Page 29 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 29
การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษท่ีอิงมาตรฐานการเรียนรู้ 1-19
การสร้างความเข้าใจเก่ียวกับวัฒนธรรมและวิสัยทัศน์ของชุมชนโลก นำ� มาซ่ึงมิตรไมตรีและความร่วมมือกับ
ต่างประเทศ ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความเข้าใจตนเองและผู้อ่ืนดีขึ้น เรียนรู้และข้าใจความแตกต่างของภาษา
และวัฒนธรรม การคิด สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ท่ีมีเจตคติท่ีดีต่อการใช้ภาษาต่างประเทศ
และใช้ภาษาต่างประเทศเพ่ือสื่อสารได้ รวมถึงเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้ง่ายและกว้างขวางขึ้น
2) กลมุ่ สาระการเรียนร้ภู าษาต่างประเทศ ประกอบด้วย 4 สาระดังน้ี
ภาษาเพ่ือการสื่อสาร การใช้ภาษาต่างประเทศในการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน แลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสาร แสดงความรสู้ กึ และความคดิ เห็น ตีความ น�ำเสนอข้อมลู ความคิดรวบยอดและความคดิ เหน็ ในเรอื่ ง
ต่าง ๆ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างเหมาะสม
ภาษาและวัฒนธรรม การใช้ภาษาต่างประเทศตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาความสัมพันธ์
ความเหมอื นและความแตกตา่ งระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ภาษาและวฒั นธรรมของเจ้าของ
ภาษากับวัฒนธรรมไทย และน�ำไปใช้อย่างเหมาะสม
ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อ่ืน การใช้ภาษาต่างประเทศในการเช่ือมโยง
ความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น เป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน
ภาษากบั ความสมั พนั ธก์ บั ชมุ ชนและโลก การใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งใน
ห้องเรียนและนอกห้องเรียน ชุมชน และสังคมโลก เป็นเคร่ืองมือพ้ืนฐานในการศึกษาต่อประกอบอาชีพ และ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก
ส�ำหรับมาตรฐานและตัวช้ีวัดชั้นปีและตัวช้ีวัดช่วงช้ันสามารถดูได้จากเอกสารหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พ.ศ. 2551 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551)
3) ชว่ งการเรียนรู้ (Phase of development) อธิบายช่วงของการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษตามระดับช้ัน ประกอบด้วยข้อมูลเก่ียวกับการเรียนภาษาของผู้เรียนและการจัดสิ่งแวดล้อม
การเรียนรู้ท่ีเหมาะสมกันในแต่ละช่วงชั้นความสามารถ และวงค�ำศัพท์โดยแบ่ง ท้ังหมดเป็น 4 ช่วง ๆ ละ
สามชั้นปีซึ่งมีตัวบ่งช้ีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ ดังน้ี
ช่วงชั้นท่ี 1: Preparatory level (ประถมศึกษาปีที่ 1-3)
ช่วงช้ันท่ี 2: Beginner level (ประถมศึกษาปีที่ 4-6)
ช่วงชั้นที่ 3: Developing level (มัธยมศึกษาปีท่ี 1-3)
ช่วงช้ันที่ 4: Expanding level (มัธยมศึกษาปีท่ี 4-6)
4) เน้ือหาหลักสูตร ซ่ึงเรียกว่า สาระการเรียนรู้แกนกลาง อธิบายกรอบการจัดการเรียนการสอน
ภาษาอังกฤษ ประกอบด้วยผลการเรียนรู้ท่ีคาดหวัง (Expected learning outcomes) ท่ีถูกแบ่งตามการ
พัฒนาความสามารถทางภาษา ซึ่งจะท�ำให้ผู้สอนสามารถใช้เป็นแนวทางในการเขียนหลักสูตรสถานศึกษา
จากท่ีกล่าวมาข้างต้น หลักสูตรอิงมาตรฐานของประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากการเคลื่อนไหวทาง
มาตรฐานที่เน้นระบบการกระจายอ�ำนาจ ความยืดหยุ่นในเน้ือหาและการจัดการเรียนการสอน และการจัด
ประสบการณ์การเรียนรู้ท่ีตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเหมาะสมกับบริบทถ้องถ่ิน อิทธิพลน้ีเร่ิมจาก
ประเทศฝั่งตะวันตกที่ก�ำลังเป็นที่สนใจในหมู่นักการศึกษาท่ัวโลก และกระบวนการเรียนรู้ท่ีเน้นผู้เรียน