Page 19 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 19
การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่อิงมาตรฐานการเรียนรู้ 1-9
เรอ่ื งที่ 1.1.2 ทฤษฎีที่รองรบั การจัดการเรียนการสอน
ที่องิ มาตรฐานการเรียนรู้
จากที่กล่าว หลักสูตรอิงมาตรฐานได้เร่ิมใช้ต้ังแต่ พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบันมีระยะเวลากว่า 10 ปี
การจัดการเรียนการสอนท่ีอิงมาตรฐานการเรียนรู้ยังต้องการบุคลากรที่มีความเข้าใจในกระบวนการจัดการ
เรียนรู้ภายใต้หลักสูตรมาตรฐาน ด้วยเหตุผลท่ีว่า การเรียนการสอนที่อิงมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเร่ืองที่ใหม่
เปน็ แนวทางการจดั การเรยี นการสอนทเี่ ปลยี่ นกระบวนทศั นจ์ ากการจดั การเรยี นการสอนแบบเกา่ เขา้ สปู่ รชั ญา
และทฤษฎีการเรียนรู้ยุคใหม่ การรู้ที่มาและทฤษฎีที่รองรับการจัดการเรียนการสอนท่ีอิงมาตรฐานการเรียนรู้
จะช่วยให้ผู้สอนเกิดความเข้าใจในแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบน้ีมากข้ึน
ประการส�ำคัญท่ีสุดคือ หลักสูตรอิงมาตรฐานไม่ได้มาพร้อมกับการเปล่ียนแปลงพฤติกรรมใน
การจัดการเรียนการสอนในประเทศไทยเพียงอย่างเดียวแต่มาพร้อมกับการเปล่ียนแปลงระบบแนวคิดด้าน
การศึกษาจากระบบสมัยเก่า (Traditional approach) ที่กระบวนการศึกษาทั้งหมดขึ้นตรงกับหน่วยงาน
ส่วนกลาง (Top down model/centralisation) ผู้สอนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน (Teacher
centredness) และผู้เรียนมีหน้าที่รอรับความรู้ (Passive recipients) มาเป็นการศึกษาในศตวรรษท่ี 21 ท่ี
ไดร้ บั อทิ ธพิ ลจาก ปรชั ญาสาขาพพิ ฒั นาการนยิ ม (Progressivism) และปรชั ญาสาขาสงั คมปฏริ ปู นยิ ม (Social
reconstructionism) ที่ให้ความส�ำคัญกับการกระจายอ�ำนาจทางการศึกษา (Decentralisation) การจัด
การเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student centredness) จัดประสบการณ์เรียนรู้ท่ีเน้น
กระบวนการการเรียนรู้ (Learning process) ให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Construction
of knowledge) โดยการสืบค้น การคิดวิเคระห์ และการแก้ปัญหา (Problem-solving) ด้วยการเรียน
การสอนที่เน้นการเรียนเป็นกลุ่ม (Cooperative learning) เพ่ือให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ เพ่ือสร้างความเข้าใจ
และเกิดความคิดใหม่และรู้จักไตร่ตรองในกระบวนการเรียนรู้ และการตระหนักรู้ด้วยตนเอง (Self-actual-
isation)
เนอื่ งจากเนือ้ หาในสว่ นนถี้ อื ว่ามคี วามสำ� คัญทีจ่ ะท�ำให้เกดิ ความเข้าใจอย่างลกึ ซึง้ ในการจัดการเรยี น
การสอนอิงมาตรฐานผู้เขียนจึงแบ่งเป็นหัวข้อที่เก่ียวข้องดังน้ี
1. ต้นก�ำเนิดหลักสูตรอิงมาตรฐานภาษาต่างประเทศ (Standards-based curriculum)
2. แนวคิดการน�ำหลักสูตรอิงมาตรฐานสู่การศึกษาไทย
3. ปรัชญาและแนวคิดการศึกษาท่ีรองรับการจัดการเรียนการสอนอิงมาตรฐานในประเทศไทย