Page 22 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 22
1-12 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
จากที่กล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า แนวความคิดด้านมาตรฐานการเรียนรู้หรือระบบการศึกษาท่ีเน้น
มาตรฐานเป็นตัวต้ังน้ัน มีต้นก�ำเนิดจากประเทศในฝั่งตะวันตกท่ีนานาประเทศท่ัวโลกให้ความสนใจเป็น
หลักสูตรท่ีเล็งเห็นความส�ำคัญของการกระจายอ�ำนาจทางการศึกษาส่งผลให้เกิดความยืดหยุ่นในการจัดการ
เรียนการสอน โดยเปิดโอกาสให้สถานศึกษาได้พัฒนาหลักสูตรระดับสถานศึกษาท่ีมีเอกลักษ์ของตน ผู้สอน
และผู้เรียนสามารถร่วมกันออกแบบการเรียนรู้ท่ีเหมาะสมกับความต้องการและความสนใจ โดยหน่วยงาน
ส่วนกลางสามารถควบคุมคุณภาพได้จากการออกแบบสาระและมาตรฐานการเรียนรู้เพื่อเป็นเกณฑ์ในการวัด
และประเมินว่าผู้เรียนได้รู้และสามารถท�ำอะไรได้บ้างเมื่อส�ำเร็จการศึกษา
2. แนวคดิ การนำ� หลกั สตู รอิงมาตรฐานสู่การศึกษาไทย
ดร.รุ่ง แก้วแดง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ระบุว่าเนื่องด้วยหลักสูตรที่ได้พัฒนา
ในเมืองไทยก่อนหน้าน้ี เป็นหลักสูตรท่ีไม่มีความยืดหยุ่นและไม่สามารถตอบสนองความต้องการระดับ
ท้องถิ่นได้ การก้าวเข้าสู่การปฏิรูปการศึกษาท่ีเปลี่ยนวัฒนธรรมการเรียนรู้ของคนไทยโดยการน�ำเสนอ
หลักสูตรท่ีมีมาตรฐานและตัวชี้วัด ให้กับสถานศึกษาเพ่ือให้สามารถพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของตนเอง
ที่เหมาะกับสภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมตามท้องถิ่นต่าง ๆ ท�ำให้เกิดความยืดหยุ่นในการจัดเตรียมเน้ือหา
ให้เหมาะกับสภาพท้องถ่ิน (Fredrickson, 2003) แนวคิดระบบการศึกษาท่ีอิงมาตรฐานและการกระจาย
อ�ำนาจทางการศึกษาทั่วโลก รวมถึง การปฏิรูประบบการเรียนรู้และหลักสูตร ตามพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 น�ำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงคร้ังใหญ่ในระบบ
การศึกษาไทยและรวมถึงการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ นโยบายการกระจายอ�ำนาจการศึกษาท�ำให้
เกิดหลักสูตรการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พ.ศ. 2544 (ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงเป็น หลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551) ซึ่งเป็นหลักสูตรอิงมาตรฐานแรกของประเทศ
จากที่กล่าวมาเห็นได้ว่าการเคลื่อนไหวด้านระบบการศึกษาที่อิงมาตรฐานและการกระจายอ�ำนาจ
ทางการศึกษามีอิทธิพลอย่างมากต่อระบบหลักสูตรการศึกษาของไทย และรวมถึงหลักสูตรของประเทศ
ในแถบเอเชียแปซิฟิกด้วย (Miralao & Gregorio, 2001; UNESCO Bangkok, 2005) สิ่งท่ีมีอิทธิพลเป็น
อย่างมากต่อนวัตกรรมหลักสูตรการศึกษาในประเทศไทยคือ รายงานของเดอลอร์ (Delors report) ที่ได้ถูก
เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2539 โดยองค์กรสหประชาชาติ (UNESCO) รายงานน้ีเขียนโดย เดอลอร์และคณะ
(Delors J. et al., 1996) โดยมีใจความส�ำคัญคือการพัฒนาระบบการศึกษาท่ีอยู่บนหลักของการเรียนรู้
ตลอดชีวิต (Learning throughout life) ท่ีอยู่บนส่ีเสาหลักแห่งการเรียนรู้ (Four pillars of learning) ซ่ึง
ประกอบด้วย
1) การเรียนรู้เพื่อรู้ (Learning to know)
2) การเรียนรู้เพ่ือท�ำได้ (Learning to do)
3) การเรียนรู้เพื่อเป็น (Learning to be)
4) การเรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกัน (Learning to live together)