Page 21 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 21
การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่อิงมาตรฐานการเรียนรู้ 1-11
และสามารถปฏิบัติได้ที่มีชื่อว่า “National Standards for Foreign Language Education” (American
Council on the Teaching of Foreign Languages, 1996)
คณะกรรมการสอนภาษาต่างประเทศสหรัฐอเมริกา (American Council on the Teaching of
Foreign Languages, 1996) ได้อธิบายว่า มาตรฐานไม่ใช่หลักสูตรท่ีประกอบด้วยเนื้อหาท่ีผู้เรียนต้องเรียน
แต่เป็นแนวทางในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ท่ีน�ำพาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานตามท่ีรัฐบาลก�ำหนด
มาตรฐานการเรียนรู้ให้ความส�ำคัญกับของการเรียนต่อเนื่องตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาและสูงขึ้น
และการผสมผสานเน้ือหาในสาระการเรียนรู้และข้ามสาระการเรียนทั้งในระดับเขตพ้ืนท่ีการศึกษา ท้องถิ่น
และสถานศึกษา
เลอลูปและพอนเทริโอ (LeLoup & Ponterio, 1997) กล่าวว่า หลักสูตรอิงมาตรฐานไม่ยึดติดกับ
วิธีและแนวการสอนใด ๆ อีกทั้งการวัดและประเมินผลน้ันเน้นการวัดในระดับสถานศึกษาโดยเน้นที่การ
ประเมินการปฏิบัติ (Performance assessment) เฟนเนอร์และเซโกตา (Fenner & Segota, 2012) กล่าว
เพิ่มเติมว่า ภายใต้แนวคิดหลักสูตรอิงมาตรฐานน้ัน ผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองต้องเผชิญกับ
จุดประสงค์ในการเรียนภาษาท่ีหลากหลายคือ การเรียนภาษาเพ่ือให้มีสามัตถิยะทางภาษา (Language
competence) การเรียนภาษาเพื่อสามารถใช้ภาษาในบริบทของสังคมพหุวัฒนธรรม ให้มีสามัตถิยะระหว่าง
วัฒนธรรม (Social and lntercultural competence) และความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้
เน้ือหารายวิชาอื่น ๆ
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ในประเทศสหรัฐอเมริกามีหลักการคล้ายกับกรอบแนวทางหลักสูตร
(Curriculum framework) ของประเทศออสเตรเลยี กรอบแนวทางหลกั สตู รของประเทศออสเตรเลยี กำ� หนด
หลักการเรียนการสอนแบบกว้าง ๆ (Vale, McKay, & Scarino, 1991, p. 10) เวลล์และคณะ (Vale et
al., 1991) ผู้เขียน ALL Guidelines for Language Other than English and English as a Second
Language (ESL) ของออสเตรเลีย กล่าวว่า กรอบแนวทางหลักสูตรประกอบด้วยแนวทางท่ีมีความยืดหยุ่น
ส�ำหรับผู้สอนในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และรายละเอียดเก่ียวกับการพัฒนาผู้เรียนตามล�ำดับ ตาม
อายุของผู้เรียน ซึ่งกรอบแนวทางหลักสูตรนี้ประกอบด้วย 2 ประเด็นหลักท่ีแตกต่างจากหลักสูตรแบบเก่าคือ
เปน็ หลกั สตู รทเ่ี นน้ ผลลพั ธท์ างการศกึ ษา (Outcomes) คอื หลกั สตู รจะบง่ ชเ้ี ฉพาะสง่ิ ทผ่ี เู้ รยี นควรรแู้ ละทำ� ได้
ซึ่งแตกต่างจากการบ่งช้ีว่าควรสอนอะไร อย่างไร และเมื่อไหร่ การเน้นผลลัพธ์ทางการศึกษาจะช่วยให้สถาน
ศึกษามีความยืดหยุ่นในการสร้างโปรแกรมการเรียนการสอนท่ีช่วยให้ผู้เรียนได้ผลลัพธ์ตามท่ีได้ตั้งไว้ได้
บางประเทศในฝง่ั เอเซยี ตะวนั ออก เชน่ จนี และญป่ี นุ่ ไดพ้ ฒั นาหลกั สตู รในแนวหลกั สตู รองิ มาตรฐาน
เช่นกัน กระทรวงศึกษาของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนร่วมมือกับองค์กรในประเทศตะวันตก
เช่น Teachers of English to Speakers of Other Languages, Inc. (TESOL) และ McGraw-Hill
Education ในการพัฒนา China English as a Foreign Language Projects Standards (CEFLS) ซ่ึง
เป็นร่างสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยประกอบด้วยเน้ือหาเกี่ยวกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้กับผู้สอนชาวจีนท่ีสอนภาษาอังกฤษให้การจัด
การเรียนการสอนเป็นไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และเสรี