์ก็ไม่ขัดขวาง วางตัวเป็นหลักหนักแน่นใน
ธรรม คงท่ี ไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหวเพราะถ้อยค�ำดีร้ายหรือลาภสักการะ สถิตมั่นทั้งในหลักยุติธรรม
นิติธรรม หลักการปกครอง และขนบธรรมเนียมประเพณี

            3.3.2 พรหมวิหาร 4 หลักธรรมส�ำหรับคนที่มีคุณแก่สังคมหรือสมาชิกท่ีดีของสังคมซึ่งช่วย
สร้างสรรค์สังคม มีหลักความประพฤติ 4 ประการ ดังนี้

                1) 	เมตตา คือ ความรัก ความปรารถนาดี มีไมตรี ต้องการช่วยเหลือให้ทุกคนประสบ
ประโยชน์และความสุข

                2) 	กรุณา คือ ความสงสาร อยากช่วยเหลือผู้อ่ืนให้พ้นจากความทุกข์ ใฝ่ใจที่จะ
ปลดเปล้ืองบ�ำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของคนและสัตว์ท้ังปวง

                3)	มุทิตา คือ ความเบิกบานพลอยยินดี เมื่อเห็นผู้อ่ืนอยู่ดีมีสุขก็มีใจแช่มชื่นเบิกบาน
เมอื่ เหน็ เขาทำ� งานดงี ามประสบความสำ� เรจ็ กา้ วหนา้ ยงิ่ ขนึ้ ไปกพ็ ลอยยนิ ดบี นั เทงิ ใจดว้ ยพรอ้ มทจ่ี ะชว่ ยสง่ เสรมิ
สนับสนุน

                4) 	อุเบกขา คือ มีใจเป็นกลาง คือ มองตามเป็นจริงโดยวางจิตเรียบสม�่ำเสมอ ม่ันคง
เที่ยงตรงดุจตาช่ัง มองเห็นการท่ีบุคคลจะได้รับผลดีหรือช่ัวสมควรแก่เหตุที่ตนประกอบ พร้อมท่ีจะวินิจฉัย
วางตนและปฏิบัติไปตามหลักการ เหตุผล และความเท่ียงธรรม

       การมีความฉลาดทางวัฒนธรรมและการเป็นคนดีเป็นคุณลักษณะส�ำคัญที่ขาดด้านใดด้านหน่ึง
ไม่ได้เพ่ือประโยชน์ที่สังคมจะได้รับ ครูผู้น�ำทางสังคมสามารถเลือกหลักธรรมในศาสนาที่ตนนับถือมาเป็น
หลกั ปฏบิ ัติ การเปน็ คนดีตามหลกั ธรรมของศาสนาใดศาสนาหนึ่งจะเปน็ คนดขี องทุกสังคมแมจ้ ะมีวฒั นธรรม
ท่ีแตกต่างกัน

4. 	คณุ ลกั ษณะของครผู ูน้ ำ�ทางวิชาชพี

       ครูผู้น�ำด้านวิชาชีพจ�ำเป็นต้องมีคุณลักษณะของความเป็นผู้น�ำในด้านวิชาการ ด้านการปฏิบัติงาน
ในวิชาชีพ และด้านความเป็นผู้น�ำการเปล่ียนแปลง

       4.1 	การเป็นผู้น�ำทางวิชาการ คุณลักษณะทางวิชาการของครูผู้น�ำทางวิชาชีพ คือ การมีความรู้ใน
2 ด้าน ได้แก่

            4.1.1 มคี วามรใู้ นศาสตรท์ เ่ี กย่ี วขอ้ งกบั การปฏบิ ตั งิ าน ทง้ั การปฏบิ ตั งิ านการสอนและการปฏบิ ตั ิ
งานในหน้าท่ีท่ีได้รับมอบหมาย เช่น ครูท่ีสอนวิทยาศาสตร์จะต้องมีความรู้ในวิชาการของวิทยาศาสตร์อย่าง
ชดั เจน ครูที่รบั ผิดชอบด้านการดูแลนกั เรยี นควรมคี วามรทู้ ัง้ ดา้ นรฐั ศาสตร์และนติ ศิ าสตร์ ความร้ทู างวชิ าการ
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46